TY - JOUR AU - คงอินทร์, วิภาวี AU - ธรรมสอน, อรนุช AU - ทิพย์สีนวล, สุชาพร AU - แก้วบริสุทธิ์, สุภา PY - 2012/08/23 Y2 - 2024/03/29 TI - เราจะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้อย่างไร JF - The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council JA - J Thai Nurse midwife Counc VL - 15 IS - 3 SE - Academic Article DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2309 SP - 65 AB - <p><strong> </strong>โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นโรคที่มีอัตราความชุกของโรคเพิ่มขึ้นในกลุ่มประชาการสูงอายุทั้งในและต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยความรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร แม้สื่อต่างๆ จะเริ่มให้ความสนใจเผยแพร่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์บ้างแล้วก็ตาม แต่ความเข้าใจเรื่องโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่กระจ่าง แม้ในวงการผู้ให้บริการทางสุขภาพ</p> <p>บทความนี้เป็นการนำเสนอ ความรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ในเรื่อง ความหมายของโรค พยาธิสภาพ สัญญาณเตือนของผู้ที่เริ่มมีอาการปัจจัยเสี่ยงการวินิจฉัย อาการแสดง การรักษา การดูแลผู้ป่วยผลกระทบต่อผู้ดูแล และการช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่รวบรวมมาจากการสัมมนาของกลุ่มนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ชั้นปีที่สองปีการศึกษา 2543 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งสรุปได้ว่าอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของสมองที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด การรักษาเป็นการรักษาตามอาการแสดงของโรคอัลไซเมอร์ ประกอบด้วย 3 ระยะ โดยอาการของโรคจะทวีความรุนแรงขึ้นตามระยะ โดยอาการของโรคจะทวีความรุนแรงขึ้นตามระยะเวลา การให้การดูแลที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยคือการกระตุ้นความจำเป็นให้ผู้ป่วยรับรู้ความเป็นจริงมากที่สุด แต่ในระยะสุดท้ายของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการมากจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงเป็นหน้าที่ของญาติที่ต้องรับภาระหนักในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลทำให้ผู้ดูแลเกิดความเครียด ความเบื่อหน่าย และเปิดปัญหาสุขภาพ การให้การช่วยเหลือผู้ดูแลคือ การให้ความรู้ สนับสนุน ประคับประคอบผู้ดูแลในหลายๆ ด้าน ทั้งจากบุคลากรทางการแพทย์ และระบบเกื้อหนุนทางสังคมอื่นๆ เพื่อช่วยลดภาระของผู้ดูแลพร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ดูแลสามารถปรับตัวในการดูแลผู้ป่วยได้เหมาะสม</p> ER -