วารสารโรคเอดส์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal <p> วารสารโรคเอดส์ เป็นวารสารทางวิชาการ จัดทำและเผยแพร่โดยกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค และโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เป็นแหล่งความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริการประชาชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค และโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี โดยรับตีพิมพ์บทความประเภท นิพนธ์ต้นฉบับ รายงานผลการปฏิบัติงาน บทความฟื้นวิชา รายงานผู้ป่วย กรณีศึกษา และบทความพิเศษ โดยวารสารโรคเอดส์ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใด ๆ จากผู้เขียนในทุกขั้นตอน<span class="Y2IQFc" lang="th"><br /></span><strong>กำหนดเผยแพร่</strong><br />ฉบับที่ 1 : เดือนมกราคม - เดือนเมษายน<br />ฉบับที่ 2 : เดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 : เดือนกันยายน - เดือนธันวาคม<br /><strong>ISSN</strong> 0857-8575 (Print) ยกเลิกการพิมพ์ ปี พ.ศ. 2563<br /><strong>ISSN</strong> 2985-0371 (Online) เริ่มใช้งาน 25 พ.ค. 2566</p> <p> สำหรับผู้ที่สนใจเป็นสมาชิกและส่งบทความ ในระบบ ThaiJO วารสารโรคเอดส์ สามารถศึกษาข้อมูลได้ผ่านลิงค์ด้านล่าง<br /><a title="ขั้นตอนการสมัครสมาชิกวารสารโรคเอดส์" href="https://drive.google.com/file/d/1rSUeCbjNuIMKKXqvzyL4OMni58yeu-e7/view?usp=sharing">ขั้นตอนการสมัครสมาชิกวารสารโรคเอดส์</a><br /><a title="ขั้นตอนการส่งบทความ" href="https://drive.google.com/file/d/10A0wY7vhcSmV2n0tErElXvyvpMb9OjZJ/view?usp=sharing">ขั้นตอนการส่งบทความ</a><br />และสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ <strong>Information</strong> และ <strong>คู่มือการใช้งานระบบ </strong><strong>ThaiJO </strong>บนหน้าเว็บไซต์</p> <p> </p> Division of AIDS and STIs, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. th-TH วารสารโรคเอดส์ 2985-0371 การพัฒนาระบบส่งยาต้านไวรัสเอชไอวีในประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/263201 <p>ประเทศไทยโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เริ่มต้นจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 เป็นต้นมา โดยให้การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ฟรีทุกราย การบริหารจัดการยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นบทบาทสำคัญ แต่เริ่มแรกดำเนินโครงการจัดส่งยาฯ โดยกรมควบคุมโรคเป็นผู้บริหารจัดการจัดหายาส่งไปที่คลังสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตที่ 1-12 และกองควบคุมโรคเอดส์ และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีปริมาณผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เข้ารับบริการเพิ่มมากขึ้นและต้องรับประทานยาต่อเนื่องตลอดชีวิตทำให้เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นกับผู้จัดส่งยาทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในระดับเขตโดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตเป็นผู้จัดส่งนั้น กรมควบคุมโรคจึงได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการยาต้านไวรัสเอชไอวีคู่ขนานเพื่อบริหารจัดการยาที่ผลิตและจำหน่ายโดยองค์การเภสัชกรรมด้วยระบบการส่งยาตรงจากผู้ผลิต/ผู้ขายถึงโรงพยาบาล โดยผู้ผลิต/ผู้ขายเป็นผู้บริหารระบบ เรียกว่า vendor managed inventory system (VMI) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นระบบนำร่องก่อนที่จะใช้กับยาชนิดอื่นๆ ตามมา โดยโรงพยาบาลรายงานปริมาณยาเข้าสู่ระบบ VMI ผ่านระบบออนไลน์ทุกเดือนและเมื่อระดับยาอยู่ในระดับที่ตกลงกับกรมควบคุมโรคและองค์การเภสัชกรรมว่าเป็นระดับยาต่ำสุด องค์การเภสัชกรรมจึงส่งยาเติมเต็มให้ถึงระดับปลอดภัย (ที่ตกลงกันไว้) ภายใน 7 วันทำการ ส่วนยาที่จำหน่าย/นำเข้าจากต่างประเทศจากบริษัทยาอื่น ๆ ใช้การบริหารด้วยระบบจากส่วนกลางไปสู่เขตและโรงพยาบาล การใช้ระบบการบริหารจัดการยาต้านไวรัสเอชไอวีทั้ง 2 ระบบ ควบคู่กันนี้ทำหน้าที่เสริมกันเพื่อให้การบริหารจัดการยาต้านไวรัสเอชไอวีของประเทศไทยมียาถึงโรงพยาบาลให้บริการแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ไม่ขาดการรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง</p> ธิดาพร จิรวัฒนะไพศาล Copyright (c) 2024 วารสารโรคเอดส์ 2024-04-30 2024-04-30 36 1 49 56 10.14456/taj.2024.5 อุปสรรคการเข้ารับบริการทันตกรรมและสภาวะโรคฟันผุของผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/265969 <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวางเพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการเข้าถึงบริการทันตกรรม และศึกษาสภาวะฟันผุรวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุของผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีในโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งในภาคใต้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบเอง และการตรวจช่องปากเพื่อตรวจประเมินค่าดัชนีฟันผุ ถอน อุด ผลการศึกษาพบกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง 77 คน (ร้อยละ 51.0) อายุเฉลี่ย 44.0 ปี มีค่าดัชนีฟันผุ ถอน อุด 7.8 ซี่/คน โดยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมามีผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีไม่ได้มารับบริการทันตกรรมถึงร้อยละ 67.5 โดยพบปัญหาหรืออุปสรรคในการเข้าถึงบริการทันตกรรม ได้แก่ ต้องนั่งรอคิวนานเป็นลำดับท้าย (ร้อยละ 45.7) ต้องนัดวันรับบริการใหม่ (ร้อยละ 17.8) กลัวการทำฟัน (ร้อยละ 17.2) และเคยถูกปฏิเสธให้การรักษาหรือถูกส่งต่อ (ร้อยละ 13.9) และจากการศึกษาถึงปัจจัยที่มีความแตกต่างของการเกิดฟันผุในกลุ่มผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี พบปัจจัยที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ได้แก่ เพศหญิง อายุมากกว่า 35 ปี ค่าระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ต่ำกว่า 500 cell/mm<sup>3 </sup>การแปรงฟันก่อนนอน การใช้น้ำยาบ้วนปาก และระดับความรู้ในการดูแลช่องปาก โรคฟันผุและการไม่ได้เข้ารับบริการทันตกรรมเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่สำคัญของผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี โดยปัญหาที่เกิดจากการให้บริการที่สะท้อนมาควรได้รับการปรับปรุงเพื่อลดการถูกตีตราและเลือกปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ทันตกรรม และการให้ความรู้ในการดูแลช่องปากแก่ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีเป็นสิ่งสำคัญและควรเกิดขึ้นในทุกหน่วยบริการ</p> วุฒิชัย ข้ามเจ็ด Copyright (c) 2024 วารสารโรคเอดส์ 2024-04-30 2024-04-30 36 1 1 11 10.14456/taj.2024.1 การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคซิฟิลิสในกลุ่มประชากรชาวต่างชาติของโรงพยาบาลแม่สอด ปีงบประมาณ 2563-2565 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/266678 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุเพื่อศึกษาขั้นการรายงานโรค ประเมินคุณลักษณะเชิงปริมาณ คุณลักษณะเชิงคุณภาพ และให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรค โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคซิฟิลิสในกลุ่มประชากรต่างชาติ จำนวน 231 ราย นำมาเปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคซิฟิลิสในกลุ่มประชากรต่างชาติในระบบรายงาน 506 จำนวน 65 ราย ผลการศึกษาศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณ พบว่า ค่าความไว ร้อยละ 28.13 ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 100 ความทันเวลาในการส่งรายงานภายใน 1-3 วัน ร้อยละ 95.38 ความถูกต้องของการรายงานอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ความเป็นตัวแทน พบว่าระบบรายงาน 506 ไม่สามารถเป็นตัวแทนได้ เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนของจำนวนผู้ป่วยและอาชีพ สำหรับคุณลักษณะเชิงคุณภาพพบว่า ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่า ระบบเฝ้าระวังโรคนี้ค่อนข้างยุ่งยาก แต่มีความยืดหยุ่นสูง มีความมั่นคง ได้รับการยอมรับ และมีการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้น ควรมีการปรับปรุงระบบรายงานอย่างเร่งด่วน โดยประชุมชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังโรคซิฟิลิสในกลุ่มประชากรต่างชาติ รวมถึงควรมีการปรับปรุงการบันทึกข้อมูลในระบบรายงาน 506 และระบบสารสนเทศ Phramongkut Software (PMK) ให้สามารถใช้งานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น</p> สุนารี แซ่ว้าน ฟารีดา จรัสพงศ์นารี Copyright (c) 2024 วารสารโรคเอดส์ 2024-04-30 2024-04-30 36 1 12 22 10.14456/taj.2024.2 สภาพปัญหาของการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในเขตสุขภาพที่ 8: การประยุกต์ใช้โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/267759 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบโมเดลสภาพปัญหาของการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในเขตสุขภาพที่ 8 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 จำนวน 400 คน ด้วยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (X<sup>2</sup>/df) มีค่าเท่ากับ 1.97 ค่า GFI เท่ากับ 0.94 ค่า AGFI เท่ากับ 0.91 ค่า CFI เท่ากับ 0.99 ค่า SRMR เท่ากับ 0.039 และ ค่า RMSEA เท่ากับ 0.049 โดยสภาพปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในเขตสุขภาพที่ 8 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ โดยเรียงความสำคัญตามน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานจากมากไปหาน้อย ดังนี้ (1) ความสามารถทางการเงินของผู้รับบริการ (2) คุณภาพของบริการ (3) ความพอเพียงของแหล่งบริการ (4) สิ่งอำนวยความสะดวกของแหล่งบริการ (5) ความสามารถการเข้าถึงแหล่งบริการ และ (6) ทัศนคติของผู้รับบริการ</p> ภรกต สูฝน ศุภกฤต ปิติพัฒน์ ประภาพร สุปัญญา Copyright (c) 2024 วารสารโรคเอดส์ 2024-04-30 2024-04-30 36 1 23 37 10.14456/taj.2024.3 ผลของโปรแกรมแรงจูงใจในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชายอาชีวศึกษา ชั้นปีที่ 2 กรุงเทพมหานคร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/267664 <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมแรงจูงใจในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 68 คน จากวิทยาลัยอาชีวศึกษา 2 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 34 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยจัดกิจกรรมผสมผสานทั้งในห้องเรียนและผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนตามปกติ เก็บข้อมูลก่อน-หลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 8 โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square, Paired Samples t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความรุนแรงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับรู้ประสิทธิภาพต่อการตอบสนองในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และความตั้งใจที่จะป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ดังนั้น โปรแกรมนี้ จึงสามารถนำไปสอดแทรกไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเพศศึกษาของสถานศึกษาได้ รวมถึงนำไปประยุกต์กับกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ เช่น ชายรักชาย เป็นต้น</p> ธนพงษ์ เทศนิยม ศรัณญา เบญจกุล มณฑา เก่งการพานิช Copyright (c) 2024 วารสารโรคเอดส์ 2024-04-30 2024-04-30 36 1 38 48 10.14456/taj.2024.4