TY - JOUR AU - มากกุญชร, จุฑามาศ AU - แก้วดำเกิง, นุชนารถ AU - ภิยโยทัย, สิริพร AU - ชัยเจริญ, ศิริกูล AU - ใจงาม, เบญจมาศ AU - มุกลีมาศ, ภัทร์ศยา AU - เขียนวารี, เกศินี PY - 2022/01/21 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลการพัฒนากระบวนการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มผู้มีเชื้อเอชไอวี JF - วารสารโรคเอดส์ JA - Thai AIDS Journal VL - 34 IS - 1 SE - บทความพิเศษ DO - 10.14456/taj.2022.1 UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/251863 SP - 1-19 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้มีเชื้อเอชไอวี และสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 13 คน รวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถาม และศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 22 คน ได้แก่ ผู้มีเชื้อเอชไอวี จำนวน 13 คนที่เป็นกลุ่มเดิม และทีมวิทยากรกระบวนการฯ จำนวน 9 คน รวบรวมข้อมูลจากการบันทึกกิจกรรมตามทักษะที่ได้เรียนรู้ของผู้มีเชื้อเอชไอวี และสนทนากลุ่มย่อย ทีมวิทยากรกระบวนการฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปร ด้วยสถิติ paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า หลังการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการเรียนรู้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) แสดงให้เห็นว่ากระบวนการนี้มีประสิทธิผลในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มผู้มีเชื้อเอชไอวี สอดคล้องกับความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างว่ากระบวนการนี้มีประโยชน์และนำไปใช้ได้จริง อาจปรับใช้เนื้อหาตามความเหมาะสม การจัดการเวลา การเตรียมตัวของทีมวิทยากร และการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ร่วมกัน ในส่วนของพฤติกรรมการรักษาเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเร็วและต่อเนื่องก่อนและหลังไม่แตกต่างกัน เนื่องจากกลุ่มผู้มีเชื้อเอชไอวีมีพฤติกรรมที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้น กระบวนการนี้จึงควรมีการสร้างเสริมความรอบรู้ในระดับบุคคลอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และครบถ้วนทุกทักษะ รวมถึงการพัฒนาปัจจัยเชิงระบบ เช่น นโยบาย สื่อความรู้ ช่องทางการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น และควรมีการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมในระยะยาว</p> ER -