TY - JOUR AU - เสวะนา, จิราภรณ์ AU - สินาคม, บุษราคัม AU - อ่วมอ่อง, บุญเสริม PY - 2021/03/29 Y2 - 2024/03/28 TI - การเปรียบเทียบวิธีการเฝ้าระวังยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก JF - วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ JA - ว กรมวิทย พ VL - 63 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles) DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/248690 SP - 28-37 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมายาวนานมากกว่าหกทศวรรษ หนึ่งในมาตรการสำคัญที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคนี้คือการเฝ้าระวังยุงลายซึ่งเป็นพาหะ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเฝ้าระวังยุงลาย 3 วิธี คือ การสำรวจลูกนํ้ายุงลาย การสำรวจยุงตัวเต็มวัย และการสำรวจไข่ยุงลาย ในพื้นที่ชุมชนบ้านท่าแดง หมู่ที่ 7 ตำบลจำปา อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีลักษณะบ้านที่หลากหลาย ประกอบด้วยบ้านเดี่ยว 1 และ 2 ชั้น, ทาวน์โฮม 2 ชั้น และบ้านสวน ผลการศึกษาพบว่าบ้านทุกลักษณะที่สำรวจพบทั้งไข่ยุงลายในกับดักไข่ยุงลีโอแทรป ลูกนํ้ายุงลายและยุงตัวเต็มวัยภายในบ้าน แสดงว่าลักษณะบ้านไม่มีผลต่อการพบไข่ยุง ลูกนํ้า และตัวยุงลาย เมื่อเปรียบวิธีการเฝ้าระวังยุงลายทั้ง 3 วิธี พบว่าการใช้กับดักไข่ยุงลีโอแทรปซึ่งนำมาใช้ดำเนินการเฝ้าระวังมีประสิทธิภาพดีที่สุด สะดวกต่อการปฏิบัติงาน ประหยัดเวลาและงบประมาณ ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถเก็บแผ่นไข่ยุงลายและนำกลับมาตรวจนับที่ห้องปฏิบัติการได้ ซึ่งจะทำให้ทราบจำนวนยุงลายที่แท้จริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถนำไปวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงด้านระบาดวิทยา และกำหนดมาตรการในการควบคุมยุงลายในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ER -