@article{วุทธานนท์_คุณาวิกติกุล_ศรีสุพรรณ_ชัยรัต_2012, title={การพัฒนาพจนานุกรมสมรรถนะเชิงวิชาชีพสำหรับพยาบาลในการป้องกัน การเกิดแผลกดทับ}, volume={26}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2670}, abstractNote={<p>การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ และพัฒนาพจนานุกรมสมรรถนะเชิงวิชาชีพสำหรับพยาบาลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ โดยประยุกต์ใช้เทคนิคเดคัม (DACUM) ในการดำเนินการศึกษา ดังนี้ 1) พัฒนาแผนภูมิสมรรถนะหลักของพยาบาลในการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ รวมถึงพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละสมรรถนะตามระดับความสามารถ โดยกลุ่มพยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ จำนวน 10 คน 2)ทบทวนพฤติกรรมบ่งชี้ที่ได้จากการพัฒนาแผนภูมิสมรรถนะจากลักษณะงานจริงโดยกลุ่มพยาบาลผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 170 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) เสนอผลการทบทวนกับกลุ่มพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาและให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม 4) นำข้อสรุปมาปรับปรุง และพัฒนาเป็นพจนานุกรมสมรรถนะ</p><p>ผลการศึกษา พบว่า สมรรถนะเชิงวิชาชีพสำหรับพยาบาลในการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ การวางแผน การให้การพยาบาล การให้ข้อมูลและเสริมพลังการส่งต่อเพื่อดูแลต่อเนื่อง การให้คำแนะนำ/ปรึกษา การบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล โดยพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละสมรรถนะหลักแตกต่างตามระดับความสามารถที่สูงขึ้น</p><p>ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำพจนานุกรมสมรรถนะเชิงวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการประเมินสมรรถนะ และวางแผนพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลด้านการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเพื่อการป้องกันการเกิดแผลกดทับให้มีประสิทธิภาพ</p><p>คำสำคัญ: สมรรถนะเชิงวิชาชีพ/ การป้องกันแผลกดทับ/ พยาบาล</p>}, number={1}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={วุทธานนท์ นัทธมน and คุณาวิกติกุล วิภาดา and ศรีสุพรรณ วิจิตร and ชัยรัต อาภรณ์}, year={2012}, month={Sep.}, pages={94} }