TY - JOUR AU - สุทธิพงศ์, ช่อผกา AU - สินธุ, ศิริอร AU - อุทริยะประสิทธิ์, เกศรินทร์ AU - เสน่หา, จงจิต AU - นิละนนท์, ยงชัย PY - 2012/08/28 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรุนแรงของแผลกดทับในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง JF - The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council JA - J Thai Nurse midwife Counc VL - 21 IS - 4 SE - Research Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2398 SP - 56 AB - <p><strong> </strong>การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยทำนายระดับความรุนแรงของแผลกดทับในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีแผลกดทับจำนวน 90 ราย ที่รับไว้ในหอผู้ป่วยอายุศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช และผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในชุมชนจำนวน 3 เขต ได้แก่ เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี และเขตภาษีเจริญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสภาพผิวหนังแบบประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ แบบประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง แบบประเมินการทำหน้าที่ของร่างกาย แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม และแบบสัมภาษณ์ความซึมเศร้าวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่อระดับความรุนแรงของแผลกดทับด้วยสถิติไคสแคว์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบลอจิสติค</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าความเสี่ยงด้านร่างกาย (λ<sup>2</sup>=10.858, p &lt;.01) และความซึมเศร้า (λ<sup>2</sup>=9.908,p&lt;.05) มีคามสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของแผลกดทับในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนการทำหน้าที่ของร่างกาย (λ<sup>2</sup>=.629,p&gt;.05) และการสนับสนุนทางสังคม (λ<sup>2</sup> = 1.059,p&gt;.05  ) ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของแผลกดทับ ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ทำนายระดับความรุนแรงของแผลกดทับมี 2 ปัจจัยคือ ความเสี่ยงด้านร่างกาย (OR=2.157.95% CI=1.032-4.511)</p> <p>ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้คือ ในการประเมินความเสี่ยงแผลกดทับควรมีการประเมินความซึมเศร้าร่วมด้วย และควรมีการพัฒนาโปรแกรมการป้องกันแผลกดทับจากโรงพยาบาลสู่บ้านอย่างต่อเนื่อง</p> ER -