TY - JOUR AU - ถาน้อย, วารีรัตน์ AU - โอว ยอง, อทิตยา พรชัยเกตุ AU - อ่อนดี, ภาศิษฏา PY - 2013/09/14 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล JF - The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council JA - J Thai Nurse midwife Counc VL - 27 IS - 0 SE - Research Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/11632 SP - 60-76 AB - <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อทดสอบโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (structural model) ระหว่างปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ความครุ่นคิด และเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ (rumination and negative life events) ปัจจัยเกื้อหนุนได้แก่ ความเข้มแข็งในชีวิต (resilience) และ การสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อภาวะสุขภาพจิตได้แก่ความตึงเครียดทางอารมณ์ และ พฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นการออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสัมพันธ์ทำนายวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล ที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 1 ถึง 4 ปีการศึกษา 2553 โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายได้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 697 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ชุดแบบสอบถามการประเมินตนเองซึ่งประกอบด้วย แบบวัดความคิด ความรู้สึกและประสบการณ์ของวัยรุ่นแบบวัดการตอบสนองทางความคิดต่อสถานการณ์ แบบวัดความช่วยเหลือทางสังคมแบบพหุมิติ แบบวัดความเข้มแข็งในชีวิต และแบบวัดเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจผลการวิจัย: โมเดลเชิงโครงสร้าง (structural equation modeling) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2= 209.551, df=200, p=0.307, GFI=0.977, AGFI=0.960, RMSEA=0.008) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตายได้ร้อยละ 16.30 และอธิบายความตึงเครียดทางอารมณ์ได้ร้อยละ 70.00 โดยพบว่า เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ และความครุ่นคิด มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นโดยส่งผ่านตัวแปรความตึงเครียดทางอารมณ์ นอกจากนี้ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของตัวแปรที่สามารถลดกระบวนการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตายซึ่งได้แก่ ความเข้มแข็งในชีวิตและการสนับสนุนทางสังคมโดยพบว่า การสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งในชีวิตทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่าน จาก เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบในการช่วยลดการเกิดความตึงเครียดทางอารมณ์ อันจะส่งผลต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตายนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลข้อเสนอแนะ: ผลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปสู่วิธีการปฏิบัติการพยาบาลในการสร้างเสริมสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อป้องกันการเกิดความตึงเครียดทางอารมณ์อันจะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งส่งเสริมให้วัยรุ่นกลุ่มนี้มีสภาวะสุขภาพจิตที่ดีต่อไป</p><p>คำสำคัญ: วัยรุ่น พฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ความตึงเครียดทางอารมณ์ การครุ่นคิด ความแข็งแกร่งในชีวิต การสนับสนุนทางสังคม</p> ER -