Patency and Pregnancy Rates of Microscopic Vasectomy Reversal using a Continuous One-layer Technique

Authors

  • Niwat Lukkanawong Division of Urology, Department of Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Thailand
  • Teerapon Amornvesukit Division of Urology, Department of Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Thailand

Keywords:

microscopic vasectomy reversal, continuous one-layer technique, patency rate, pregnancy rate, การผ่าตัดต่อหมันชายโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์, การเย็บท่อนำอสุจิโดยวิธีเย็บต่อเนื่องชั้นเดียว, อัตราการเปิดโล่งของท่อนำอสุจิ, อัตราการตั้งครรภ์

Abstract

Objective: To evaluate the patency and pregnancy rates of microscopic vasectomy reversal using a continuous one-layer technique.
Material and Methods: We undertook a retrospective analysis of 43 patients who underwent a microscopic continuous one-layer vasectomy reversal performed by a single surgeon between 2005 and 2012. Patency and pregnancy rates were calculated as a percentage. The comparison of patency and pregnancy rates with preoperative, intraoperative, and postoperative factors was analyzed statistically using Fisher’s exact test and t test, with p <0.05 indicating statistical significance.
Results: The patency rate was 93% and the pregnancy rate was 43.2%. Patient and partner age were 44.6 + 6.5 and 32.8 + 5.0 years, respectively. Mean time interval since vasectomy was 129.8 + 78.6 months. Mean operative time was 133.5 + 21.7 minutes. Complications were wound infection 4.7% and late vasal stricture 7%.
Conclusion: Microscopic vasectomy reversal using a continuous one-layer technique provides acceptable outcomes. The patency and pregnancy rates are comparable with other studies. This technique seems to be a promising option for vasectomy reversal.

 

อัตราการเปิดโล่งของท่อนำอสุจิ และอัตราการตั้งครรภ์ของวิธีการผ่าตัดต่อหมันชาย โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ร่วมกับการเย็บท่อนำอสุจิโดยวิธีเย็บต่อเนื่องชั้นเดียว
นิวัฒน์ ลักขณาวงศ์, ธีระพล อมรเวชสุกิจ
สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาอัตราการเปิดโล่งของท่อนำอสุจิและอัตราการตั้งครรภ์ของวิธีการผ่าตัดต่อหมันชายโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ร่วมกับการเย็บท่อนำอสุจิโดยวิธีเย็บต่อเนื่องชั้นเดียว
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วย 43 ราย ซึ่งได้รับการผ่าตัดต่อหมันชาย โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ร่วมกับการเย็บท่อนำอสุจิโดยวิธีการเย็บต่อเนื่องชั้นเดียว โดยศัลยแพทย์ท่านเดียว ระหว่าง พ.ศ. 2548 ถึง 2555 โดยศึกษาอัตราการเปิดโล่งของท่อนำอสุจิ และอัตราการตั้งครรภ์ คำนวณเป็นอัตราร้อยละและเปรียบเทียบอัตราการเปิดโล่งของท่อนำอสุจิ และอัตราการตั้งครรภ์ กับปัจจัยก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัด โดยวิเคราะห์โดยวิธี Fisher’s exact test and t test กำหนด p <0.05 มีความสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา: อัตราการเปิดโล่งของท่อนำอสุจิร้อยละ 93 อัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 43.2 อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยและภรรยาคือ 44.6 + 6.5 และ 32.8 + 5.0 ปี ตามลำดับ เวลาเฉลี่ยตั้งแต่ทำหมันถึงวันที่ผ่าตัดต่อหมัน 129.8 + 78.6 เดือน เวลาในการผ่าตัดเฉลี่ย 133.5 + 21.7 นาที ภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ แผลติดเชื้อ ร้อยละ 4.7 การตีบตันของท่อนำอสุจิหลังการผ่าตัด ร้อยละ 7
สรุป: วิธีการผ่าตัดต่อหมันชายโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ร่วมกับการเย็บท่อนำอสุจิโดยวิธีเย็บต่อเนื่องชั้นเดียวให้ผลที่น่าพอใจ โดยอัตราการเปิดโล่งของท่อนำอสุจิและอัตราการตั้งครรภ์เทียบเคียงได้กับการศึกษาอื่น และเทคนิคการผ่าตัดนี้สามารถเป็นอีกทางเลือกในการผ่าตัดต่อหมันชาย

Downloads

Published

2015-12-01

How to Cite

Lukkanawong, N., & Amornvesukit, T. (2015). Patency and Pregnancy Rates of Microscopic Vasectomy Reversal using a Continuous One-layer Technique. Insight Urology, 36(2), 26–32. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article/view/63015

Issue

Section

Original article