@article{ชีวะสุทโธ_2013, title={ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการสอน พฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี}, volume={27}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/5502}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการสอน พฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และปัจจัยทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประชากร ที่ศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ปีการศึกษา 2552 จำนวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามคุณภาพการสอน และแบบสอบถามพฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (multiple regression analysis)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพการสอนของอาจารย์ตามความคิดเห็นของนักศึกษา และพฤติกรรม การเรียนโดยรวมของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ( <img src="http://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" alt="\bar{X}" align="absmiddle" /> = 3.55, SD = 0.45;<img src="http://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" alt="\bar{X}" align="absmiddle" /> = 3.34, SD = 0.34 ตามลำดับ)ในส่วนของพฤติกรรมการเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการเรียนด้านทัศนคติ ทางการเรียนสูงสุด ( <img src="http://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" alt="\bar{X}" align="absmiddle" /> = 4.07, SD = 0.51) รองลงมาคือด้านแรงจูงใจในการเรียน( <img src="http://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" alt="\bar{X}" align="absmiddle" /> = 3.61, SD = 0.46 ) และด้านกระบวนการประมวลความรู้ (<img src="http://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" alt="\bar{X}" align="absmiddle" /> = 3.55, SD = 0.45) นอกจากนี้ พบว่า คุณภาพการสอนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียน (r = 0.408, p < .01) แต่ไม่มีความสัมพันธ์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (r = 0.05, p>.05) แต่พฤติกรรมการเรียนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (r = 0.219, p<.01) โดยพฤติกรรมการเรียนด้านแรงจูงใจในการเรียนและด้านความ วิตกกังวลในการเรียน สามารถร่วมทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาได้ร้อยละ 17.8 (F = 0.178, p < .01)</p> <p>ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ อาจารย์ควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนของ นักศึกษาและมีแนวปฏิบัติในการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนด้านแรงจูงใจในการเรียนและลด ความวิตกกังวลในการเรียนของนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะ เวลา 4 ปีเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น</p> <p><strong>คำสำคัญ :</strong> คุณภาพการสอน, พฤติกรรมการเรียน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นักศึกษาพยาบาล</p> <p> </p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>This study aimed to investigate relationship between teaching quality, learning behaviour and learning efficacy. The subjects were 152 third-year Nursing Science majors (admitted in the academic year 2009) at Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri. The instruments for data collection consisted of (i) a general profile questionnaire; (ii) a learning behaviour questionnaire; and (iii) a learning efficacy questionnaire. Each of the respondents was asked to complete the questionnaires individually. The data were analysed using descriptive statistics, Pearson’s Correlation Coefficient Statistics and Step-Wise Multiple Regression Analysis.</p><p>The findings of the study can be summarised as follows. The lecturers’ teaching quality and the students’ learning behaviour were at a medium level (with respective values of <img src="http://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" alt="\bar{X}" align="absmiddle" /> = 3.35, SD = 0.45 and <img src="http://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" alt="\bar{X}" align="absmiddle" /> = 3.34, SD = 0.34). With regards to different aspects of learning, the highest score was given to the category ‘Learning Attitudes’ ( <img src="http://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" alt="\bar{X}" align="absmiddle" /> = 4.07, SD = 0.51), and the lowest to the category ‘Classroom Anxiety’ ( <img src="http://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" alt="\bar{X}" align="absmiddle" /> = 2.97, SD = 0.58). In addition, learning efficacy was found to be significantly related to learning behaviour (r=0.78, p<.01), but not to teaching quality. However, teaching quality displayed a significant relationship with learning behaviour (r=0.49, p<.01). Finally, concerning learning behaviour, the study found that ‘Learning Motivation’ and ‘Learning Anxiety’ were capable of co-predicting learning efficacy with 17.8% accuracy (F= 10.148, p=<.01).</p><p>Based on , it is recommended that lecturers place more emphasis on increasing learning motivation and minimising learning anxiety, as these methods could promote learning efficacy amongst fourth-year Nursing Science majors</p> <p><strong>Keywords :</strong> Teaching Quality, learning behavior, Learning efficacy</p>}, number={4}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={ชีวะสุทโธ รวงดี}, year={2013}, month={Jan.}, pages={43–56} }