@article{พันธสี_สีขาว_2012, title={ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อการพัฒนาความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลในคลินิกของนักศึกษาพยาบาล}, volume={24}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2577}, abstractNote={<p>งานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลในคลินิกของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา และความพึงพอใจของนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 16 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยกรณีศึกษา แผนการสอนการใช้กระบวนการพยาบาลในคลินิก แบบประเมินภาวะสุขภาพและแผนการพยาบาล แบบตรวจสอบความสามารถใช้กระบวนการพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี</p> <p>Wilcoxon Sign Ranks Test และ Fricdman  Test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลในคลินิกของนักศึกษาที่ประเมินโดยนักศึกษาและอาจารย์หลังจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทั้งสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริงสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .001 ตามลำดับ และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาในระดับมาก สิ่งที่นักศึกษาพึงพอใจมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การมีโอกาสแสดงความคิดเห็นในขณะเรียนได้อย่างเต็มที่ การได้ฝึกคิดอย่างมีเหตุผล และบรรยากาศในการเรียนที่ไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกอึดอัดที่จะปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์</p> <p>ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการเตรียมความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องก่อนการฝึกปฏิบัติในคลินิกเพื่อนักศึกษาจะได้มีความสามารถวิเคราะห์ปัญหาผู้ใช้บริการและวางแผนการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรสนับสนุนให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อเนื่อง</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : กรณีศึกษา กระบวนการพยาบาล การเรียนการสอน นักศึกษาพยาบาล</p>}, number={3}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={พันธสี พรศิริ and สีขาว อรพิน}, year={2012}, month={Sep.}, pages={81} }