@article{ขันตีจิตร_เกษมกิจวัฒนา_ฉายพุทธ_2012, title={การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดในระบบทางเดินอาหาร}, volume={23}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2480}, abstractNote={<p>การสร้างแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดในระบบทางเดินอาหารนี้ พัฒนาจากรูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของซูคัพ ปี ค.ศ.2000 ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ 1) การค้นหาปัญหา 2) การสืบค้นหาหลักฐานประจักษ์ 3) การพัฒนาแนวปฏิบัติและนำไปทดลองใช้ และ 4) การนำแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริงในหน่วยงาน การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษา ถึงระยะที่ 3 หลักฐานที่ผ่านการประเมินคุณภาพ ระดับความน่าเชื่อถือ และความเป็นไปได้ ในการนำหลักฐานไปใช้มีทั้งหมด 14 เรื่อง ประกอบด้วยแนวปฏิบัติทางการพยาบาล 2 เรื่อง การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 2 เรื่อง การวิจัยกึ่งทดลอง 1 เรื่อง การวิจัยแบบศึกษาไปข้างหน้า 7 เรื่อง และการศึกษาย้อนหลัง 2 เรื่อง ผลการสังเคราะห์ได้สร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลขึ้นซึ่งประกอบด้วย การประเมินปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน การให้การพยาบาลเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงตามที่ประเมินได้ แนวปฏิบัตินี้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ศัลยแพทย์ทางเดินอาหาร 1 ท่าน อาจารย์พยาบาลผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางเดินอาหาร 1 ท่าน และ พยาบาลแผนกศัลยกรรมที่เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ 1 ท่าน</p> <p>ข้อแนะนำ : การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ไปใช้ ควรมีการศึกษานำร่องร่วมกับการประเมินผล ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์เพื่อปรับให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงานโดยบูรณาการเข้ากับการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องขององค์กรและปรับปรุงให้มีความทันสมัยตามงานวิจัยใหม่ที่เกิดขึ้น ร่วมกับการทำวิจัยเชิงผลลัพธ์</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล,ภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดผู้สูงอายุ,การผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร</p>}, number={2}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={ขันตีจิตร กชพนิต and เกษมกิจวัฒนา สายพิณ and ฉายพุทธ ปรางทิพย์}, year={2012}, month={Sep.}, pages={26} }