@article{เซ็นนันท์_โตสิงห์_สินธุ_2012, title={การช่วยของผู้บาดเจ็บในระยะเร่งด่วนฉุกเฉิน : การวิเคราะห์วรรณกรรม}, volume={23}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2531}, abstractNote={<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบ ผลลัพธ์ บทบาท สมรรถนะของพยาบาลและบุคลากรในทีม ตลอดจนบทบาทและสมรรถนะของพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูงในทีมช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บในระยะเร่งด่วนฉุกเฉิน โดยการวิเคราะห์วรรณกรรมที่ได้จากการสืบค้นและทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ในฐานข้อมูลอิเล็กโทรนิกส์และห้องสมุดของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นแหล่งอ้างอิงมาตรฐานได้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 41 เรื่อง ประกอบด้วยงานวิจัย 19 เรื่อง บทความที่ไม่ใช่งานวิจัย 21 เรื่อง และงานทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ 1 เรื่อง</p> <p>ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) ความสำเร็จในการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บระยะเร่งด่วนฉุกเฉินประกอบด้วยบุคลากรที่ทำการช่วยเหลือต้องมีความรู้ มีการตัดสินใจที่รวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม ต้องมีความเชี่ยวชาญมีทักษะที่ผสมผสาน มีความหลากหลายในองค์ความรู้ ใช้แนวปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บมีกลยุทธ์ในการพัฒนาต่อเนื่อง มีการทำงานเป็นทีม และมีการฝึกอบรมหรือฝึกซ้อมในสถานการณ์จำลองที่เสมือนจริง 2)เกณฑ์ที่ใช้ประเมินผลลัพธ์หลักของการช่วยชีวิต คือ อัตราการรอดชีวิต อัตราการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บ 3) หัวหน้าทีมการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บต้องมีภาวะผู้นำ มีสมรรถนะทางคลินิก มีการตัดสินใจที่รวดเร็ว สามารถทำงานหลายด้านในเวลาเดียวกัน ทนต่อภาวะกดดันได้ดี จึงจะทำให้กระบวนการช่วยชีวิตประสบความสำเร็จและสมาชิกในทีมต้องเข้าใจบทบาทของตนเองในทีม มีความรู้ มีประสบการณ์และทักษะ มีความรับผิดชอบงานโดยที่พยาบาลวิชาชีพมีบทบาทในการจัดการและให้การดูแลการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บในระยะเร่งด่วนฉุกเฉินส่วนผู้ปฎิบัติการพยาบาลขั้นสูงนอกจากนี้มีบทบาทและสมรรถนะเช่นเดียวกับพยาบาลวิชาชีพแล้วต้องมีความเชี่ยวชาญทางคลินิก มีการสื่อสารที่ดี เป็นผู้สอนที่ได้รับการยอมรับ และทุกคนที่อยู่ในทีมต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บในระยะเร่งด่วนและต้องมีการอบรมซ้ำทุก 1-2 ปี</p> <p>ผลการวิเคราะห์ ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาสมรรถนะของผู้นำทีมและบุคลากรในทีมช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บในระยะเร่งด่วนฉุกเฉิน และนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บสำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินเพื่อนำไปสู้ความสำเร็จของการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : การช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บ ระยะเร่งด่วนฉุกเฉิน การวิเคราะห์วรรณกรรม</p>}, number={3}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={เซ็นนันท์ กาญจนา and โตสิงห์ อรพรรณ and สินธุ ศิริอร}, year={2012}, month={Sep.}, pages={26} }