วารสารโรคเอดส์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal <p> วารสารโรคเอดส์ เป็นวารสารทางวิชาการ จัดทำและเผยแพร่โดยกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค และโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เป็นแหล่งความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริการประชาชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค และโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี โดยรับตีพิมพ์บทความประเภท นิพนธ์ต้นฉบับ รายงานผลการปฏิบัติงาน บทความฟื้นวิชา รายงานผู้ป่วย กรณีศึกษา และบทความพิเศษ โดยวารสารโรคเอดส์ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใด ๆ จากผู้เขียนในทุกขั้นตอน<span class="Y2IQFc" lang="th"><br /></span><strong>กำหนดเผยแพร่</strong><br />ฉบับที่ 1 : เดือนมกราคม - เดือนเมษายน<br />ฉบับที่ 2 : เดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 : เดือนกันยายน - เดือนธันวาคม<br /><strong>ISSN</strong> 0857-8575 (Print) ยกเลิกการพิมพ์ ปี พ.ศ. 2563<br /><strong>ISSN</strong> 2985-0371 (Online) เริ่มใช้งาน 25 พ.ค. 2566</p> <p> สำหรับผู้ที่สนใจเป็นสมาชิกและส่งบทความ ในระบบ ThaiJO วารสารโรคเอดส์ สามารถศึกษาข้อมูลได้ผ่านลิงค์ด้านล่าง<br /><a title="ขั้นตอนการสมัครสมาชิกวารสารโรคเอดส์" href="https://drive.google.com/file/d/1rSUeCbjNuIMKKXqvzyL4OMni58yeu-e7/view?usp=sharing">ขั้นตอนการสมัครสมาชิกวารสารโรคเอดส์</a><br /><a title="ขั้นตอนการส่งบทความ" href="https://drive.google.com/file/d/10A0wY7vhcSmV2n0tErElXvyvpMb9OjZJ/view?usp=sharing">ขั้นตอนการส่งบทความ</a><br />และสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ <strong>Information</strong> และ <strong>คู่มือการใช้งานระบบ </strong><strong>ThaiJO </strong>บนหน้าเว็บไซต์</p> <p> </p> th-TH aidsstijournal@gmail.com (Areeyaphorn Wonglek) aidsstijournal@gmail.com (Sarayut Inthasorn,) Sat, 30 Dec 2023 06:19:55 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีในการลดการตีตราตนเองในโรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/264015 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมลดการตีตราตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีของโรงพยาบาลอากาศอำนวย ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565-พฤษภาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่รับบริการในคลินิกยาต้านไวรัส โรงพยาบาลอากาศอำนวย จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้มีเชื้อเอชไอวี และโปรแกรมลดการตีตราตนเองของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี รวบรวมข้อมูลจากบันทึกการจัดกิจกรรมกลุ่ม บันทึกการติดตามเยี่ยมรายบุคคล การสังเกตแนวคิดและทักษะการแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจำแนกประเภท วิเคราะห์แบบอุปนัย ตีความหมาย สร้างข้อสรุป และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า paired t-test ผลการศึกษาพบว่า เมื่อประเมินการตีตราตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้รับบริการมีการ ตีตราตนเองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value &lt;0.0001 โดยการเข้าร่วมทั้ง 3 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ผลกระทบการตีตราให้ความหมายการตีตรา คือ การถูกกำหนดว่าไม่ดี ด้อยค่า ไม่เท่าคนอื่น เป็นที่รังเกียจ ความกลัวการตีตราเป็นอุปสรรคสำคัญในการเปิดเผยตนเองของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี กลยุทธ์ที่ใช้เพื่อลดปัญหาการตีตราผู้ป่วยด้วยการเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยความคิดเชิงบวก กิจกรรมที่ 2 กลุ่มตัวอย่างบอกเคยมีประสบการณ์เมื่อเจอปัญหา สามารถบอกวิธีแก้ปัญหาให้เพื่อนๆ ฟังได้ แต่มีบางปัญหาที่แก้ไม่ได้หรือแก้แล้วยังไม่ดีพอ เมื่อนำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ตารางชั่งน้ำหนักทำให้ได้แนวทางคลี่คลายปัญหา กิจกรรมที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้บอกสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ชอบที่มีในตัวเอง ผู้วิจัยได้สะท้อนความคิด ความรู้สึก และคะแนนการตีตราตนเองจากกิจกรรมที่ผ่านมา แล้วเชื่อมโยงกับสถานการณ์การเป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี นำข้อดีในตนเองที่ตอบไว้ในบัตรคำมาตั้งคำถามว่าการติดเชื้อเอชไอวีทำให้ความเป็นคนดี ความดีและคุณค่าในตัวเองของเขายังอยู่ การเป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีไม่ได้ทำลายข้อดีในตัวตนของเขาได้</p> จิรัฐติกาล สุตวณิชย์ , นิอร อริโยทัย, นาวา ผานะวงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารโรคเอดส์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/264015 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลการพัฒนาระบบการป้องกันควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบซีในเรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/265735 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ประยุกต์ใช้แนวคิดของ Kemmis และ McTaggart มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบซี (hepatitis C virus, HCV) ในเรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ และให้ผู้ต้องขังที่ติดเชื้อได้รับการรักษา ดำเนินการช่วงตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา อุปสรรคและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน (PAOR) ได้แก่ วางแผน (plan) ปฏิบัติ (act) สังเกตการณ์ (observe) และสะท้อนผลลัพธ์ (reflect) ระยะที่ 3 สรุปและประเมินผลลัพธ์ รวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสรุปประชุม เครือข่ายที่ร่วมพัฒนาประกอบด้วยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการศึกษาได้ระบบการป้องกันควบคุมโรค HCV ดังนี้ (1) คัดกรองผู้ต้องขังแรกรับด้วยแบบประเมินความเสี่ยงและการเจาะเลือด (2) การป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อ ได้แก่ การให้ความรู้แก่ผู้ต้องขังทุกคน แยกห้องขังผู้ติดเชื้อ แยกของใช้ส่วนตัว (3) การรักษาผู้ต้องขังที่ติดเชื้อ HCV และป้องกันการติดเชื้อซ้ำ และ (4) การดูแลส่งต่อและติดตามการรักษาเมื่อพ้นโทษ และผลการดำเนินงานมีการคัดกรอง 3,328 คน (ร้อยละ 100) พบผู้ที่ติดเชื้อ HCV 343 คน (ร้อยละ 10.3) ได้รับการรักษาครบตามแผนการรักษา 59 คน (ร้อยละ 17.2) ติดตามและส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษา 284 คน (ร้อยละ 82.8) การพัฒนาครั้งนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมดำเนินการทุกขั้นตอน และมีการประเมินผล การปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยระบบมีความครอบคลุมในการป้องกันและควบคุมโรค HCV สำหรับผู้ต้องขังตั้งแต่แรกรับจนถึงพ้นโทษ และคืนสู่ชุมชน ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรือนจำอื่นๆ ได้</p> พิสมัย สุระกาญจน์, ณัฐพร ลีนวิภาต, ปิยธิดา ภูตาไชย, กชธมน อุทรักษ์, ปัญจรัตน์ ปลัดชัย Copyright (c) 2023 วารสารโรคเอดส์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/265735 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2564 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/265899 <p>บทความนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรและด้านสาธารณสุขกับการติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิด ประกอบด้วย (1) ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์อายุ 15-49 ปี (2) ร้อยละของหญิงติดเชื้อซิฟิลิส (3) จำนวนปีที่เรียนหนังสือโดยเฉลี่ยของเพศหญิง และ (4) ร้อยละการตรวจคัดกรองซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์กับอัตราป่วยโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2564 วิเคราะห์และนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ตัวแบบ Generalized Estimating Equation ผลการศึกษาพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราป่วยด้วยโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด คือ ร้อยละของหญิงติดเชื้อซิฟิลิสที่เพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับอัตราป่วยโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดที่เพิ่มขึ้น (b = 1.42 95%CI = 1.245, 1.589) การศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์โรคซิฟิลิสแต่กำเนิดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ต้องสนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายฝากครรภ์เร็ว รวมทั้งติดตามคู่เพศสัมพันธ์มาตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส เพื่อให้เข้าสู่ระบบบริการได้รับการตรวจคัดกรองและรักษาโรคซิฟิลิสตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งจะช่วยลดการติดเชื้อซิฟิลิสในทารกในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> จุฑาวรรณ นิลเพ็ชร, ฉวีวรรณ บุญสุยา Copyright (c) 2023 วารสารโรคเอดส์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/265899 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การใช้กระดาษซับเลือดเพื่อตรวจเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัสด้วยวิธีที่พัฒนาขึ้นในทารกในประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/265732 <p>การป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ในเด็กทารกด้วยการใช้ยาต้านไวรัส highly active antiretroviral therapy (HAART) เป็นความท้าทายในการตรวจเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัส เนื่องจากการได้มาของเลือดเด็กทารกและข้อจำกัดในการตรวจวิเคราะห์เชื้อเอชไอวีที่ดื้อยา วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อพัฒนาและประเมินวิธีตรวจเชื้อดื้อยาที่พัฒนาขึ้นบนกระดาษซับเลือด (dried blood spot, DBS) และเพื่อเฝ้าระวังความชุกของเชื้อดื้อยาในทารกที่พึ่งติดเชื้อเอชไอวี วิธีการศึกษา นำ DBS จากทารกที่เก็บนำส่งในปี พ.ศ. 2557-2560 เพื่อส่งตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไอวีในทารกระยะเริ่มแรก ผลการศึกษา มี DBS ทั้งหมด 12,385 ตัวอย่าง และมีเพียง 111 ตัวอย่างจากเด็กทารก 69 คน ที่ให้ผลบวกต่อการตรวจเอชไอวี และต่อมาได้นำไปตรวจหาเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัสที่จำเพาะต่อยีน protease และยีน reverse transcriptase ความไวสำหรับการตรวจเชื้อเอชไอวีบนกระดาษซับเลือดวิธีนี้ คือ 2.5 copies/ปฏิกิริยา และความจำเพาะคือร้อยละ 100 อัตราความสำเร็จของการตรวจเชื้อดื้อยาบน DBS คือ ร้อยละ 79.3 (111 จาก 140 ตัวอย่าง) โดยไม่คำนึงถึงปริมาณไวรัส ความชุกของเชื้อดื้อยาในเด็กทารกพบร้อยละ 14.4 (10 จาก 69 คน) การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง T215A, T215S และ T215I เป็นตำแหน่งที่พบได้บ่อยและสัมพันธ์กับการดื้อยา zidovudine นอกจากนั้นพบการกลายพันธ์ที่ตำแหน่ง Y181C, K103N และ G190A ซึ่งสัมพันธ์กับยา non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) สายพันธุ์ของเชื้อเอชไอวีที่พบมากที่สุด คือ CRF01_AE พบร้อยละ 91.9 ข้อจำกัดของการศึกษานี้คือไม่ทราบค่าปริมาณไวรัส ผลการศึกษานี้ให้ความมั่นใจการตรวจเชื้อดื้อยาที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้กับกระดาษซับเลือดเพื่อติดตามเชื้อเอชไอวีดื้อยาในทารกในประเทศไทย การพบเชื้อกลายพันธ์ที่ดื้อต่อยา NRTI และ NNRTI ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่ใช้การป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกทั้งในทารกและมารดา การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการตรวจเชื้อดื้อยาในทารกเพื่อให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสมีประสิทธิภาพมาก</p> สิริพรรณ แสงอรุณ, ดนตร์ ช่างสม, เรืองชัย โลเกตุ, วิโรจน์ พวงทับทิม, รัชณีกร ใจซื่อ, รัตน์ระวี บุญเมือง, ปรียาพันธ์ แสงอรุณ, อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ Copyright (c) 2023 วารสารโรคเอดส์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/265732 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางการผลักดันยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่เข้าสู่ประเทศไทยและชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/264245 <p>การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ปัจจุบันรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีซึ่งต้องรับประทานต่อเนื่องตลอดชีวิตแต่เนื่องจากยาต้านเอชไอวีสูตรปัจจุบันก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีเป็นจำนวนมาก เช่น ประสาทหลอน วิตกกังวล นอนไม่หลับ ส่งผลต่อการรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง และกดเชื้อไวรัสไม่สำเร็จ องค์การอนามัยโลกแนะนำยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่ที่มีอาการข้างเคียงน้อย การกดปริมาณไวรัสมีประสิทธิภาพดี และพบอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาต่ำ แต่ยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่ที่แนะนำนี้ ในประเทศไทยมีจำหน่ายเพียงบริษัทเดียว และยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นบัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทย รวมถึงยังไม่เข้าชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนสุขภาพต่างๆ ส่งผลให้หน่วยบริการยังไม่มีการปรับเปลี่ยนสูตรยา ดังนั้นรายงานผลการปฏิบัติงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปแนวทางการบริหารจัดการผลักดันยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่เข้าสู่ประเทศไทยและชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนสุขภาพ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน ข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ได้แก่ (1) แนวทางการดำเนินงานผลักดันยาต้านเอชไอวีเข้าสู่ประเทศไทยและชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนสุขภาพ จากการประชุมคณะทำงาน (2) ข้อมูลผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายเก่าและรายใหม่ได้รับยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่ จากระบบสารสนเทศการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยเอดส์แห่งชาติ และ (3) ข้อมูลปัญหาที่พบจากการดำเนินงาน จากการประชุมติดตามความก้าวหน้า และจากการรายงานโดยบุคลากรโรงพยาบาลต่างๆ ของประเทศไทยผ่านกลุ่มแอพพลิเคชันไลน์ที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ จากการดำเนินงานส่งผลให้สามารถผลักดันยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่ขึ้นทะเบียนเป็นบัญชียาหลักแห่งชาติและอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนสุขภาพในปี พ.ศ. 2564 และผลการปรับเปลี่ยนยาสูตรใหม่ของประเทศไทย พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 พบว่า ข้อมูลการปรับเปลี่ยนสูตรยาจากสูตรเดิม efavirenz-based (EFV-based) ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายเก่า เป็นสูตรยาใหม่ dolutegravir-based (DTG-based) ร้อยละ 54.4 และร้อยละ 75.5 ตามลำดับ ส่วนในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่มีการเริ่มใช้สูตรยา DTG-based ได้ร้อยละ 89.9 และร้อยละ 94.3 ตามลำดับ และปัญหาหลักที่พบ ได้แก่ กระบวนการจัดซื้อจัดหายาต้านเอชไอวีสูตรใหม่ให้แก่หน่วยบริการ จัดหาได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ จัดหายาต้านเอชไอวีไม่สอดคล้องกับแผนการจัดซื้อยา และการจัดซื้อใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และองค์การเภสัชกรรม ควรมีการประเมินความต้องการใช้ยาสูตรใหม่ วางแผนการจัดซื้อหายาให้เพียงพอ และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง</p> ลาวัณย์ สันติชินกุล Copyright (c) 2023 วารสารโรคเอดส์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/264245 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700