@article{สิงห์สวัสดิ์_อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์_เปียชื่อ_2013, title={ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อการรับรู้ความสามารถ ของตนเอง เส้นรอบเอว และระดับไขมันในเลือด (เอชดีแอลคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์) ของบุคลากรสุขภาพ}, volume={27}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/5521}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน และหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง เส้นรอบเอว และ ระดับไขมันในเลือดของบุคลากรสุขภาพ ประยุกต์แนวคิดการรับรู้ความสามารถแห่งตนของแบนดูรา (1997) ในการกำหนดลักษณะรูปแบบและขั้นตอนของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูป กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรสุขภาพที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลรามาธิบดี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 31 คน ทำาการทดลองด้วยการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปเป็นกลุ่ม ครั้งละ 40 นาที จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ห่วงฮูลาฮูป แบบแผน การส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูป (ตัวแบบ ผู้นำ ออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูป ซีดี และเครื่องฉายภาพประกอบการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูป) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ Paired t-test และ One-way repeated measure ANOVA</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกายด้วย ฮูลาฮูปหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ค่าเฉลี่ย ของเส้นรอบเอวหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ค่าเฉลี่ยของระดับไขมันในเลือดชนิดเอชดีแอลคอเลสเตอรอลภายหลังการทดลอง มากกว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และค่ามัธยฐานของระดับไขมันในเลือดชนิด ไตรกลีเซอไรด์หลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05)</p> <p>ข้อเสนอแนะ โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปสามารถเป็นทางเลือกในการออก กำลังกายเพื่อสุขภาพเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนลงพุงใน ประชาชนได้</p> <p><strong>คำสำคัญ :</strong> การออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูป, เส้นรอบเอว, เอชดีแอลคอเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์, การรับรู้ความสามารถของตนเอง</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The main objective of this single-group experimental study with pre- and post-experimental measurements was to examine the impact of hula hoop-assisted exercise on healthcare personnel’s perceived self-efficacy, waistlines and levels of triglyceride and HDL cholesterol. Bandura’s (1997) concept of perceived self-efficacy was applied to design a pattern and procedure of hula hoop-assisted exercise. The subjects, 50 people specifically sampled from Ramathibodi Hospital’s healthcare personnel, were given triweekly 40-minute sessions of hula hoop-assisted exercise programme for 12 weeks. The instruments of research consisted of a hula hoop and a perceived self-efficacy promotion programme for hula hoop-assisted exercise (comprising a programme manual, an exercise demonstrator, a CD and a projector). The data were analysed using frequency distribution and percentage statistics, Paired t-test and One-Way repeated measure ANOVA.</p> <p>The study revealed that after the experiment, the subjects’ average perceived self-efficacy score was significantly higher (p < .001), their average waistline significantly reduced (p < .01) and their HDL cholesterol level significantly decreased (p < .001), whilst their median value of triglyceride also significantly dropped (p < .05).</p> <p>It can be suggested based on the findings that hula hoops can be an alternative exercise instrument that potentially contributes to healthiness and prevention of risk factors for obesity.</p> <p><strong>Keyword :</strong> hula hoop-assisted exercise; waistline; HDL cholesterol; triglyceride; perceived self-efficacy</p>}, number={4}, journal={The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council }, author={สิงห์สวัสดิ์ ษารินทร์ and อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์ ลดาวัลย์ and เปียชื่อ นพวรรณ}, year={2013}, month={Jan.}, pages={109–122} }