TY - JOUR AU - สุวรรณโณ, จอม AU - มาศกสิน, ภณิศา AU - คงกำหนด, รวมพร PY - 2012/09/06 Y2 - 2024/03/29 TI - การใช้แนวทางการวินิจฉัยระดับความรุนแรงของอาการจับหืดกำเริบเฉียบพลันเพื่อลดระยะเวลาในการประเมินผู้ป่วยหอบหืดที่มารับการรักษาในแผนฉุกเฉินของโรงพยาบาลชุมชน JF - The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council JA - J Thai Nurse midwife Counc VL - 23 IS - 4 SE - Research Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2546 SP - 86 AB - <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการใช้แนวทางการวินิจฉัยระดับความรุนแรงของอาการจับหืดกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยหอบหืดโดยใช้วิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลอง จากกลุ่มตัวอย่าง 50 ราย เป็นเด็กโตอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ที่มีอาการจับหืดเฉียบพลันที่มาใช้บริการที่แผนฉุกเฉินของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคใต้ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2550 แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการประเมินตามแนวทางปฏิบัติ (n=25) หรือได้รับการประเมิน ตามปกติ (n=25)  ผลลัพธ์ที่วัดประกอบด้วย การประเมินอาการนำสำคัญที่บ่งชี้ระดับความรุนแรงของภาวะจับหืดกำเริบเฉียบพลัน และระยะเวลาที่ใช้ในการประเมินผู้ป่วย</p> <p>ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้แนวทางการปฏิบัติได้รับการประเมินอาการนำสำคัญที่บ่งชี้ถึงภาวะจับหืดเฉียบพลันมีความถี่มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการประเมินตามปกติ จำนวน 1 อาการจาก 4 อาการ คือ อาการเหนื่อยหอบเวลากลางคืน (92.0% กับ 60% ,p&lt; 0.05) ได้รับการประเมินอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ระดับความรุนแรงของภาวะจับหืดกำเริบเฉียบพลันมากกว่า จำนวน 6 ด้าน จาก 9 ด้าน (p &lt;0.001) คือ การรู้สติ (100% กับ 16%) เดินเหนื่อย (100% กับ 8%)  พูดเหนื่อย (100% กับ 8%) ค่าความอิ่มตัวออกซิเจนจากชีพจร (100% กับ 24%) การใช้กล้ามเนื้อเสริมหายใจ (100% กับ 4%) และภาวะ central cyanosis (100% กับ 4%) ทั้งนี้การประเมินตามแนวทางปฏิบัติใช้เวลาน้อยกว่าการประเมินตามปกติประมาณ 2 นาที (t= -3.43,p &lt;0.01) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติสามารถนำไปใช้ได้จริงในคลินิกและประสิทธิผลดีกว่าการประเมินตามปกติ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : หอบหืด อาการเหนื่อยหอบ การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เครื่องมือประเมินผู้ป่วย แนวทางปฏิบัติ</p> ER -