TY - JOUR AU - ชอบการไร่, สุวรรณี AU - ฉันท์เรืองวณิชย์, วัลย์ลดา AU - โตสิงห์, อรพรรณ AU - วรรธนอภิสิทธิ์, ธเนศ PY - 2014/01/23 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกระดูกสันหลังเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว JF - The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council JA - J Thai Nurse midwife Counc VL - 28 IS - 3 SE - Research Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/15749 SP - 68-79 AB - <p><strong>วัตถุประสงค์ของการวิจัย</strong><strong>:</strong>  ศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกระดูกสันหลังเสื่อมโดยใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม (Orem) เป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย</p><p><strong>การออกแบบวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิจัยความสัมพันธ์เชิงการทำนาย</p><p><strong>การดำเนินการวิจัย</strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกระดูกสันหลังเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว จำนวน 86 ราย เครื่องมือวิจัยมี 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความเจ็บป่วยและการรักษาที่ได้รับ 2) แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ 3) แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ</p><p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 35-80 ปี อายุเฉลี่ยคือ 59.22 ปี (S.D. = 8.87) อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 32.6 จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 67.4 หลังผ่าตัดกลุ่มตัวอย่างรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 68.6) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 91.9) พฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 97.7) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Beta = .31, t = 2.24, p &lt; .05) ส่วนปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา การรับรู้ภาวะสุขภาพไม่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองได้</p><p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> ควรมีการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มนี้</p> ER -