TY - JOUR AU - จันทร์แสง, อุรุญากร AU - เมธาวณิชพงศ์, นิตยา AU - จันทร์แสง, จิตติ AU - ผลสุวรรณ์, นันทพร AU - เพชรสุวรรณ, พรธิดา AU - วิริยะศรานนท์, พรชัย AU - สารพฤกษ์, ดนาพร AU - อุปพงษ์, บัลลังก์ PY - 2020/12/30 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุง สูตรอัดเม็ดและประสิทธิภาพการใช้เพื่อควบคุมยุงรำคาญชนิดคิวเล็กซ์ ควินเควฟาสซิเอตัส สายพันธุ์ธรรมชาติพื้นที่ชายแดนไทย JF - วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ JA - ว กรมวิทย พ VL - 62 IS - 4 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles) DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/244548 SP - 330-342 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงถูกนำมาใช้ควบคุมโรคที่นำโดยพาหะจากปัญหาการดื้อต่อสารเคมี แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส อิสราเอลเลนสิส (บีทีไอ) และบาซิลลัส สเฟียริคัส (บีเอส) มีราคาแพงและบางผลิตภัณฑ์ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การศึกษาครั้งนี้ได้นำแบคทีเรียบีทีไอผงแห้งที่ผลิตขึ้น มีการทดสอบประสิทธิภาพและรายงานผลไปแล้ว มาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สูตรอัดเม็ด มาทดสอบประสิทธิภาพและความคงทนกับลูกน้ำยุงลายบ้าน จากนั้นนำไปทดสอบด้านความต้านทานของลูกน้ำยุงรำคาญชนิดคิวเล็กซ์ ควินเควฟาสซิเอตัส สายพันธุ์พื้นที่ชายแดนไทยด้านประเทศเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ผลการศึกษาได้ผลิตภัณฑ์บีทีไอสูตรอัดเม็ดค่าความแรง 2,150 ITU/mg มีความคงทนควบคุมลูกน้ำยุงลายได้ร้อยละ 100 เป็นเวลา 28 วัน การทดสอบกับลูกน้ำยุงรำคาญพื้นที่ไทย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา มีความต้านทานอยู่ในช่วง 0.36-1.21, 0.72-1.20 และ 0.92-1.39 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับลูกน้ำสายพันธุ์มาตรฐาน และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ได้ทดสอบความต้านทานของลูกน้ำยุงรำคาญต่อแบคทีเรียบีเอสแบบผงแห้งที่ผลิตขึ้นและเทมีฟอสควบคู่กัน พบว่าลูกน้ำยุงรำคาญพื้นที่ชายแดนไทยทั้ง 3 ด้าน มีค่าความต้านทานต่อแบคทีเรียบีเอสอยู่ในช่วง 0.87-2.66, 1.99-3.17 และ 3.50-7.03 ต่อเทมีฟอส 0.47-3.01, 1.04-1.86 และ 1.07-2.45 เท่า ตามลำดับ ซึ่งแสดงผลเป็นแผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์</p> ER -