วารสารสภาการพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC <p>วารสารสภาการพยาบาล เป็นวารสารวิชาการที่มีการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขา กำหนดออกราย 3 เดือน ปีละ 4 ฉบับ โดยสภาการพยาบาลเป็นเจ้าของ มีเป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งในการเผยแพร่ผลงานวิชาการของพยาบาลวิชาชีพ และความก้าวหน้าในศาสตร์สาขาการพยาบาล ทั้งด้านการพยาบาลทางคลินิกและชุมชน การศึกษาพยาบาล การบริหารการพยาบาล และที่เกี่ยวข้อง</p> <p>ISSN 1513-1262 (Print)</p> <p>ISSN 2985-0894 (Online)</p> Thailand Nursing and Midwifery Council en-US วารสารสภาการพยาบาล 1513-1262 Full issue https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/269845 ศาสตราจารย์ ดร. นพวรรณ เปียซื่อ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 Editorial Note https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/269847 ศาสตราจารย์ ดร. นพวรรณ เปียซื่อ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในชุมชนเมืองเขตกรุงเทพมหานคร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/259284 <p><strong>บทนำ</strong> โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่เพิ่มขึ้นในชุมชนเมืองเขตกรุงเทพมหานคร วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์ อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีพันธกิจการดูแลชุมชนในพื้นที่ซึ่งมีความซับซ้อนและหลากหลายในเชิงเศรษฐกิจสังคม และเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน เพื่อการวางแผนให้การดูแลเชิงรุกได้อย่างครอบคลุม </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ได้แก่ ปัญหาสุขภาพ ผลกระทบของโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง และการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมและป้องกันความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร </p> <p><strong>การออกแบบการวิจัย</strong> การวิจัยเชิงบรรยาย โดยใช้กรอบแนวคิดการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขององค์การอนามัยโลก กระทรวงสาธารณสุขและการทบทวนวรรณกรรม </p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของกรุงเทพมหานครที่ขึ้นทะเบียนกับศูนย์บริการ สาธารณสุขในเขตที่ทำการศึกษา จำนวน 1,360 คน สุ่มแบบง่ายจากรายชื่อประชาชนวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ขึ้นทะเบียนกับศูนย์บริการสาธารณสุขจากชุมชน 68 แห่ง ชุมชนละ 20 คนที่เป็นไปตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามปัญหาสุขภาพ แบบสอบถามผลกระทบของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและแบบสอบถามการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุม และป้องกันความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนี ความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .90 การตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามผลกระทบของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้ค่าความเชื่อมั่น ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน เท่ากับ .90 และแบบสอบถามการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมและป้องกันความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด </p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 62.50) อายุระหว่าง 20-95 ปี อายุเฉลี่ย 57.80 ปี (SD = 14.6) ใช้สิทธิบัตรทอง (ร้อยละ 87.36) กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 1,000 บาท (ร้อยละ 56.47) และมีภาวะน้ำหนักเกิน (ร้อยละ 67.96) โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบสามอันดับแรก คือ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 61.76) ไขมันในเลือดสูง (ร้อยละ 46.18) และเบาหวาน (ร้อยละ 30.74) ส่วนใหญ่มีโรคเรื้อรังสองโรคขึ้นไป และมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง และโรคไตวายเรื้อรัง มากกว่าร้อยละ 40 ได้รับผลกระทบจากโรคและรบกวนการดำเนินชีวิต ประจำวันในระดับปานกลางถึงสูง ได้แก่ อาการปวดเข่า ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ลืมง่าย หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล กลัวจะเป็นภาระของครอบครัว ท้อแท้ เบื่อหน่าย ทำกิจกรรมไม่ได้เหมือนเดิมและรายได้ลดลง นอกจากนี้ยังพบปัญหาด้านการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมและป้องกันความรุนแรงของโรค ได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย ไม่ควบคุมการบริโภค อาหาร นอนหลับไม่เพียงพอ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ สำหรับพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อการรักษา พบว่า เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 47.46) ไม่ได้พบแพทย์อย่างต่อเนื่องแต่ซื้อยารับประทานเอง ในขณะที่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.7 แบ่งยาให้เพื่อนบ้านที่มีอาการคล้ายกันรับประทาน </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong> ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เป็นโรคเรื้อรัง ในชุมชนด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา ร่วมกับการพัฒนาระบบบริการเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง</p> ทัศนา บุญทอง อรพรรณ โตสิงห์ ประภา ยุทธไตร วิไลวรรณ ทองเจริญ นาวาอากาศเอกหญิง โสพรรณ โพทะยะ มัตติกา ใจจันทร์ ชนินทร์ จักรภพโยธิน ขวัญธิดา พิมพการ ทัดดาว แนบเนียน Copyright (c) 2024 วารสารสภาการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 163 177 10.60099/jtnmc.v39i02.259284 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการรักษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/268032 <p><strong>บทนำ </strong>ความร่วมมือในการรักษาที่ประกอบด้วยการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมีความสำคัญต่อการปรับปรุง ผลลัพธ์ทางสุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการรักษา ทั้งการใช้ยาและการปรับพฤติกรรมในวัยผู้ใหญ่มีค่อนข้างจำกัด </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> เพื่อศึกษาความร่วมมือในการรักษาและอำนาจการทำนายของสถานภาพการทำงาน โรคร่วม ความซับซ้อนของแบบแผนการใช้ยา การรับรู้ความรุนแรงและความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง และคุณภาพการดูแลต่อความร่วมมือในการรักษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ </p> <p><strong>การออกแบบการวิจัย</strong> การศึกษาวิเคราะห์เชิงภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย โดยใช้กรอบแนวคิด แบบจำลองความหลากหลายมิติของความร่วมมือ </p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 156 คน เป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิที่มีอายุ 18-59 ปี ได้รับ การรักษาโดยการใช้ยาและปรับพฤติกรรม อย่างน้อย 6 เดือน ในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูงแห่งหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความร่วมมือในการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรง และความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง แบบประเมินการได้รับการดูแลโรคเรื้อรังโดยผู้ป่วย แบบประเมิน ความรุนแรงของโรคร่วม ดัชนีวัดความซับซ้อนของแบบแผนการใช้ยา และแบบบันทึกข้อมูลความเจ็บป่วย ที่ได้รับ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ นำไปหาค่าความเชื่อมั่นก่อนนำมาใช้ในการเก็บข้อมูล ได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .77-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ </p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 46.50 ปี (SD = 9.65) เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.46 มีคะแนนเฉลี่ย ความร่วมมือในการรักษา 87.97 (SD = 9.02) โดยคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการรับประทานยามากที่สุด 34.37 (SD=2.52) และคะแนนเฉลี่ยการออกกำลังกายน้อยที่สุด 4.33 (SD = 1.89) มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 14.74 และอ้วน ร้อยละ 71.80 ส่วนใหญ่มีงานทำ (ร้อยละ 83.33) ไม่มีโรคร่วม (ร้อยละ 62.82) มีความซับซ้อนของแบบแผนการใช้ยา ระดับต่ำ (ร้อยละ 68.59) รับรู้ความรุนแรงและความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงระดับสูง (ร้อยละ 96.15) และคุณภาพการดูแลระดับสูง (ร้อยละ 61.54) การทดสอบด้วยสถิติการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณพบว่าตัวแปร ทั้งหมดที่ศึกษาทำนายความร่วมมือในการรักษาได้ร้อยละ 30.9 (Adjusted R2 = .309, F(5,150) = 14.858, p &lt; .001) โดยสถานภาพการทำงาน (β = -.262, p &lt; . 001) โรคร่วม (β = -.184, p = .020) การรับรู้ความรุนแรงและความเสี่ยงต่อ ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง (β = .466, p &lt; .001) และคุณภาพการดูแล (β = .165, p = .017) ทำนายความร่วมมือในการรักษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong> การสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่เกิดความร่วมมือในการรักษา พยาบาล ควรพัฒนากลยุทธ์ในการเพิ่มคุณภาพการดูแลในคลินิกความดันโลหิตสูงและส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับรู้ความรุนแรงและความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยเฉพาะ เรื่องอาหารและการออกกำลังกายในกลุ่มผู้ใหญ่ความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน</p> เพชรลดา จันทร์ศรี อัจฉริยา พ่วงแก้ว อรวมน ศรียุกตศุทธ ศรีสกุล จิรกาญจนากร Copyright (c) 2024 วารสารสภาการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 178 190 10.60099/jtnmc.v39i02.268032 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/268466 <p><strong>บทนำ </strong>ภาวะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทำให้เกิดความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> 1) เพื่อศึกษาความชุกของภาวะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ และ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการร่วมทำนายภาวะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ ของปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสุขภาพในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน </p> <p><strong>การออกแบบการวิจัย</strong> การวิจัยแบบบรรยายเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนาย โดยใช้ทฤษฎีทางสรีรวิทยาและวรรณกรรมเป็นกรอบแนวคิด </p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดสมุทรปราการที่ได้รับการวินิจฉัยโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 192 ราย เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย และการประเมิน ภาวะโภชนาการและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก </p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.1) อายุเฉลี่ย 69.60 ปี (SD = 7.60) พบความชุกของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 54.17 ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านสุขภาพได้แก่ อายุ (OR= 3.47, 95%CI = 1.91-6.33) ภาวะน้ำหนักตัวลด (OR= 4.05, 95%CI = 1.11-14.70) ระดับของกิจกรรมทางกาย (OR= 0.37, 95%CI = .19-.73) และ ภาวะซึมเศร้า (OR= 3.06, 95%CI = 1.16-8.03) สามารถทำนายภาวะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกแบบพหุ พบว่า อายุ (OR= 3.02, 95% CI = 1.63-5.59) และระดับกิจกรรมทางกาย (OR= 0.48, 95%CI = 0.24-0.97) สามารถร่วมกันทำนายภาวะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนได้ร้อยละ 14.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong> การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อายุ และ ระดับกิจกรรมทางกาย เป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อภาวะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ควรมีการพัฒนา โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพโดยมุ่งเน้นกิจกรรมทางกายโดยเฉพาะในผู้สูงอายุกลุ่มที่มีอายุมากเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและชะลอการเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน</p> พัชราภรณ์ ไหวคิด ธมกร อ่วมอ้อ กันยา สุวรรณคีรีขันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารสภาการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 191 204 10.60099/jtnmc.v39i02.268466 ปัจจัยทำนายการสนับสนุนของผู้ดูแลเพื่อการดูแลตนเองในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/268190 <p><strong>บทนำ </strong>ผู้ดูแลมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ปัจจุบัน ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการสนับสนุนของผู้ดูแลเพื่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยยังมีจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในประเทศไทย </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> เพื่อศึกษาการสนับสนุนของผู้ดูแลเพื่อการดูแลตนเองในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว และปัจจัยทำนายการสนับสนุนการดูแลตนเอง (ด้านการดำรงพฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้านการรับรู้อาการ และด้านการจัดการอาการกำเริบ) ของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว </p> <p><strong>การออกแบบการวิจัย</strong> การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย โดยใช้ทฤษฎีระดับปฏิบัติการเกี่ยวกับการสนับสนุนของผู้ดูแลเพื่อการดูแลตนเองในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว </p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่างจำนวน 128 คน เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าโดยมีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป ทั้งชายและหญิง ทำหน้าที่เป็น ผู้ดูแลโดยไม่ได้ค่าตอบแทน และอาศัยอยู่กับผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่คลินิกหัวใจล้มเหลวและ คลินิก อายุรกรรมทั่วไป แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูงแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เดือนเมษายน - สิงหาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ </p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 75.78) อายุเฉลี่ย 46.10 ปี (SD = 13.74) มีการสนับสนุนการดูแลตนเองด้านการรับรู้อาการและด้านการดำรงพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับเพียงพอ (M = 73.38, SD = 14.83 และ M = 72.72, SD = 13.75 ตามลำดับ) แต่ด้านการจัดการอาการกำเริบอยู่ในระดับไม่เพียงพอ (M = 68.83, SD = 16.56) การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ พบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแลและการรับรู้สมรรถนะตนเองต่อการดูแลร่วมกันทำนายการสนับสนุน การดูแลตนเองด้านการรับรู้อาการได้ร้อยละ 35.20 การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล การรับรู้สมรรถนะตนเอง ต่อการดูแลและมุมมองเชิงบวกในการดูแลร่วมกันทำนายการสนับสนุนการดูแลตนเองด้านการดำรงพฤติกรรม การดูแลตนเองได้ร้อยละ 31.50 การรับรู้สมรรถนะตนเองต่อการดูแลของผู้ดูแลและโรคร่วมของผู้ป่วยร่วมกัน ทำนายการสนับสนุนการดูแลตนเองด้านการจัดการอาการกำเริบได้ร้อยละ 21.20 อย่างไรก็ตาม สถานภาพของผู้ดูแลต่อผู้ป่วยไม่สามารถทำนายการสนับสนุนของผู้ดูแลทั้งสามด้านได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong> ผลการศึกษาสามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมที่มีความเฉพาะต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเพื่อสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว โดยเน้นที่การเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะ ตนเอง มุมมองเชิงบวกในการดูแล การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล และการควบคุมภาวะโรคร่วมของผู้ป่วย</p> พรทิพย์ จาไธสง อัจฉริยา พ่วงแก้ว อรวมน ศรียุกตศุทธ ศรีสกุล จิรกาญจนากร Copyright (c) 2024 วารสารสภาการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 205 218 10.60099/jtnmc.v39i02.268190 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/268465 <p><strong>บทนำ</strong> การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรัง การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตอยู่กับโรคไตเรื้อรังและการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้อย่างมีคุณภาพชีวิต </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> 1) เพื่อศึกษาภาวะทุพโภชนาการ ความเพียงพอในการฟอกเลือด ภาวะเปราะบางและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะทุพโภชนาการ ความเพียงพอในการฟอกเลือด และภาวะเปราะบางกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม </p> <p><strong>การออกแบบวิจัย</strong> การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ โดยใช้แนวคิดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเฟอร์ราน เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย </p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่เข้ารับการรักษา แบบผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 จำนวน 100 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพ แบบสอบถามภาวะโภชนาการผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แบบสอบถามภาวะเปราะบาง และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกไต ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามภาวะโภชนาการผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกไตเท่ากับ .83 และ .81 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยงด้วยวิธีการวัดซ้ำภายใน 7 วัน แบบสอบถามภาวะเปราะบาง ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน </p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong>กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 72.46 ปี (SD = 8.25) ร้อยละ 55 เป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ หรือเกษียณอายุ (ร้อยละ 94) ร้อยละ 82 มีผู้ดูแล และมีค่ามัธยฐานระยะเวลาในการฟอกเลือด 36 เดือน ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ 17.25–73.50 เดือน ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะทุพโภชนาการอยู่ในระดับเสี่ยงทุพโภชนาการรุนแรง (M = 8.87, SD = 3.88) ค่าเฉลี่ยความเพียงพอในการฟอกเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (M = 1.99, SD = .49) มีภาวะเปราะบาง (M = 2.16, SD = 1.29) และค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (M = 129, SD = 7.51) อยู่ในระดับดี ภาวะทุพโภชนาการและภาวะ เปราะบางมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.351, p &lt; .001 และ rs = -.393, p &lt; .001 ตามลำดับ) ส่วนความเพียงพอในการฟอกเลือดไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .121, p &gt; .05) </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong> ผลการศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางสุขภาพในการติดตามและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ และภาวะเปราะบาง บุคลากรทางการแพทย์ควรให้คำแนะนำเพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการและเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันการเกิดภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดอันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี</p> ศิริลักษณ์ รักษ์ชัยภูมิ พิชญ์ประอร ยังเจริญ นพวรรณ พินิจขจรเดช Copyright (c) 2024 วารสารสภาการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 219 235 10.60099/jtnmc.v39i02.268465 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/268146 <p><strong>บทนำ</strong> ความปวดเป็นปัญหาสำคัญของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ส่งผลกระทบทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล การมีแนวปฏิบัติ ทางการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดจะช่วยให้พยาบาลมีการปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันและช่วยบรรเทาความปวดให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง </p> <p><strong>การออกแบบการวิจัย</strong> การวิจัยดำเนินการ (operational research) </p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> การพัฒนาแนวปฏิบัติ ฯ ใช้แนวทางและขั้นตอนขององค์กรความร่วมมือเพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติทางคลินิก (The ADAPTE Collaboration, version 2.0) เป็นแนวทาง ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ เตรียมความพร้อม ระยะปรับปรุง และระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มบุคลากรทีมพัฒนา แนวปฏิบัติจำนวน 5 คน 2) กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติ ครบทุกข้อเสนอแนะ จำนวน 3 คน และ 3) กลุ่มบุคลากรผู้ใช้แนวปฏิบัติ ครบทุกข้อเสนอแนะ จำนวน 4 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองแนวปฏิบัติ 2) แบบประเมินคุณภาพ แนวปฏิบัติทางคลินิก (Appraisal of Guideline for Research &amp; Evaluation II [AGREEII]) ฉบับภาษาไทย 3) แบบคัดกรองผู้ป่วยโรคมะเร็ง และ 4) แบบรวบรวมผลลัพธ์ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติด้านคลินิกและด้านกระบวนการ เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ </p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 หมวด ได้แก่ 1) การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรม 2) การประเมินความปวด 3) การจัดการ ความปวด 4) การให้ความรู้ในการจัดการตนเองเกี่ยวกับความปวด และ 5) การติดตามการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาคุณภาพ ผลการประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติทางคลินิก โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีคะแนนมากกว่าร้อยละ 80 ทุกหมวด และมีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้ และคู่มือการจัดการความปวดด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วย มีความเหมาะสม ให้ความรู้ในการจัดการตนเองเกี่ยวกับความปวด ด้านภาษาที่ใช้เข้าใจง่าย ผลการทดสอบ ความเป็นไปได้พบว่า สามารถบรรเทาความปวดของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ทุกครั้งที่มีความปวด (จำนวน 21 ครั้ง) กลุ่มตัวอย่างทุกคนมีความพึงพอใจต่อการได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯนี้ในระดับมากที่สุด และบุคลากรผู้ใช้แนวปฏิบัติฯ มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติในระดับมากถึงมากที่สุด </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong> ควรมีการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งนี้ไปใช้ และศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติฯ ทั้งผลลัพธ์ด้านคลินิกและด้านกระบวนการ</p> เจริญพร โนกาศ ประทุม สร้อยวงค์ วราวรรณ อุดมความสุข Copyright (c) 2024 วารสารสภาการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 236 252 10.60099/jtnmc.v39i02.268146 ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อน้ำหนักคงค้างหลังคลอดในมารดาที่มีบุตรคนแรก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/267997 <p><strong>บทนำ</strong> ภาวะน้ำหนักคงค้างหลังคลอดมากกว่าปกติในมารดาที่มีบุตรคนแรกเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อ ภาวะสุขภาพของมารดาอย่างต่อเนื่อง การกำกับตนเองให้มีน้ำหนักคงค้างอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ </p> <p><strong>วัตถุประสงค์ของการวิจัย</strong> เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของน้ำหนักคงค้างในกลุ่มทดลองก่อนและ หลังได้รับโปรแกรม และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของน้ำหนักคงค้างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรม </p> <p><strong>การออกแบบการวิจัย</strong> การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง </p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่มีบุตรคนแรก ณ ช่วงเวลา 4 เดือนหลังคลอดที่พาบุตร มารับวัคซีนที่คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 52 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ คัดเข้าที่กำหนดไว้ แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตาม ปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ วิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการกำกับตนเอง 8 สัปดาห์ 2) คู่มือการกำกับตนเอง 3) โปรแกรมจำลองรูปร่างและใบหน้าของสตรี และ 4) เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามประวัติทางสูติศาสตร์และ 3) สมุดบันทึกน้ำหนักคงค้างหลังคลอดและ พฤติกรรมสุขภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มควบคุมก่อนตามด้วยกลุ่มทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา การทดสอบทีอิสระและการทดสอบทีคู่ </p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักคงค้างหลังคลอดในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการกำกับตนเอง น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.594, p =.001) และค่าเฉลี่ยของน้ำหนักคงค้าง หลังคลอดของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.018, p = .02) </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong> พยาบาลผดุงครรภ์สามารถนำโปรแกรมการกำกับตนเองไปใช้ในการดูแลมารดาที่มีบุตรคนแรกเพื่อควบคุมน้ำหนักคงค้างให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ควรมีการศึกษาแบบติดตามผลของโปรแกรมการกำกับตนเองในการควบคุมน้ำหนักของผู้เข้าร่วมโครงการในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป</p> กัญญาณี หนูเอียด ปิยะนุช ชูโต พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารสภาการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 253 268 10.60099/jtnmc.v39i02.267997 ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยมุสลิมโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/267475 <p><strong>บทนำ</strong> โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาอัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตได้ ผู้ป่วย จึงควรได้รับการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมควบคุมความดันโลหิต ซึ่งกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผ่านมา พบว่า ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ในระยะสั้นเท่านั้น การส่งเสริมการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วม ของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่สอดคล้องกับบริบทและวิถีชีวิตของผู้ป่วย มุสลิม เป็นกลวิธีสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมุสลิมโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น และระดับความดันโลหิตลดลงได้ </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว และ อสม. ต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยมุสลิมโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ </p> <p><strong>การออกแบบวิจัย</strong> การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังทดลอง ประยุกต์ใช้รูปแบบ การจัดการตนเองตามโปรแกรมการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง (NCD-X) ร่วมกับแนวคิดนิเวศวิทยาเชิงสังคม เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา </p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมุสลิมโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวและ อสม. เป็นเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ตรวจสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบทีคู่ และการทดสอบทีอิสระ </p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพ (M = 59.35, SD = 8.32) สูงกว่าก่อนทดลอง (M = 48.92, SD = 6.28, t = -8.299, p&lt;.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (M = 49.39, SD =6.55, t = 4.970, p&lt;.001) กลุ่มทดลองมีผลต่างค่าเฉลี่ยระดับความดันซิสโตลิก ก่อนและหลังทดลอง (M = 25.89, SD = 11.74) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 9.82, SD =16.40) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (t = 4.210, p&lt;.001) และมีผลต่างค่าเฉลี่ยระดับความดันไดแอสโตลิกก่อนและหลังทดลอง (M = 8.89, SD = 11.90) สูงกว่ากลุ่มควบคุม(M = -0.75, SD = 12.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.920, p = .005) </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong> บุคลากรทีมสุขภาพสามารถนำโปรแกรมนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยมุสลิมในคลินิก โรคเรื้อรังที่มีบริบทคล้ายกันเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและติดตามระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องได้</p> คอรีเย๊าะ เลาะปนสา ณัฎฐณิชา เจ๊ะเลาะ กฤษณะ สุวรรณภูมิ Copyright (c) 2024 วารสารสภาการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 269 285 10.60099/jtnmc.v39i02.267475 ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรสาคร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/267449 <p><strong>บทนำ </strong>เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การสร้างเสริมสุขภาพผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ เป็นแนวทางหนึ่งในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างต่อเนื่อง </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน </p> <p><strong>การออกแบบวิจัย </strong>การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง ประยุกต์ทฤษฎี การสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์เป็นกรอบแนวคิดของการศึกษา </p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 ราย มีระดับน้ำตาล เฉลี่ยสะสมในเลือดมากกว่า 7% ในรอบ 3 เดือน ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาครระหว่าง เดือนตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2563 เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า ดังนี้ 1) อาศัยอยู่ในเขตตำบลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 2) มีสติสัมปชัญญะ สื่อสารโดยอ่านและเขียนภาษาไทยได้ดี 3) มีหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ และสามารถใช้สมาร์ทโฟนได้ และ 4) ยินดีเข้าร่วมการวิจัย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยอ้างอิงจากเครซี่และมอร์แกน จัดตัวอย่าง แบบเจาะจงเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ 12 สัปดาห์ เป็นโปรแกรมรายกลุ่ม มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .85 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านการตรวจสอบ ความเที่ยงในผู้ที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 เก็บรวบรวมข้อมูลใน เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการ สร้างเสริมสุขภาพแบบกลุ่ม 12 สัปดาห์และการดูแลแบบปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐานและสถิติอ้างอิงได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบทีคู่ การทดสอบทีอิสระ การทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู และการทดสอบวิลคอกซัน </p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong>ตัวอย่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีลักษณะส่วนบุคคลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นระยะเวลาการเป็นเบาหวานโดยกลุ่มควบคุมมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 3 ปีในขณะที่กลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 5 ปี ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านอาหารและ โภชนาการ ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการความเครียด และด้านการรับประทานยา มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -4.705, -4.794, -4.556, -3.625, -4.580, p &lt; .001) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -0.573, -0.834, -0.243, -1.939, p &gt; .05) ยกเว้นด้านการรับประทานยาที่พบว่ามี คะแนนมากกว่ากลุ่มควบคุม (Median = 4.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -2.441, p = .015) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -3.259, p = .001) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (Median = 7.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -1.761, p &gt; .05) </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong> บุคลากรทีมสุขภาพของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีบริบทใกล้เคียงกับการศึกษาครั้งนี้ สามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการดูแลตามปกติในการติดตามและสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้</p> อนงค์รักษ์ พิมภาวะ รัตนา ช้อนทอง นงนุช ศิริรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารสภาการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 286 297 10.60099/jtnmc.v39i02.267449 การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/269039 <p><strong>บทนำ</strong> ปัญหาสารเสพติดส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน การบำบัด ฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยครอบครัวและชุมชนเป็นฐานเป็นการแก้ปัญหายาเสพติดที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัว และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยยึดผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหา อันจะส่งผลให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและทีมสุขภาพที่บำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติด เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน </p> <p><strong>การออกแบบวิจัย</strong> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งสิ้น 4 ระยะ ในการศึกษาครั้งนี้นำเสนอ ระยะที่ 1 และ 2 </p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย </strong>การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน ระยะที่ 1 ศึกษาการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและทีมสุขภาพที่บำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบำบัดฟื้นฟู ผู้ใช้สารเสพติดโดยครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน และประเมินผลรูปแบบเดิม โดยดำเนินการใน 2 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยสารเสพติด โดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน และ 2) ประเมินผลรูปแบบเดิมในการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติด ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วย สารเสพติดโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน เครือข่ายจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้กระบวนการสร้างความรู้ สร้างแนวทาง การพัฒนาและสร้างแนวทางปฏิบัติ เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน มกราคม-เมษายน 2567 โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน และแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด มัธยฐาน ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา </p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong>กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพและทีมสุขภาพที่บำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดมีการรับรู้ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดใช้ชุมชนเป็นฐานในระดับมาก ทั้งในด้านความรู้และทักษะ ด้านบทบาทและความรับผิดชอบ ด้านโครงสร้าง ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการบริหารจัดการ ในการประเมินผลรูปแบบเดิมที่มีอยู่ในการบำบัดและฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน พบว่าโอกาสพัฒนาคือระบบฐานข้อมูล การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน และ การประสานงานที่ชัดเจน นำสู่การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน มี 5 ด้าน คือ 1) การพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพและทีมสหวิชาชีพในการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดในชุมชน 2) ระบบพี่เลี้ยง 3) กระบวนการบำบัด 4) การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน และ 5) กระบวนการติดตาม/เยี่ยมเสริมพลัง </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong> พยาบาลและทีมสุขภาพสามารถนำรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยครอบครัวและชุมชน เป็นฐานที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในชุมชนและศึกษาประสิทธิผลของการใช้การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยครอบครัว และชุมชนเป็นฐานในการศึกษาครั้งต่อไป</p> เพ็ญศรี ขำฤทธิ์ สุภาภรณ์ นากลาง ธนพัฒน์ สุขเกษม Copyright (c) 2024 วารสารสภาการพยาบาล http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24 39 02 298 311 10.60099/jtnmc.v39i02.269039