@article{พลทิพย์_2020, title={การเลี่ยงคำและการใช้วิธีคำเลี่ยงในการสื่อสารกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี}, volume={33}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/246151}, DOI={10.14456/taj.2021.1}, abstractNote={<p>          การติดเชื้อเอชไอวีเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ส่งผลใหเ้กิดความเปราะบางในการปรับตัว บุคลากรทางสาธารณสุขจึงต้องมีทักษะการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจและไว้วางใจของผู้ติดเชื้อ การใช้คำเลี่ยงเป็นลักษณะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อลดความรุนแรงของคำที่สามารถนำมาใช้กับกลุ่มผู้ติดเชื้อ จากการวิเคราะห์คำที่ปรากฏในสื่อออนไลน์ Twitter ที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2563 เพื่อศึกษาการใช้คำเลี่ยงและตัวอย่างคำเลี่ยงของกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี พบว่า มีคำเลี่ยงที่ใช้ทดแทนคำทั่วไปที่ใช้ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 5 กลุ่มคำ คือ 1) เชื้อเอชไอวี เช่น +, H, H+ 2) การติดเชื้อเอชไอวี เช่น ชีวิตติด+, ชีวิตคิดบวก, Positive thinking 3) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เช่น ครอบครัวตัว H, ผู้ใช้ชีวิตร่วมกับ H 4) ผู้รับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี เช่น ทีมสามทุ่ม, ทีมสี่ทุ่ม, ชีวิตติดทีเวียร์ และ 5) ยาต้านเอชไอวี เช่น วิตามิน, ขนม โดยมีข้อเสนอแนะในการใช้เทคนิคการเลี่ยงคำ เพื่อลดความรุนแรงของคำในการสื่อสารและแสดงถึงความเข้าใจ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยการประเมินความต้องการในการสื่อสารของผู้ติดเชื้อเอชไอวี สร้างข้อตกลงร่วมกันกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีเกี่ยวกับวิธีการใช้คำเลี่ยงและคำเลี่ยงที่จะใช้ในการสื่อสาร ศึกษาตัวอย่างคำเลี่ยงที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้ติดเชื้อ และใช้เทคนิคหรือวิธีการอื่นในการสื่อสารร่วมด้วย ทั้งนี้บุคลากรทางสาธารณสุขควรพัฒนาตนเอง ในด้านทักษะการติดต่อสื่อสารให้เกิดการใช้ภาษาในการสื่อสารทางสุขภาพอย่างสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบอย่างต่อเนื่อง</p>}, number={1}, journal={วารสารโรคเอดส์}, author={พลทิพย์ กิตติพงษ์}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={1–8} }