@article{กลัดพ่วง_ยุงไธสง_กมลวัทน์_2021, title={อัตราความชุกการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในโรงพยาบาลขนาดใหญ่จากการตรวจด้วยวิธี Interferon-Gamma Release Assay (IGRA)}, volume={33}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/248082}, DOI={10.14456/10.14456/taj.2021.3}, abstractNote={<p>          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Cross-sectional study) ด้วยการสำรวจเพื่อประเมินอัตราความชุกของการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (Latent tuberculosis infection: LTBI) ในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในบริบทของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ระดับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป (รพศ. และรพท.) 24 แห่งทั่วประเทศ จำนวน 2 ครั้ง รวมทั้งเพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง และศึกษาอัตราอุบัติการณ์การติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในระยะ 1 ปี (Incidence) ระหว่างการสำรวจครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 การทดสอบหาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงใช้การตรวจหาระดับสาร Interferon-gamma ด้วยวิธี Interferon-Gamma Release Assay: IGRA (QuantiFERON-TB Gold Plus)</p> <p>          การสำรวจครั้งแรกดำเนินการในบุคลากรจำนวน 911 ราย ให้ผลบวก (Positive) 238 ราย อัตราความชุกการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง คิดเป็นร้อยละ 26.13 เพศชายมีอัตราการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงร้อยละ 35.24 มากกว่าเพศหญิงที่ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงร้อยละ 24.71 (P<0.01) กลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่ชันสูตร เภสัชกรและเจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ธุรการและสนับสนุน ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงร้อยละ 36.00, 41.17, 42.86, 40.00 และ 33.33 ตามลำดับ ปัจจัยอื่น ๆ ที่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระยะเวลาปฏิบัติงาน โดยบุคลากรฯ ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานมากกว่า 2 ปี มีอัตราการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (ร้อยละ 32.16) สูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ (P<0.01) และสถานที่ปฏิบัติงาน โดยแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มีอัตราการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (ร้อยละ 41.46) สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) การสำรวจครั้งที่ 2 ซึ่งกำหนดจะตรวจในกลุ่มที่ผลการตรวจครั้งแรกเป็นลบ (Negative) จำนวน 673 ราย พบว่าบุคลากรในกลุ่มนี้กลับมาตรวจซ้ำในปีถัดไป (1 ปี) จำนวน 517 ราย คิดเป็นอัตรากลับมาตรวจซ้ำร้อยละ 76.82 ผลการตรวจซ้ำพบว่ามีผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (converter) 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.96 พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงใหม่ (Recent infection) ร้อยละ 7.26 บุคลากรฯ ในแผนกผู้ป่วยนอก (OPD), อุบัติเหตุและฉุกเฉิน, ผู้ป่วยหนัก (ICU) มีอัตราอุบัติการณ์ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงร้อยละ 13.33, 11.90 และ 7.78 ตามลำดับ</p> <p>          ดังนั้นสถานพยาบาลต้องมีมาตรการในการดำเนินงานป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล และสนับสนุนให้มีการตรวจร่างกายประจำปีเพื่อเฝ้าระวังและค้นหาการป่วยเป็นวัณโรค</p> <p> </p>}, number={1}, journal={วารสารโรคเอดส์}, author={กลัดพ่วง บุญเชิด and ยุงไธสง ชำนาญ and กมลวัทน์ ผลิน}, year={2021}, month={มี.ค.}, pages={21–35} }