@article{อุปนิสากร_ส่งวัฒนา_แซ่เซี้ย_2012, title={ผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้ากับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะต่อความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำที่ตำแหน่งขาหนีบในผู้ที่มีสุขภาพดี}, volume={25}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2595}, abstractNote={<p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบข้ามกลุ่ม (crossover design) เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบระหว่างการนวดเท้ากับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ (intermittent pneumatic calf compression : IPC) ในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 32 ราย ได้รับทั้งการนวดเท้าแบบกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า 30 นาที และใช้เครื่อง IPC นาที วัดความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบ ระยะเวลาที่สามารถคงความเร็วในการไหลเวียนในการไหลเวียนกลับของเลือดดำสูงสุด และระยะเวลาที่ความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบกลับสู่ค่าเดิม ด้วยเครื่องฟังเสียงสะท้อนการไหลของเลือด หาค่าดัชนีความสัมพันธ์ของการวัด 2 ครั้ง ของการวัดความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำของเครื่องฟังเสียงสะท้อนการไหลของเลือด (doppler) โดยวิธีการวัดซ้ำ (test- retest measured) ได้เท่ากับ .99 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที (paired t-test)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 31.56 ปี (S.D = 8.08) จากการวัดความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำที่ขาหนีบของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าระยะเวลาที่สามารถคงความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำสูงสุดหลังได้รับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าและหลังได้รับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดดำสูงสุดหลังได้รับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าและหลังได้รับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p > .05) แต่ระยะเวลาที่ความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำที่ขาหนีบกลับสู่ค่าเดิมหลังได้รับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า (...... = 6.0, S.D )</p>}, number={1}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={อุปนิสากร สุพัตรา and ส่งวัฒนา ประณีต and แซ่เซี้ย วิภา}, year={2012}, month={Sep.}, pages={27} }