@article{หมีทอง_เก้าเอี้ยน_ดวงงามยิ่ง_2018, place={Nonthaburi, Thailand}, title={การประเมินความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์กรดซาลิซิลิกในเครื่องสำอางครีมโดยห้องปฏิบัติการด้านเครื่องสำอางของอาเซียน}, volume={60}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/241019}, abstractNote={<p>       ประเทศไทยได้นำเสนอวิธีวิเคราะห์ปริมาณกรดซาลิซิลิก โดยใช้เอชพีแอลซี ซึ่งมีห้องปฏิบัติการของประเทศสมำชิกอาเซียนสมัครเข้าร่วมทดสอบวิธีจำนวน 8 แห่ง แต่ละแห่งได้รับวิธีวิเคราะห์ที่ได้ผ่านการทดสอบความถูกต้องของวิธี โดยห้องปฏิบัติการเดียว และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ครีมผสมกรดซาลิซิลิกร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลที่ได้คือ มีห้องปฏิบัติการสมาชิกส่งผลทดสอบ 5 แห่ง ไม่ส่งผลทดสอบ 3 แห่ง ปรับเปลี่ยนวิธีวิเคราะห์ 1 แห่ง จึงมีข้อมูลที่ใช้ได้ จำนวน 4 แห่ง จากการศึกษาและประเมินผลทางสถิติ โดยประเมินค่าที่ผิดปกติด้วย Cochran’s test และ Grubb’s test ไม่พบผลทดสอบเป็น outlier และการประเมินความเที่ยงของวิธีอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยมีค่า repeatability standard deviation (S<sub>r</sub>) เท่ากับ 0.002, repeatability relative standard deviation (RSD<sub>r</sub>,%) เท่ากับ 0.43, repeatability limit (r<sub>95</sub>) เท่ากับ 0.006, reproducibility standard deviation (S<sub>R</sub>) เท่ากับ 0.039, reproducibility relative standard deviation (RSD<sub>R</sub>, %) เท่ากับ 7.68, reproducibility limit (R<sub>95</sub>) เท่ากับ 0.109 และร้อยละการกลับคืน (% R) อยู่ระหว่าง 95.60-101.38 จากผลการศึกษาจึงได้ถูกกำหนดเป็นวิธีวิเคราะห์เครื่องสำอางของอาเซียนชื่อ ACM 009 และให้ประเทศไทยเป็นหน่วยงานจัดการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการของการวิเคราะห์ด้วยวิธี ACM 009</p>}, number={3}, journal={วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์}, author={หมีทอง สุดธิดา and เก้าเอี้ยน ชุณห์กฤดา and ดวงงามยิ่ง จำเริญ}, year={2018}, month={ก.ย.}, pages={141–154} }