วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph <p><strong>วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน</strong></p> <p><em>Print ISSN: 2408-2686&nbsp;&nbsp;</em></p> <p><em>Online ISSN: 2730-308X</em></p> สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ th-TH วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2408-2686 ประสบการณ์การตรวจวินิจฉัยทารกก่อนคลอดโรคธาลัสซีเมียด้วยวิธี capillary electrophoresis โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/266825 <p> ธาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดจางทางพันธุกรรมที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ โดยการตรวจวินิจฉัยทารก ในครรภ์เป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินงานเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงของไทย จากการวินิจฉัยการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอในตัวอย่างเนื้อรก หรือน้ำคร่ำ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด แต่เนื่องจากการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอมีความยุ่งยาก ซับซ้อน และใช้เวลาในการตรวจนาน ซึ่งมีข้อจำกัดคู่สมรสที่มาฝากครรภ์ล่าช้า ซึ่งจะไม่ทราบชนิดของธาลัสซีเมียก่อน ดังนั้นการใช้เทคนิค capillary electrophoresis เป็นเทคนิคที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการตรวจฮีโมโกลบินแบบอัตโนมัติ อาศัยการแยกฮีโมโกลบินในสารละลายที่เป็นด่างที่ pH 9.4 ร่วมกับการใช้สารอิเลคโตรไลท์ และแยกฮีโมโกลบินแต่ละชนิดออกจากกันภายในหลอด capillary สามารถใช้วินิจฉัยได้ทั้ง α – thalassemia และ β – thalassemia บทความฉบับนี้จะนำเสนอประสบการณ์การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์โรคธาลัสซีเมียด้วยวิธี capillary electrophoresis ซึ่งการตรวจสามารถทำาได้โดยง่าย ได้ผลเร็ว มีราคาถูกกว่าการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอซึ่งค่อนข้างยุ่งยากที่มีราคาแพงและให้บริการไม่แพร่หลาย</p> จุฑารัตน์ น้อยเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 10 10 การพัฒนารูปแบบการป้องกันการขาดนัดของผู้เสพยาเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/267668 <p>การป้องกันการขาดนัดของผู้เสพสารเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีนที่ผ่านมาไม่สามารถเพิ่มอัตราคงอยู่ในระบบการบำบัด การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการขาดนัดของผู้เสพสารเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีนในโรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 46 คน ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และผู้เสพสารเสพติดที่ผ่านกระบวนการบำบัดพร้อมญาติ 26 คน และผู้เสพสารเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีน 20 คน ซึ่งคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุม และการสนทนากลุ่ม ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Ranks Test</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานการป้องกันการขาดนัดของผู้เสพสารเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีนในระยะหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากทุกด้านและเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ (<em>p</em> &lt; 0.001) และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในระดับมาก นอกจากนี้พบว่ากลุ่มผู้เสพสารเสพติดมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.001) และเข้ารับการบำบัดครบตามโปรแกรมทั้งหมด (ร้อยละ 100)</p> <p>สรุปผลการศึกษา พบว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการป้องกันการขาดนัดสำหรับผู้เสพสารเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีนครั้งนี้คือการวิเคราะห์และทบทวนปัญหาอุปสรรคของ การดำเนินงานที่ผ่านมาโดยผู้เกี่ยวข้อง และการได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชนในรูปแบบของผู้ดูแลช่วยเหลือเพื่อน ส่งผลให้ผู้เสพสารเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาตามโปรแกรม ซึ่งทำให้การดำเนินงานตามการป้องกันการขาดนัดของผู้เสพสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีนเป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม</p> อานนท์ ถุงแก้วหงส์ จตุพร เหลืองอุบล สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 19 19 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/268536 <p>การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 245 คน สุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 91.00 ความรู้เกี่ยวกับโรคมือเท้าปากอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 52.70 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปาก ได้แก่ เพศ (หญิง) อาชีพ (รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ/พนักงานบริษัท) ประสบการณ์การดูแลเด็กติดเชื้อโรคมือเท้าปาก การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และการได้รับสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติป้องกันโรค</p> <p>ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้วางแผนเพื่อส่งเสริมโปรแกรมการพัฒนาการเฝ้าระวังควบคุมโรคมือเท้าปาก โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการรับรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก ซึ่งผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง และรับรู้ผลกระทบจากโรคมือเท้าปาก</p> ศิริพร เรือนมูล สมชาย จาดศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 33 33 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น อายุระหว่าง 15-19 ปี เขตสุขภาพที่ 2 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/268898 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น อายุระหว่าง 15-19 ปี เขตสุขภาพที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่น อายุระหว่าง 15-19 ปี ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตสุขภาพที่ 2 จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจการเข้าถึงบริการอนามัย การเจริญพันธุ์ แบบสอบถามความรู้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ แบบสอบสำรวจความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษา และทักษะชีวิต ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2566 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ การถดถอยโลจิสติก</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข้อมูลการให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในโรงพยาบาล ร้อยละ 54.5 ส่วนใหญ่รับรู้ข้อมูลการให้บริการทางออนไลน์ ร้อยละ 62.8 โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในโรงพยาบาลเพียง ร้อยละ 30.7 บริการที่ใช้ตรงกับความต้องการของวัยรุ่นมากที่สุด คือ บริการให้คำปรึกษา ร้อยละ 88.1 ตรวจรักษาโรคทั่วไป ร้อยละ 35.8 และสุขภาพจิต ร้อยละ 16.4 สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ 15-16 ปี (Adjusted OR = 5.74, 95%CI = 2.54 - 12.98) P&lt;0.001 ความรู้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในระดับน้อย (Adjusted OR = 1.93, 95% CI =1.09 - 3.78) P=0.045 ดังนั้นควรมีการพัฒนารูปแบบบริการให้ตอบสนองความต้องการของวัยรุ่นทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงข้อมูลความรู้ และบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ได้ตามสิทธิภายใต้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ตั้งแต่อายุเริ่ม เข้าสู่วัยรุ่น</p> <p> </p> รัชนก ใจเชิดชู Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 45 45 - การศึกษาเพื่อคัดกรองความเสี่ยงและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/268920 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดภาวะทุพโภชนาการและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในหอผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 97 คน คัดกรองความเสี่ยงการเกิดภาวะทุพโภชนาการโดยใช้ แบบคัดกรอง STRONGkids เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยและผู้ปกครอง รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทุพโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน โดยใช้ Student t-test, Mann-Whitney U test และ Fisher’s exact</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัย พบว่า จากการคัดกรองภาวะโภชนาการ ร้อยละ 97 อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 3 อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ปัจจัยด้านผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และประวัติน้ำหนักที่ลดลง ปัจจัยจากผู้ป่วยเด็ก พบว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทุพโภชนาการคือกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งชนิดก้อน (solid tumors) และจะได้รับการเสริมวิตามินและแร่ธาตุมากกว่าในกลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยจากผู้ปกครอง พบว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ปกครองจะมีอายุน้อยกว่า 20 ปีในอัตราส่วนที่สูงกว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่เป็นผู้มีความเสี่ยงปานกลางต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ สำหรับผู้ป่วยคัดกรองแล้วพบว่ามีความเสี่ยงสูงส่วนใหญ่จะมีภาวะทุพโภชนการไปแล้ว โดยปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะทุพโภชนาการได้แก่ ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด มะเร็งชนิดก้อน และผู้ปกครองอายุน้อย</p> <p><strong> </strong></p> เจษฎาภรณ์ จันต๊ะวงค์ กุลนิภา กิตติศักดิ์มนตรี พรพิมล วัฒนาอำพร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 59 59 การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยในด้วยโรคสมองเสื่อมและ โรคอัลไซเมอร์ในประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/269171 <p>การศึกษาภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 มีการสำรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปพบความชุกภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 8.1 กระทรวงสาธารณสุขสรุปรายงานการป่วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2565 ในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนผู้ป่วยในโรคสมองเสื่อม 11,865 คน และโรคแอลไซเมอร์ 8,227 คน และกรมการแพทย์แถลงข่าวว่ามี 770,000 คน หรือมีความชุกร้อยละ 6.17 และเป็นผู้ป่วยในร้อยละ 2.61 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยในโรคสมองเสื่อมและโรคแอลไซเมอร์ปี พ.ศ. 2566 จากสถิติจำนวนผู้ป่วยจำนวน 10 ปี (พ.ศ. 2556 ถึง 2565) พยากรณ์อนุกรมเวลาด้วยทฤษฎีระบบเกรย์ตามแบบจำลอง GM(1,1) และแบบจำลองขยายปรับค่าตามรอบ (GM(1,1) expanded with periodic correction model : GM(1,1)EPC) พิจารณาความแม่นยำจากค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (the Mean Absolute Percentage Error : MAPE) ผลการศึกษาพบว่า ค่าพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยในตามแบบจำลอง GM(1,1)EPC และ แบบจำลอง GM(1,1) ปี พ.ศ. 2566 จะมีผู้ป่วยในโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ จำนวน 12,408 ถึง 13,200 คน และ 8,898 ถึง 9,352 คน ตามลำดับ ซึ่งเมื่อนำค่าเฉลี่ยของทั้งสองโรคมารวมกันจะมีผู้ป่วยสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่มีอาการสมองเสื่อมรวม 21,929 คน ถ้าผู้ป่วยในมาจากผู้ป่วยอาการสมองเสื่อมร้อยละ 2.61 แล้ว ในปี พ.ศ. 2566 ก็จะมีผู้ป่วยอาการสมองเสื่อม 840,192 คน หรือความชุกร้อยละ 6.49</p> วัฒนา ชยธวัช รัชนี หาญสมสกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 74 74 ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาประยุกต์การรับรู้ความสามารถของตน ในการบริหารกล้ามเนื้อช่องปากเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/269414 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi- experimental) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมบริหารกล้ามเนื้อช่องปากประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลวังชิ้น อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) จำนวน 62 คน แบ่งออกเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 31 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 31 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยในกลุ่มทดลอง จะได้รับโปรแกรมประยุกต์การรับรู้ความสามารถของตน จำนวน 6 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ โดยวัดผลก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและหลังเสร็จสิ้นโปรแกรม ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม ได้แก่ 1) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 2)ความคาดหวังต่อผลลัพธ์จากการปฏิบัติ 3)พฤติกรรมทันตสุขภาพ 4)แบบทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่องปาก และแบบตรวจสุขภาพช่องปาก ประกอบด้วย 1)ดัชนีเหงือกอักเสบ(GI) และ 2)แบบวัดอัตราการไหลของน้ำลายแบบกระตุ้นและไม่กระตุ้น ด้วยวิธี spitting method โดยแบบสอบถามและแบบตรวจสุขภาพช่องปาก ใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า เมื่อเสร็จสิ้นโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในการับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังต่อผลลัพธ์จากการปฏิบัติ พฤติกรรมทันตสุขภาพ การทำงานกล้ามเนื้อช่องปาก อัตราการไหลของน้ำลายแบบไม่กระตุ้นและแบบกระตุ้น สูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า สูงกว่าอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และถึงแม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในดัชนีเหงือกอักเสบ (GI) แต่ผลการศึกษาพบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่องปาก และอัตราการไหลของน้ำลาย สูงขึ้นเมื่อปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ ดังนั้น การส่งเสริมทันตสุขภาพในด้านการบริหารกล้ามเนื้อช่องปากอย่างเป็นประจำจะทำให้สภาวะช่องปากดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p> จันทกรณ์ จีกัน ประจวบ แหลมหลัก Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 86 86 การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่ม 608 ในเขตอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/269618 <p>กลุ่ม 608 มีโอกาสเสียชีวิตสูงเมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อจึงมีความจำเป็น จึงสนใจศึกษาการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่ม 608 ในเขตอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ตัวอย่าง 690 คน สุ่มโดยวิธีแบ่งกลุ่มสองขั้นตอน ตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองเพื่อประเมินคะแนนการปฏิบัติตัวจากคำถามทั้งหมด 13 ข้อ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประมาณค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยประมาณค่าที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 </p> <p>ผลการศึกษา พบ ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของตัวอย่างกลุ่ม 608 เท่ากับ 33.4 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.8) จากคะแนนเต็ม 39 คะแนน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 33.2 ถึง 33.7 คะแนน</p> <p>กลุ่ม 608 ในเขตอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น มีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตาม ควรประเมินการปฏิบัติตัวของกลุ่ม 608 เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง</p> ธัญญามาศ จารีต ศิริพร คำสะอาด Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 104 104 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในทีมหมอครอบครัว อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/269992 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ประชากร คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน​ในทีมหมอครอบครัว​ ที่​อายุ 18 ขึ้นไป​ ที่ปฏิบัติงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี​ ในอำเภอเมืองนนทบุรี​ ​จังหวัดนนทบุรี จำนวน 2,333 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 805 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ Stepwise Multiple Regression</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.6 เพศชาย ร้อยละ 12.4 ส่วนมากมีอายุ 60-79 ปี ร้อยละ 69.7 โดยมีอายุน้อยสุด 23 ปี และอายุสูงสุด 85 ปี อายุเฉลี่ยเท่ากับ 64.3 (SD = 79.58) มีสถานภาพสมรสแต่งงานมากที่สุด ร้อยละ 65.1 ระดับการศึกษาประถมศึกษา มากที่สุด ร้อยละ 62.5 ประกอบอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน มากที่สุด ร้อยละ 34.4 รายได้ต่อเดือน ≤ 10,000 บาท มากที่สุด ร้อยละ 90.9 ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มีระยะเวลา​การทำงาน​ คือ​ 16​ ปีขึ้นไป​ ร้อยละ 52.1</p> <p>ระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอสม.ในทีมหมอครอบครัวอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 64.5 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอสม.ในทีมหมอครอบครัว ได้แก่ การรับรู้บทบาท แรงจูงใจ ทัศนคติ และแรงสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ​ปฏิบัติงาน​ตาม​บทบาท​ของ​อาสาสมัคร​สาธารณสุข​ประจ​ำ​หมู่บ้าน​ในทีมหมอครอบครัว เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ แรงสนับสนุน​ทางสังคม, แรงจูงใจในการ​ปฏิบัติงาน​​, การรับรู้บทบาทในการ​ปฏิบัติงาน,​​ และทัศนคติต่อการ​ปฏิบัติงาน​​ ซึ่งร่วมกันทำนายการปฏิบัติ​งาน​ตาม​บทบาท​ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน​ในทีมหมอครอบครัวได้ร้อยละ 41.3</p> สนั่น แตงบัว ธัญวรรณ เกิดดอนทราย นพโรจน์ วงศ์พัชรจรัส วีระพงศ์ อุมัด Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 118 118 การรับรู้และทัศนคติของประชาชนต่อการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพในการจัดการโรคเรื้อรัง ในกลุ่มประชาชนไทยที่มีอายุมากกว่า 15 ปีในจังหวัดปัตตานี, ชลบุรี, พัทลุง, ขอนแก่น, และอยุธยา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/269907 <p>โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในประเทศไทย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 74.00 ต่อปี และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และปัจจัยทำนายทัศนคติในการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพในการจัดการโรคเรื้อรัง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 จากประชากรที่อาศัยอยู่ในปัตตานี, ภูเก็ต, พัทลุง, ขอนแก่น, และนครศรีอยุธยา ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ โดยใช้สูตร Cochran formula ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 356 คน และเก็บข้อมูลแบบสุ่มด้วยแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 685 คน ส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.46 อายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 25.55 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 47.30 มีรายได้ครอบครัวต่อเดือนระหว่าง 40,001-80,000 บาท ร้อยละ 31.39 ร้อยละ 72.27 รายงานว่าไม่มีโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่ออกกำลังกายเป็นบางครั้ง ร้อยละ 56.93 ไม่ได้ใช้สมาร์ทวอทช์ ร้อยละ 56.20 และไม่ได้ใช้แอปพลิเคชันสุขภาพ ร้อยละ 56.64 ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพในการจัดการโรคเรื้อรังอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 53.72 และทัศนคติต่อการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพในการจัดการโรคเรื้อรังอยู่ระดับดี ร้อยละ 81.31 ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพ รวมถึงอายุ เป็นปัจจัยทำนายทัศนคติที่สำคัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Beta=0.413, p-value &lt;0.01, ทำนายได้ ร้อยละ 41.3 และ Beta=0.194, p-value &lt;0.01, ทำนายได้ ร้อยละ 19.4)</p> <p>การศึกษาแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมทางสุขภาพและการออกกำลังกายส่งผลต่อทัศนคติในการใช้เทคโนโลยีสุขภาพ ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำและมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพมีความสนใจสูงในเทคโนโลยีนี้ ขณะที่ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำมีความสนใจน้อยกว่า</p> ณภัทร รักไทย ฐาปกาญจน์ ทองเกื้อ พิชญาวดี โภคานิตย์ ธนกร งามสกุลพิพัฒน์ ระพีพัชร สายขุน ศุจิมน มังคลรังษี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 131 131 ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเยาวชนหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี จังหวัดหนึ่งในภาคเหนือ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/270056 <p> การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเยาวชนหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ในจังหวัดหนึ่งของภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือหญิงอายุระหว่าง 13-19ปี จำนวน 273 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ และสถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary logistic regression) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 22.30และมีประวัติการตั้งครรภ์ ร้อยละ 1.80 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเยาวชนหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p&lt;0.05) คือระดับการศึกษาสูงสุด ได้แก่มัธยมศึกษาปีที่ 3 (OR =23.91 95%Cl=2.77-206.49) มัธยมศึกษาปีที่ 4 (OR =13.78 95%Cl=1.39-136.01) มัธยมศึกษาปีที่5 (OR =16.03 95%Cl=1.83-139.87) มัธยมศึกษาปีที่ 6 (OR =13.78 95%Cl=1.43-123.94) ค่านิยมทางเพศทางเพศของเยาวชนหญิงระดับปานกลาง(OR =0.21 95%Cl=0.06-0.72) ระดับต่ำ (OR =0.19 95%Cl=0.04-0.75) ความอยากลองต่อการมีเพศสัมพันธ์ระดับปานกลาง(OR =0.43 95%Cl=0.14-1.31) ระดับต่ำ(OR =0.07 95%Cl=0.02-0.27) และการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ สารเสพติดและสภาพแวดล้อมที่ปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศระดับปานกลาง (OR =0.30 95%Cl=0.10-0.95) </p> <p>ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อออกแบบโปรแกรมหรือกิจกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หรือจัดทำแนวทางการเฝ้าระวังและกำหนดนโยบายการป้องกันพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรที่จะทำให้เกิดปัญหาการท้องไม่พร้อมและปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่อไป</p> พัชราภรณ์ มาลารัตน์ อนุกูล มะโนทน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 146 146 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดพิจิตร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/270186 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ภาคีเครือข่ายทุกอำเภอ จำนวน 401 คน พื้นที่ทดลองตำบลวังทรายพูน จำนวน 102 คน และตำบลทับคล้อ จำนวน 81 คน ดำเนินการ 4 ขั้นตอนในการสร้างและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโดยกระบวนการกลุ่ม (Focus Group)กับภาคีเครือข่าย จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ Stepwise Multiple Regression ,Paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ภาคีเครือข่ายมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ทัศนคติ แรงจูงใจ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่ส่งผลและสามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วม ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการรู้เท่าทันสื่อ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจ แรงจูงใจ เพศ ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมและการได้รับการสนับ สนุนทางสังคม (R<sup>2</sup> adj = 0.512) รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น คือ 1) สร้างกลุ่มไลน์ภาคีเครือข่าย 2) พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3) สร้างแรงจูงใจ 4) สร้างและพัฒนาทีมที่ปรึกษา 5)ประกาศเกียรติคุณภาคีเครือข่าย6) ประสานและบูรณาการกิจกรรม งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก 7) สื่อสารประชาสัมพันธ์ประชาชนอย่างต่อเนื่อง 8) ประกาศเป็นนโยบายระดับตำบลและ 9)จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อทำการทดสอบค่าเฉลี่ยคะแนนปัจจัยต่างๆ และระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนารูปแบบสูงกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt; 0.05)</p> <p> ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงานหรือโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโดยการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ แรงจูงใจและแรงสนับสนุนทางสังคม ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนและนำรูปแบบไปใช้ในทุกพื้นที่</p> ไพบูลย์ ตันคงจำรัสกุล อินทิรา เตตะสังข์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 160 160 การประเมินการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินในอาหารแห้งจากซูเปอร์มาร์เก็ตและ ร้านของชำในเขตกรุงเทพมหานคร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/270298 <p>อะฟลาท็อกซินคือสารพิษจากเชื้อราที่ผลิตโดยเชื้อรา <em>Aspergillus flavus</em> และเชื้อรา <em>Aspergillus parasiticus</em> สามารถเกิดขึ้นได้ในผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหลังการเก็บเกี่ยวและกระบวนการจัดเก็บ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินในอาหารแห้งในเขตราชเทวี ปทุมวัน และดินแดง กรุงเทพมหานคร อาหารแห้งถูกสุ่มอย่างสะดวก (Convenience sampling) จากตลาดท้องถิ่นและซูเปอร์มาร์เก็ต ถูกตรวจสอบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในอาหารแห้งโดยใช้ชุดทดสอบเอนไซม์ที่เชื่อมโยงกับอิมมูโนซอร์เบนท์ (ELISA) เก็บตัวอย่างอาหารแห้งจำนวน 66 ตัวอย่าง แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ พริกแห้ง ข้าวโพด ข้าว อาหารทะเลแห้ง ถั่วลิสง และสมุนไพรแห้ง ผลการวิจัยพบว่าตัวอย่างอาหารแห้งทั้งหมด ร้อยละ 100.00 มีการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินที่ความเข้มข้นต่างๆ ความเข้มข้นของอะฟลาท็อกซินในอาหารแห้งเฉลี่ยอยู่ที่ 7.73 ± 6.95 ไมโครกรัม/กก. พริกแห้งมีสารอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนสูงสุดที่ความเข้มข้น 18.13 ± 8.53 ไมโครกรัม/กก. นอกจากนี้ อาหารแห้งร้อยละ 7.60 มีอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนเกินความเข้มข้นที่ประเทศไทยยอมรับได้ที่ 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม สถานการณ์ปัจจุบันของสารอะฟลาท็อกซินที่ปนเปื้อนในอาหารแห้งส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค การพิจารณาถึงอะฟลาท็อกซินถือเป็นสารปนเปื้อนตามธรรมชาติในอาหาร ถึงเวลาแล้วที่จะต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมกระบวนการอาหารและกระบวนการจัดเก็บอย่างมีประสิทธิผล และการติดตามระดับการปนเปื้อนเพื่อป้องกันสุขภาพ</p> ณัฐฌา อังกินันทน์ วรเมธ ชาญพิพัฒนชัย สุประวีณ์ นาคะสูนย์ มิญชญา สิริเลิศศักดิ์สกุล ชญากาญจน์ โชติวิทยารัตน์ ชมสวรรค์ สาชลวิจารณ์ อินทัช ตุลาธน ศุภพิมธิดา วงศ์กันยา พนิตา โยธินสิริทอง นลินภัสร์ จิรโรจน์กุลภูดิท ศุจิมน มังคลรังษี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 175 175 การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/270299 <p>กรมสุขภาพจิตได้มีนโยบาย ในการพัฒนาระบบดูแลเฝ้าระวังติดตามผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) จำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังและดูแลเพื่อป้องกันการกำเริบซ้ำ จากความร่วมมือทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวังการค้นหากลุ่มเสี่ยง การวางระบบการดูแลผู้ป่วยในชุมชน รวมถึงการบูรณาการความเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่าย โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และจากประสบการณ์ของผู้วิจัยพบว่า ผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรงมักอยู่ในภาวะที่ถูกกดดันได้รับการรบกวนทางอารมณ์ ทำให้รู้สึกโกรธและแสดงพฤติกรรมรุนแรงออกมา ทั้งนี้ความชุกของการก่อความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชทั่วโลก พบได้ร้อยละ17หรือประมาณการเกือบ1ใน5ของผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวช<sup>2</sup> และร้อยละ12–20 มีประวัติการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง<sup>3</sup> โดยผู้ป่วยจิตเวชที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลมีความเสี่ยงสูงต่อการกระทำรุนแรงกับผู้ชายมากเป็น 2–6เท่าและเสี่ยงต่อการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิงมากเป็น 2–8เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ไม่มีอาการทางจิต<sup>4</sup></p> <p> <strong> </strong>1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ผู้ป่วยโรคจิตเวชกลุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรง(SMI-V)ในชุมชนตำบลนางิ้ว 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชนและ 3) เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชน</p> <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม<sup>5</sup> โดยนำแนวคิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement:CQI) เป็นกลไกในการปรับปรุงคุณภาพและแนวคิดการประเมินคุณภาพการบริการของ Edward Deming Cycle<sup>6</sup> มาใช้ประเมินความสัมพันธ์ของโครงสร้างกระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นการศึกษาแบ่งเป็นวงรอบแต่ละวงรอบแบ่งเป็น3ระยะ ระยะที่1 เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง ในมุมมองของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการสุขภาพ ระยะที่ 2 เป็นการดำเนินการพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคจิตเวช ระยะที่ 3 เป็นการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงและเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p> จากการศึกษาสถานการณ์พบประเด็นที่สำคัญ 4 ประเด็นของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ดังนี้ 1)ความต่อเนื่องของข้อมูลพบว่าผู้ใช้บริการสะท้อนการได้รับข้อมูลที่ไม่เจาะจงต่อปัญหาและความต้องการของการดูแล 2)ด้านความต่อเนื่องของการบริหาร พบปัญหาในการขาดการส่งต่อข้อมูลระหว่างทีม และผู้ให้บริการสุขภาพกับสมาชิกครอบครัว 3)ด้านความต่อเนื่องของการดูแลภายในชุมชน พบว่าความสัมพันธ์ของผู้ป่วยและครอบครัวต่อชุมชนมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย 4)ด้านความต่อเนื่องของการดูแลภายในทีมสุขภาพพบว่าทีมสุขภาพไม่มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนขาดความเข้าใจในการทำงานเป็นทีม รวมถึงยังขาดทักษะในการประเมินปัญหา และจากการวิเคราะห์ข้อมูดังกล่าวได้แนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงโดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ส่งผลให้ลดความรุนแรงในชุมชนและลดการกลับเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชซ้ำ</p> <p>ผลการพัฒนาระบบบริการการดูแลในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคจิตเวชพบว่าผลของคะแนนปฏิบัติการดูแลฯ ของผู้ให้บริการสุขภาพในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคจิตเวชเพิ่มขึ้นกว่าก่อนดำเนินการพัฒนามีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังดำเนินการมีค่ามากกว่าก่อนดำเนินการ (Mean4.80 และ Mean=2.83)ตามลำดับ ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจหลังดำเนินการมีค่ามากกว่าคะแนนความพึงพอใจก่อนดำเนินการ (Mean=4.4 และMean=3.8) ตามลำดับ</p> พิทภรณ์ พลโคตร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 184 184 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคปอดอักเสบในกลุ่มผู้สูงอายุ บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/269445 <p>ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบในกลุ่มผู้สูงอายุบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective study) เก็บรวมรวบด้วยแบบสอบถามจากผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จากกลุ่มตัวอย่าง 138 คน ในจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคปอดอักเสบ 39 คน และไม่เคยป่วยด้วยโรคปอดอักเสบ 99 คน กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเข้าโดยการสุ่มแบบง่าย ข้อมูลจะถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกนําเสนอค่า odds ratio (OR) และค่าช่วงความเชื่อมั่น 95% ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยมีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.3 มีอายุระหว่าง 65 - 69 ปี ร้อยละ 48.7 และกลุ่มควบคุมพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.6 มีอายุระหว่าง 60 - 64 ปี ร้อยละ 43.4 และพบว่าปัจจัยที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหรือโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ ปัจจัยด้านการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา (p-value &lt; 0.05) โดยพบว่าผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่และดื่มสุรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคปอดอักเสบมากกว่าผู้ที่ไม่เคยป่วยด้วยโรคปอดอักเสบถึง 2.969 และ 2.462 เท่าตามลำดับ จากผลการศึกษา การรณรงค์สร้างความรู้ในเรื่องของโทษของการสูบบุหรี่และดื่มสุราต่อการเกิดโรคปอดอังเสบเป็นสิ่งที่ผู้รับผิดชอบงานด้านสุขภาพในพื้นที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อลดการเกิดโรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุต่อไป</p> ชมมณี วรรณฟัก ศิรภัสร์ โคตรสีวงษ์ สุมัทนา กลางคาร รุจิรา โนนสะอาด Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 195 195 รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารของอาสาสมัครสาธารณสุข ต้นแบบด้านสุขภาพจังหวัดพะเยา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/270873 <p>การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารของอาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบด้านสุขภาพจังหวัดพะเยา ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้ ระยะที่ 1 ทำการศึกษาเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามระดับทักษะการสื่อสารและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อร่างรูปแบบฯ และนำไปพัฒนาระยะที่ 2 สัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสุขภาพภาคประชาชน จำนวน 2 ครั้ง ตรวจสอบคุณภาพด้านข้อมูลและปรับปรุงรูปแบบฯ นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองในระยะที่ 3 ตามแผนการทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม จำนวน 42 คนต่อกลุ่ม คัดเลือกจากการศึกษาระดับทักษะการสื่อสารของอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดพะเยาที่มีระดับปานกลาง ระยะที่ 1 มาเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมเข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test ระยะที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 14 คน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบ Academy Health Model ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย A:Active learning</p> <p>C:Communication skill 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ ขั้นให้ความสนใจ ขั้นจำ ขั้นปฏิบัติ และขั้นจูงใจ A:Associate ภาคีเครือข่าย สสจ. สสอ. รพ.สต. และ อปท., D:Development พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร E:Education เวที Academy แห่งการเรียนรู้ M:Monitoring การกำกับติดตามและจัดกิจกรรม โดยครูพี่เลี้ยง รพ.สต. คณะกรรมการและตัวแบบ Y:Phayao การพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขพื้นที่จังหวัดพะเยา และ Health Model คือ ตัวแบบอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดพะเยา ผลการทดลองใช้ พบว่า ความรู้และพฤติกรรมที่แสดงออกด้านทักษะการสื่อสาร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001</p> <p>ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดระยะเวลาสามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์และบริบทพื้นที่ ในส่วนของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการในการเรียนรู้จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอน 4 ขั้น ควรเพิ่มระยะเวลาในขั้นจำและขั้นปฏิบัติ เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเกิดทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ</p> กฤชคุณ คำมาปัน ชุติกาญจน์ สมสิงห์ใจ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 203 203 การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก โรงพยาบาลยโสธร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/271008 <p>วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก</p> <p>วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร ระหว่าง 1 เมษายน -31 ตุลาคม 2566 จำนวนรวม 264 คน และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ กระบวนการพัฒนามี 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะสำรวจสถานการณ์ วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของการพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาล 2) ระยะพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบ และนำไปปฏิบัติ 3) ระยะประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ Pair t test, Mann withney u test และ chi square</p> <p>ผลการศึกษา: 1) ศึกษาสถานการณ์ พบว่าอัตราการกลับมารักษาซ้ำ ปี 2565 เท่ากับร้อยละ 7.5 พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กของผู้ดูแลยังไม่ถูกต้อง บุคลากรพยาบาลยังมีการปฏิบัติที่หลากหลาย 2) รูปแบบการบริหารการพยาบาล ประกอบด้วย (1) มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ (2) การคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือน (PEWS) (3) การนิเทศทางการพยาบาล และ (4) การวางแผนจำหน่าย</p> <p>2) ผลการพัฒนา พบว่า (1) การกลับมารักษาช้ำภายใน 28 วัน (2) การย้ายเข้าหอผู้ป่วยหนักโดยไม่ได้วางแผน (3) ภาวะการหายใจล้มเหลว ลดลง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (4) ความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (5) การปฏิบัติตามมาตรฐานและการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือน (PEWS) ปฏิบัติร้อยละ 93.67 ถึง 100 (6) ความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบฯ ภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (7) วันนอนในโรงพยาบาล และ (8) ค่าใช่จ่ายในการรักษาพยาบาล หลังการใช้รูปแบบฯ ลดลง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> <p>สรุป รูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก ที่พัฒนาขึ้นจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษา สามารถนำรูปแบบนี้ไปเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบได้</p> กลอยใจ แสนวงษ์ รำไพ ศรีเนตร จุฬาภรณ์ นิลภูมิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 222 222 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในกลุ่มชาติพันธุ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/267811 <p><strong>ที่มา</strong><strong>:</strong> โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ร้ายแรง เป็นฆาตกรเงียบเพราะเพิ่มความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ อีกมากมาย และยังมีผู้ป่วยอีกหลายล้านคนที่ได้รับการรักษาแต่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้เหมาะสมได้ การที่ผู้ป่วยไม่มีความร่วมมือในการใช้ยาเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีระดับความดันโลหิตที่สูง และมีหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า เชื้อชาติ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยา งานวิจัยฉบับนี้จึงทำการศึกษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยา และสามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในกลุ่มชาติพันธุ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย ปัจจัยด้านภาวะสุขภาพ ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ</p> <p><strong>แบบวิจัย</strong><strong>: </strong>เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong><strong>: </strong>ศึกษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกลุ่มชาติพันธุ์ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 174 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 โดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย ในด้านของทัศนคติ/ความเชื่อเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและยาลดความดันโลหิต ส่งผลทางบวกต่อคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา มีค่าเท่ากับ 0.511 (p-value&lt;0.01) และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ในด้านความซับซ้อนของแผนการใช้ยาส่งผลทางลบต่อคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา มีค่าเท่ากับ 0.161 (p-value&lt;0.05) โดยปัจจัยทั้งสองสามารถทำนายความร่วมมือในการใช้ยาได้ร้อยละ 27.90 (Adjusted R square = 0.279)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย ในด้านของทัศนคติ/ความเชื่อเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและยาลดความดันโลหิต และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ในด้านความซับซ้อนของแผนการใช้ยา สามารถทำนายความร่วมมือในการใช้ยาได้ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกลุ่มชาติพันธุ์ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย</p> <p>โดยสามารถนำผลจากการศึกษานี้ไปใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์เป็นกลุ่มเปราะบาง ที่ต้องอาศัยความเข้าใจเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านของภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อที่สืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด</p> รุ่งนภา ยาวิโล สรวิศ บุญญฐี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 235 235 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงานในเขตตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/269066 <p>การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวาง นี้ เพื่อศึกษาความชุกของการไม่มารับบริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงาน และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 345 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากกลุ่มวัยทำงาน อายุ 20-59 ปี และหาความสัมพันธ์การถดถอยโลจิสติก</p> <p>ผลการศึกษาพบกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.8 มีอายุอยู่ในช่วง 40-49 ปี ร้อยละ 27.8 ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 82.9 พบว่าความชุกการไม่มาการมารับบริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ที่ทำการศึกษามีความชุกของการไม่มาการมารับบริการทันตกรรม (ร้อยละ 31.01) ซึ่งน้อยกว่าความชุกของมาการมารับบริการทันตกรรม (ร้อยละ 68.99) และพบว่าปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงาน คือ ผู้ที่เข้าถึงบริการระดับน้อย-ปานกลาง มีโอกาสไม่เข้ารับบริการ 2.51 เท่า (p=0.033) และ 3.58 เท่า (p=0.001) สูงกว่าผู้เข้าถึงระดับในระดับมาก และพบว่าผู้ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในระดับน้อย-ปานกลาง มีโอกาสที่จะไม่มารับบริการ 6.22 เท่า (p = 0.011) และ 1.75 เท่า (p = 0.075) สูงกว่ากลุ่มที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อการเข้ารับบริการในระดับมาก</p> กรรณิการ์ กันทะกาลัง สมชาย จาดศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2024-11-25 2024-11-25 10 04 251 251