@article{ควรหา_ปายะนันทน์_แก้วกล้าปัญญาเจริญ_2018, place={Nonthaburi, Thailand}, title={การพัฒนาและทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์สารตกค้างกลุ่มฮอร์โมนในเนื้อสัตว์โดย LC-MS/MS}, volume={60}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/241023}, abstractNote={<p>       ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตการเปลี่ยนแปลงทางเพศ ลักษณะทางกายภาพของร่างกายกระตุ้นหรือยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันตลอดจนควบคุมกระบวนการสร้างและสลาย metabolism ของร่างกาย ฮอร์โมนมีทั้งชนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและชนิดสังเคราะห์ มีการนำสารกลุ่มฮอร์โมนมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารอย่างไม่ถูกต้อง เพื่อวัตถุประสงค์ในการเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มกล้ามเนื้อทำให้เกิดการตกค้างในเนื้อสัตว์ส่งผลกระทบต่อร่างกายคน ซึ่งสารกลุ่มนี้มีแนวโน้มเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก กลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ประกาศห้ามใช้สารกลุ่มนี้เนื่องจากแนวโน้มเป็นสารก่อมะเร็ง ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาและทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์สารกลุ่มฮอร์โมนจำนวน 4 สาร ได้แก่ Diethylstilbesterol (DES), zeranol, 17 α-estradiol และ 17 β-estradiol ที่ตกค้างในเนื้อสัตว์ โดยเทคนิค LC-MS/MS ซึ่งสารนี้ถูกสกัดจากตัวอย่างด้วย methanol แล้วนำไปกำจัดไขมันโดยใช้เทคนิค liquid-liquid extraction ด้วย hexane และทำให้บริสุทธิ์โดยใช้เทคนิค solid phase extraction ด้วย Oasis HLB วิธีดังกล่าวมีค่าขีดจำกัดของการตรวจพบของทุกสารเท่ากับ 0.1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ค่าขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณของ DES และ zeranol เท่ากับ 2.0 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และเท่ากับ 6.0 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับ 17 α-estradiol และ 17 β-estradiol ช่วงการวิเคราะห์ที่ให้ความสัมพันธ์เป็นเส้นตรงของ DES และ zeranol อยู่ในช่วง 2.0-10.0 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ขณะที่ 17 α-estradiol และ 17 β-estradiol อยู่ในช่วง 6.0-15.0 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R<sup>2</sup>) ของทั้งสองช่วงมากกว่า 0.96 ค่าความแม่นแสดงด้วยค่าเฉลี่ย % recovery อยู่ในช่วง 73-105% และค่าความเที่ยงแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน อยู่ในช่วง 5.4-26.3% จากการพิสูจน์ความถูกต้องของวิธีพบว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการทดสอบ ตามค่ากำหนดของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 303 (2550) เรื่องอาหารที่มียาสัตว์ตกค้างและได้ทำการสำรวจปริมาณการตกค้างของสารกลุ่มฮอร์โมนด้วยวิธีที่พัฒนาขึ้นในเนื้อไก่และเนื้อวัว รวมทั้งสิ้น 50 ตัวอย่าง ระหว่างตุลาคม 2557 ถึง กันยายน 2558 ไม่พบสารกลุ่มฮอร์โมนในทุกตัวอย่าง</p>}, number={2}, journal={วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์}, author={ควรหา เฉลิมพร and ปายะนันทน์ ทองสุข and แก้วกล้าปัญญาเจริญ ลัดดา}, year={2018}, month={มิ.ย.}, pages={54–68} }