TY - JOUR AU - สุขนิธิ, จารุวรรณ AU - ธรรมพนิชวัฒน์, วัลยา AU - วิเชียรเจริญ, ไข่มุกข์ AU - เลิศธรรมเทวี, วิไล PY - 2012/09/14 Y2 - 2024/03/28 TI - ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการดูดกลืนต่อความรู้ในการกระตุ้นการดูดกลืน ของมารดาและความสามารถในการดูดนมของทารกเกิดก่อนกำหนด JF - The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council JA - J Thai Nurse midwife Counc VL - 27 IS - 1 SE - Research Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2762 SP - 78 AB - <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบความรู้ในการกระตุ้นการดูดกลืนของมารดาและความสามารถในการดูดนมของทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์28-36 สัปดาห์ และรับการรักษาในหน่วยงานทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยากลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่ไม่มีประสบการณ์ในการกระตุ้นการดูดกลืน และทารกเกิดก่อนกำหนดมีนํ้าหนักตัวเหมาะสมกับอายุครรภ์ ได้รับนมทางสายให้อาหารและเริ่มให้ดูดนมทางปากได้ จำนวน 34 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มละ 17 คู่ กลุ่มทดลองคือ มารดาที่ได้รับโปรแกรมการสอนการกระตุ้นการดูดกลืนเป็นรายบุคคล โดยการชมสื่อคอมพิวเตอร์ การสาธิตให้มารดาฝึกปฏิบัติกับหุ่นจำลองและบุตรของมารดา แจกแผ่นพับ หลังจากนั้นให้มารดากระตุ้นการดูดกลืนกับบุตร 10 วัน กลุ่มควบคุมคือ มารดาที่ได้รับข้อมูลตามปกติและแผ่นพับเรื่อง “คุณแม่จะดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับนมทางสายให้อาหารอย่างไร”เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกอัตราการดูดนมและปริมาณนมที่ดูดได้, แบบสอบถามความรู้เรื่องการกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ pairedt-test และ analysis of covariance</p><p>ผลการวิจัยพบว่า มารดากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการกระตุ้นการดูดกลืนหลังได้รับโปรแกรมมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.01) และทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มทดลองมีอัตราการดูดนมเร็วกว่า และปริมาณนมที่ดูดได้มากกว่ากลุ่มควบคุม หลังได้รับการกระตุ้นการดูดกลืนจากมารดาได้ 5 วันและ 10 วันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.01)</p><p>ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดนมของทารกต่อไป</p><p>คำสำคัญ: โปรแกรม การกระตุ้นการดูดกลืน ความรู้ของมารดา ความสามารถในการดูดนมของทารกเกิดก่อนกำหนด</p> ER -