Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN
<p>วารสารโภชนบำบัดเป็นวารสารของสมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ กรกฎาคม-ธันวาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ</p> <p>เผยแพร่ความรู้ด้านโภชนาการแก่บุคลากรทางสาธารณสุขที่มีความสนใจด้านโภชนาการ</p> <p>เผยแพร่ผลงานด้านวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านโภชนาการ ของแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกำหนดอาหารและนักโภชนาการ</p> <p>ส่งเสริมให้สมาชิกของสมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยมีการศึกษาต่อเนื่อง และพัฒนาองค์ความรู้ให้เป็นปัจจุบัน</p> <p> </p> <p>กระบวนการพิจารณาบทความ</p> <p>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (double-blinded review)</p>
th-TH
<p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ลงใน <em>Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด </em>ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ </p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน <em>Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด </em>ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ <em>Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด</em> หากบุคคลหรืหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก <em>Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด </em>ก่อนเท่านั้น</p>
thaijpen@gmail.com ( Narisorn Lakananurak)
spentcenter@gmail.com (Kanok-on Ruenpetch)
Fri, 27 Dec 2024 11:08:01 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการลดน้ำหนักสำเร็จของผู้ป่วยโรคอ้วน ณ คลินิกโรคอ้วน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/267746
<p>การลดน้ำหนักสำเร็จสามารถลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรคอ้วนได้เป็นการศึกษารูปแบบ case-control study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการลดน้ำหนักสำเร็จของผู้ป่วยโรคอ้วน ณ คลินิกโรคอ้วน โรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วงระหว่างวันที่1 มกราคม 2562 -1 มกราคม 2566 คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 260 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ลดน้ำหนักสำเร็จ (case) 130 คน และกลุ่มที่ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ (control) 130 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธี systematic sampling วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย bivariable analysis และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการลดน้ำหนักสำเร็จโดยควบคุมอิทธิพลหลายปัจจัย ด้วย multiple logistic regression ผลการศึกษา พบว่า อัตราการตอบกลับแบบสอบถามของ case และ control ร้อยละ 100 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการลดน้ำหนักสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value < 0.05) โดยควบคุมอิทธิพลหลายปัจจัย พบ 4 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (AOR = 3.959, 95%CI: 1.340 – 11.695) ความถี่ในการออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ขึ้นไป (AOR = 3.464, 95%CI: 1.201 – 9.997) การใช้เวลารับประทานมื้ออาหารอย่างช้า ๆ มากกว่า 20 นาที/มื้อ (AOR = 3.811, 95%CI: 1.020 – 14.247) และการไม่ดื่มน้ำหวาน/น้ำปั่นหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล (AOR = 4.354, 95%CI: 1.695 – 11.184) บุคลากรทางการแพทย์ควรมีการคัดกรองภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความตระหนักในการลดน้ำหนัก ควรมีการแนะนำความถี่ในการออกกำลังกาย รับประทานอาหารให้นานขึ้นและลดการดื่มน้ำหวาน/น้ำปั่นหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล</p>
ธีรวัฒน์ ขันหนองโพธิ์, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์, บังอรศรี จินดาวงค์, วีระเดช พิศประเสริฐ, ราณี วงศ์คงเดช
Copyright (c) 2024 Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/267746
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ผลของการใช้แป้งกล้วยหอมทองดิบทดแทนแป้งมันสำปะหลังในไข่มุก ต่อระดับน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดี
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/267379
<p>ชานมไข่มุกเป็นเครื่องดื่มที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย โดยน้ำตาลและไขมันที่สูงจากเครื่องดื่มดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การดัดแปลงเม็ดไข่มุกด้วยแป้งกล้วยดิบเป็นทางเลือกสำหรับป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแป้งกล้วยดิบต่อการตอบสนองของน้ำตาลในเลือดและการยอมรับทางประสาทสัมผัส การทดลองแบบสุ่มปกปิดทางเดียวในอาสาสมัครสุขภาพดี 22 คน วัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังรับประทานชานมไข่มุกจากแป้งกล้วยดิบ (กลุ่มทดลอง 11 คน) และแป้งมันสำปะหลัง (กลุ่มควบคุม 11 คน) ทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสจากชานมไข่มุกแต่ละสูตร วิเคราะห์ความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทาน 2 ชั่วโมง ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) และความแตกต่าง การยอมรับทางประสาทสัมผัสด้วย independent sample t-test ค่าเฉลี่ยความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือด หลังรับประทาน 2 ชั่วโมงในกลุ่มทดลอง (+1.8 ± 0.9 mg/dL) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (+3.42 ± 0.18 mg/dL) อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.024) การยอมรับทางด้านเนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมของแป้งมันสำปะหลังสูงกว่าแป้งกล้วยดิบ อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.002 และ p = 0.036) แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะ สี กลิ่น และรสชาติ ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นแป้งกล้วยดิบมีประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ อาสาสมัครส่วนใหญ่ยอมรับการใช้แป้งกล้วยดิบ ซึ่งนับเป็นทางเลือกในการผลิตไข่มุกสำหรับชานมไข่มุกเพื่อผู้บริโภค</p>
ทนุอุดม มณีสิงห์, กัญญารัตน์ อริยตระกูลชัย, พิริยะพงศ์ แสงปิน, อภิญญา สุวรรณแพร่
Copyright (c) 2024 Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/267379
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
แบบแผนการบริโภคอาหารกับโรคอัลไซเมอร์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/268899
<p>อุบัติการณ์ของโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โรคอัลไซเมอร์ก่อให้เกิดปัญหามากมาย ทั้งต่อตัวผู้ป่วย ผู้ดูแลและสังคม ผลของการรักษาของโรคในปัจจุบันยังได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีมากนัก ดังนั้น การป้องกันและการชะลอการเกิดโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญ หนึ่งในสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ คือ กระบวนการอักเสบและสารอนุมูลอิสระที่ไปทำลายเซลล์สมอง จึงเป็นที่มาว่า สารอาหารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและสารอนุมูลอิสระ ได้แก่ กรดไขมันโอเมก้า-3 สารประกอบโพลีฟีนอล วิตามินและเกลือแร่ น่าจะสามารถป้องกันและชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้</p> <p>Mediterranean (MED) diet, Dietary Approaches to Stop Hypertension (DASH) diet และ Mediterranean-DASH Intervention for Neurodegenerative Delay (MIND) diet เป็นแบบแผนการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของสารข้างต้นปริมาณมาก แบบแผนการบริโภคอาหารเหล่านี้เน้นที่การบริโภคธัญพืช ผัก ผลไม้ ปลา หลีกเลี่ยงเนื้อแดง อาหารแปรรูป เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล แป้งขัดขาวและขนมหวาน มีการศึกษาพบว่าการรับประทานแบบแผนการบริโภคอาหารเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยป้องกันและชะลอโรคสมองเสื่อมได้ ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ใหญ่เริ่มรับประทาน MED diet, DASH diet และ MIND diet อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ช่วงวัยกลางคนเพื่อป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์</p>
กนกกาญจน์ ชูพิศาลยโรจน์
Copyright (c) 2024 Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/268899
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/266237
<p>โรคทางระบบประสาทและสมอง (Nervous system disease) คือ โรคที่เกิดความผิดปกติที่ระบบประสาทและสมอง ตั้งแต่ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง ไขสันหลัง และเซลล์ประสาท จนถึงระบบประสาทส่วนปลาย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ และรับการตอบสนองจากสิ่งเร้าจากภายนอก ระบบประสาทมีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายให้สอดคล้องกัน รับและประมวลข้อมูลที่ได้จากประสาทสัมผัสต่างๆแล้วสร้างคำสั่งให้มนุษย์เกิดการเคลื่อนไหว มีความคิด และอารมณ์ ดังนั้นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติที่ระบบประสาทและสมอง สามารถส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทุพโภชนาการหรือเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะทุพโภชนากรได้จากหลายปัจจัย ทั้งความผิดปกติของการกลืน การรับรสที่เปลี่ยนแปลงไป ระดับการรับรู้หรือความรู้สึกตัวที่ลดลง จนถึงการเพิ่มขึ้นของความต้องการพลังงานพื้นฐานของร่างกาย การตระหนักและรับรู้ถึงความเสี่ยงรวมถึงโอกาสที่จะเกิดภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วย ทำให้ผู้รักษาทำการประเมินและให้การรักษาทางโภชนบำบัดได้ทันท่วงที หรือตั้งแต่ระยะแรกของการดำเนินโรค เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน เพิ่มการตอบสนองการรักษาของตัวโรคหลัก และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตามมา</p>
วิภัทรา ไชยวิโน, สรัญชยา จันทร์ผ่องแสง
Copyright (c) 2024 Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/266237
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
รายงานผู้ป่วยเฉพาะราย ภาวะกันชนถูกฝังที่เกิดขึ้นเร็วหลังจากใส่สายให้อาหาร ทางหน้าท้อง
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/264512
<p>ภาวะกันชนถูกฝัง (buried bumper syndrome) เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังจากใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (percutaneous endoscopic gastrostomy tube) เกิดจากการที่กันชนสายให้อาหารซึ่งอยู่ด้านในกระเพาะอาหาร ถูกฝังด้วยเยื่อบุผิว และเคลื่อนที่ออกมาสู่ชั้นกล้ามเนื้อและผนังด้านนอกของชั้นกระเพาะอาหาร ภาวะแทรกซ้อนนี้อาจจะเกิดขึ้นได้หลังจากทำ สายให้อาหารทางหน้าท้องตั้งแต่ 1 เดือนเป็นต้นไป ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ ภาพถ่ายรังสี และ/หรือการส่องกล้องทางกระเพาะอาหาร</p> <p>รายงานกรณีศึกษาผู้ป่วยฉบับนี้ ได้รายงานกรณีผู้ป่วยหญิงอายุ 54 ปี ซึ่งถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งโพรงจมูกฝั่งซ้ายและได้รับการใส่สายอาหารทางหน้าท้องก่อนการฉายแสงเพื่อรักษามะเร็งที่โพรงจมูก ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ได้มีอาการปวดท้อง และหนองไหลออกจากสายให้อาหารทางหน้าท้องหลังจากใส่สายเพียง 5 วัน และได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกันชนถูกฝังซึ่งเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ การรักษาภาวะนี้ได้แก่การส่องกล้องเพื่อเอากันชนและสายออก หรือผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เพื่อนำกันชนและสายออกในผู้ป่วยรายที่มีภาวะรุนแรง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนนี้ ผู้ที่ได้รับการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องทุกคนควรได้รับคำแนะนำ ของการดูแลรักษาสายให้อาหารทางหน้าท้องอย่างถูกวิธี และรับทราบอาการของภาวะกันชนถูกฝัง เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่รวดเร็ว ซึ่งจะสามารถลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนนี้ได้</p>
พหล สโรจวิสุทธิ์, ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร, ทยา กิติยากร
Copyright (c) 2024 Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/264512
Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700