@article{ธีรชิตกุล_นาคะ_บุญพัฒน์_2013, title={การจัดการอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุที่มีอาชีพกรีดยางพารา}, volume={27}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/5382}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong> </strong></p> <p>การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์อาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ การจัดการกับอาการปวด และผลลัพธ์ในการจัดการกับอาการปวดของผู้สูงอายุ ที่มีอาชีพกรีดยางพารา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้เป็นผู้สูงอายุที่มีอาชีพกรีดยางพารา 152 คน ในอำเภอแห่งหนึ่งของภาคใต้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความปวดมาตรฐาน และ 3) แบบสอบถามการจัดการอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาประสบการณ์อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุที่มีอาชีพกรีด ยางพาราในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า มีความปวดอยู่ในระดับปานกลาง (M = 6.09, SD = 1.63) และระดับเล็กน้อย (M = 3.04, SD = 1.92) ความปวดโดยรวมเฉลี่ยอยู่ใน ระดับเล็กน้อย (M = 4.18, SD = 1.61) และความปวดขณะที่ประเมินอยู่ในระดับเล็กน้อย (M = 3.20, SD = 2.07) เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ส่งผล กระทบต่อการดำเนินชีวิตในมิติด้านพฤติกรรมมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยของผลกระทบใน ระดับเล็กน้อย (M = 2.12, SD = 1.60) การจัดการอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่ใช้มีทั้งวิธี ใช้ยาและไม่ใช้ยา โดยวิธีที่เลือกใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การใช้ยาแก้ปวด (ร้อยละ 62.50) การนอนพัก นั่งพัก (ร้อยละ 59.87) และการใช้ยาสมุนไพร (ร้อยละ 50.66) ผลลัพธ์ของการจัดการอาการปวดโดย 3 วิธีดังกล่าวทำให้ระดับความรุนแรงของอาการลดลง อยู่ในระดับเล็กน้อย</p> <p>ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพ ที่มีส่วนในการดูแลผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพกรีดยางพาราในการส่งเสริมการจัดการอาการ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> <p><strong>คำสำคัญ :</strong> การจัดการอาการปวด, ผู้สูงอายุที่มีอาชีพกรีดยางพารา</p><p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The main objective of this descriptive research project was to study conditions of muscular aches and pains experienced by old-age rubber tappers, as well as their management of such aches and pains and its outcomes. The sample population consisted of 152 old-age rubber tappers in a Southern Thailand district. The data were collected through a questionnaire consisting of three sections: (i) the personal profile section; (ii) the standard ache and pain evaluation section; and (iii) the muscular ache and pain management section. The data were analysed statistically in terms of frequency, mean, percentage and standard deviation.</p> <p>The research revealed that the majority of the sample subjects had during the previous month been suffering from mild (M = 3.04, SD = 1.92) to moderate (M = 6.09, SD = 1.63) muscular aches and pains. The sample population’s average intensity of aches and pains was identified as mild (M = 4.18, SD = 1.61); so was their level of aches and pains at the time of the survey (M = 3.20, SD = 2.07). In addition, muscular aches and pains were reported by the subjects as most strongly affecting the behavioural aspect of their lives, but such effects were mild (M = 2.12, SD = 1.60). To manage muscular aches and pains, the sample subjects relied on both medication and other methods, the three most commonly adopted solutions being applying analgesic cream (62.50%), sitting or lying down to rest (59.87%) and taking herbal medicines (50.66%). Application of these pain management methods only slightly reduced the intensity of their aches and pains.</p> <p>The outcomes of this study could serve as basic data for healthcare personnel caring for old-age rubber tappers. The data could be applied to the promotion of more effective means of muscular ache and pain management.</p> <p><strong>Keywords</strong><strong> :</strong> management of muscular aches and pains, old-age rubber tappers</p>}, number={2}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={ธีรชิตกุล จุลจิรา and นาคะ ขนิษฐา and บุญพัฒน์ ปิยะภรณ์}, year={2013}, month={Jan.}, pages={134–147} }