TY - JOUR AU - จันทร์แสง, จิตติ AU - ครุธบุตร์, จริยา AU - มากรื่น, ธัณญภักษณ์ AU - สืบสอาด, วรรณิศา AU - เด่นชลชัย, เอกรัฐ AU - นิลพนมชัย, สุวรรณภา AU - จันทร์แสง, อุรุญากร PY - 2021/03/28 Y2 - 2024/03/29 TI - พื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออก: วิเคราะห์ผลการสำรวจกับดักไข่ยุงลายและข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของประเทศไทยด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ JF - วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ JA - ว กรมวิทย พ VL - 63 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles) DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/249232 SP - 78-91 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุข โดยมีการควบคุมยุงลายเป็นมาตรการที่สำคัญ ข้อมูลประชากรและการแพร่กระจายของยุงลายเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับควบคุมโรค มีการใช้วิธีการสำรวจลูกน้ำยุงลายจากการนับจำนวนภาชนะขังน้ำที่พบหรือไม่พบลูกน้ำแล้วคำนวณค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อวางแผนควบคุมโรค แต่เนื่องด้วยค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายมีความสัมพันธ์ต่ำกับโรคไข้เลือดออก ในขณะที่ระยะไข่มีความสัมพันธ์กับระยะตัวเต็มวัยซึ่งเป็นระยะในการแพร่เชื้อไวรัส งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลประชากรยุงลายด้วยกับดักไข่ยุงลายระหว่างช่วงเดือนก่อนฤดูการระบาดของโรค เก็บข้อมูลเป็นเวลา 7 ปี ในแต่ละปีสำรวจโดยใช้กับดักไข่ยุงลายจำนวน 5,120 อัน วางในพื้นที่ 128 อำเภอ ของ 32 จังหวัด ใน 4 ภาค และนำข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของแต่ละจังหวัดมาวิเคราะห์ด้วยระบบสาร-สนเทศภูมิศาสตร์และสถิติ พบว่าประชากรของยุงลายจากค่าเฉลี่ยไข่ต่อกับดักไข่ยุงลาย และร้อยละกับดักที่พบไข่ยุงลายมีค่าสูงสุดที่ภาคใต้ และรองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันตามแต่ละจังหวัด ประชากรยุงลายและผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการประมาณค่าเชิงพื้นที่ประชากรยุงลายของทั้งประเทศด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิธี Ordinary Kriging โดยใช้ข้อมูลทุกตำแหน่งที่สำรวจ ทำให้สามารถประมาณค่าประชากรยุงลายทุกพื้นที่ในทุกจังหวัดของประเทศ จากผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการหาพื้นที่เสี่ยงและวางแผนการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ER -