TY - JOUR AU - พุ่มระย้า, ปองหทัย PY - 2012/09/07 Y2 - 2024/03/28 TI - เครื่องมือประเมินการหายของแผลกดทับ JF - The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council JA - J Thai Nurse midwife Counc VL - 24 IS - 3 SE - Academic Article DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2573 SP - 20 AB - <p>จากประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาลรัตนราชธานี และจากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าการบันทึกการหายของแผลกดทับยังไม่มีความชัดเจน ครบถ้วนและต่อเนื่องซึ่งการบันทึกการหายของแผลกดทับมีความสำคัญในการพยากรณ์สภาพแผล ประเมินผลลัพธ์การดูแล และส่งเสริมการสื่อสารในทีมผู้ดูแล นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานทางกฎหมาย ดังนั้นผู้ศึกษาจึงต้องการศึกษาเครื่องมือประเมินการหายของแผลกดทับเพื่อการเลือกเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานและเที่ยงตรง สามารถนำไปใช้ได้จริงในคลินิก เพื่อนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับในโรงพยาบาลรัตนราชธานี</p> <p>จากการทบทวบวรณกรรมพบว่าเครื่องมือประเมินการหายของแผลกดทับมีหลายเครื่องมือ ซึ่งแต่ละเครื่องมือมีหัวข้อในการประเมิน และเกณฑ์การให้คะแนนที่แตกต่างกันผู้นิพนธ์จึงเลือกเปรียบเทียบเครื่องมือประเมินการหายของแผลกดทับ ที่มีการนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง จำนวน 3 เครื่องมือ  ได้แก่ Pressure Ulcer Status Tool (PUSH Tool 3.0) Pressure Sore Status Tool (PSST) และ Sessing Scale เพื่อวิเคราะห์ความตรง ความเที่ยงและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้สถานการณ์จริง</p> <p>ผลการเปรียบเทียบว่า เครื่องมือที่ควรนำไปใช้ในคลินิก คือ Pressure Ulcer Status Tool (PUSH) เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ได้มาตรฐานผ่านการตรวจสอบความเที่ยงและความตรงของเครื่องมือ และสามารถนำไปใช้ได้ง่าย พยาบาลทั่วไปสามารถประเมินได้เอง มีหัวข้อการประเมินเพียง 3 ด้าน ใช้ระยะเวลาสั้นเพียงประมาณ 1 นาที และมีหลักฐานงานวิจัยที่นำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้ผลดี สำหรับ  Pressure Sore Status Tool  (PSST) เหมาะสมในการนำไปใช้ในการทำวิจัยมากกว่านำมาใช้ในคลินิก เพราะมีหัวข้อการประเมินแผลละเอียดมากเกินไป (13 หัวข้อ) ซึ่งต้องใช้ความชำนาญ และใช้เวลาการประเมินนานกว่า Pressure Ulcer Status Tool (10-15 นาที) และ Sessing Scale มีการประเมินเฉพาะกระบวนการหายของแผลเพียงอย่างเดียวไม่มีการประเมินขนาดของแผลและยังไม่มีการศึกษาความเที่ยงตรงของเครื่องมือ</p> <p>ข้อเสนอแนะจากผลของการศึกษา คือ ควรจัดโปรแกรมการฝึกฝนให้พยาบาลและผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้เครื่อง PUSH ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้เครื่องมือในการสถานการณ์จริง</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : แผลกดทับ เครื่องมือประเมินการหายของแผลกดทับ</p> ER -