@article{ศิริภูวนันท์_ชื่นจงกลกุ_บ่อคำ_ธนาพรพูนพงษ์_2012, title={การพัฒนาแนวปฏิบัติการใส่ลมในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป}, volume={27}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2765}, abstractNote={<p>การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการใส่ลมในกระเปาะลมท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ประกอบด้วย (1) การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์(2) การจำแนกชนิดหลักฐานเชิงประจักษ์ (3) ประเมินระดับคุณภาพของหลักฐานเชิงประจักษ์(4) สรุปผลการทบทวน (5) พัฒนาแนวปฏิบัติ (6) ประเมินผลแนวปฏิบัติ ซึ่งจากทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ จำนวน 67 งาน เป็นงานวิจัย 61 งาน ความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ 6 งานระดับคุณภาพของหลักฐาน ได้แก่ ระดับที่ 1 เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง (RCT) จำนวน 19 งานระดับที่ 3 เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองที่มีการควบคุมอย่างเหมาะสมแต่ไม่มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน17 งาน ระดับที่ 4 เป็นงานวิจัยที่มีการศึกษาไปข้างหน้า จำนวน 2 งาน ระดับที่ 5 เป็นงานวิจัยที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลในเวลาต่างกัน ไม่มีการควบคุม จำนวน 8 งาน ระดับที่ 6 งานวิจัยเชิงพรรณนา จำนวน 15 งาน ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 งาน</p><p>ความรู้ที่ได้จากการทบทวนสรุปได้ดังนี้ การประเมินความดันในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจโดยใช้ความรู้สึกหรือประสาทสัมผัส เช่น การกะปริมาณลมที่เติม การบีบหรือคลำ pilot balloonการเติมลมปริมาณน้อยที่สุดที่ไม่มีเสียงหายใจรั่ว ไม่สามารถบอกค่าความดันในกระเปาะลมที่เหมาะสม (20-25 ม.ม.ปรอท) ได้ การใช้เครื่องวัดความดันภายในกระเปาะลมทำให้ได้ค่าที่ถูกต้องและลดภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ การให้ยาระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์และการจัดท่าผ่าตัดบริเวณคอมีผลต่อการเพิ่มขึ้นความดันในกระเปาะลม ผู้ป่วยที่คาท่อช่วยหายใจไว้นานหรือหลังการผ่าตัด การวัดและปรับค่าความดันในกระเปาะลมท่อช่วยหายใจให้เหมาะสมก่อนย้ายไปหอผู้ป่วย สามารถลดภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินหายใจได้ เช่น ไอ เจ็บคอและกล่องเสี่ยงอักเสบ เป็นต้น ซึ่งจากการนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้ พบว่า สามารถลดความดันในกระเปาะลมท่อช่วยหายใจที่ไม่เหมาะสมลง ร้อยละ 30.3 ไม่พบภาวะแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง</p><p>ข้อเสนอแนะ ควรใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ โดยเฉพาะการให้ยาระงับความรู้สึกที่ต้องใช้ไนตรัสออกไซด์ และควรมีเครื่องวัดความดันในกระเปาะลมที่เพียงพอ</p><p>คำสำคัญ: การใส่ลมในกระเปาะลมท่อช่วยหาใจ แนวปฏิบัติ ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วไป</p>}, number={1}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={ศิริภูวนันท์ วิศิษฐ์ and ชื่นจงกลกุ วิชัย and บ่อคำ วนิดา and ธนาพรพูนพงษ์ สุนทรินทร์}, year={2012}, month={Sep.}, pages={124} }