@article{เพ็ชรนอก_2022, place={Nonthaburi, Thailand}, title={การตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมในสินค้าเกษตรที่ส่งออก ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2560}, volume={64}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/256039}, abstractNote={<p>    สินค้าเกษตร มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะการส่งออกซึ่งสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปียังมีปัญหาพบสิ่งแปลกปลอม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการประเมินคุณภาพสินค้าเกษตรก่อนที่จะส่งออกจำหน่าย เพื่อยืนยันว่าสินค้าเกษตรมีคุณภาพตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า โดยตัวอย่างสินค้าเกษตรได้รับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และผู้ผลิตหรือผู้ส่งออก ส่งตรวจในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 จำนวน 432 ตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประเภทเส้น เมล็ดธัญพืช เครื่องเทศ และผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง จำนวน 179, 131, 62 และ 60 ตัวอย่าง ตามลำดับ ซึ่งตรวจสอบด้วยวิธีการตรวจสอบทางมหภาคและจุลภาค ผลการศึกษาพบแมลงมีชีวิตและไม่มีชีวิต ชิ้นส่วนแมลงและขนสัตว์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 149 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.49 แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเส้นไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 71 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 39.66 เมล็ดธัญพืชไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 41 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 31.30 เครื่องเทศไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 23 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 37.10 และผลิตภัณฑ์ประเภทแป้งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 14 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.33 ดังนั้นผู้ประกอบการควรควบคุมกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practices; GMPs) มาใช้เพื่อประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้าต่อไป</p>}, number={3}, journal={วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์}, author={เพ็ชรนอก ขันทอง}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={212–222} }