TY - JOUR AU - บุญเกษม, อุทัยทิพย์ AU - ศรีรุ่งเรือง, สิริพร AU - อายุโย, ปัทมา AU - สรรประเสริฐ, วิวรพรรณ PY - 2022/09/30 Y2 - 2024/03/29 TI - ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อปรสิตในลำไส้ของประชากร ในพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ช่วงปี พ.ศ. 2562-2563 JF - วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ JA - ว กรมวิทย พ VL - 64 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles) DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/256495 SP - 147-159 AB - <p>     โรคติดเชื้อปรสิตเป็นโรคซึ่งพบได้ต่อเนื่องและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อปรสิตในลำไส้ มีผลทำให้เกิดภาวะต่างๆ ในร่างกายและเสียชีวิตได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการติดเชื้อปรสิตในลำไส้นักเรียนและผู้ใหญ่ในพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2563 จำนวน 583 ราย ใช้การตรวจวินิจฉัย 3 วิธี คือ simple smear, formalin–ethyl acetate concentration technique (FECT) และ locke egg serum (LES) medium culture ผลการตรวจพบว่ากลุ่มประชากรมีความชุกของการติดเชื้อปรสิตในลำไส้ 28.8% ปรสิตที่พบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโปรโตซัว (28.1%) และกลุ่มหนอนพยาธิ (0.7%) ชนิดของปรสิตก่อโรคที่พบ ได้แก่ B<em>lastocystis hominis</em> (17.15%), <em>Entamoeba histolytica</em> (2.57%), <em>Giardia lamblia</em> (0.51%), <em>Opisthorchis </em><em>viverrini</em> (0.34%), <em>Strongyloides stercoralis</em> (0.17%), <em>Trichuris trichiura</em> (0.17%) และโปรโตซัวที่ไม่ก่อโรค ได้แก่ <em>Endolimax nana</em> (3.26%) และ <em>Entamoeba coli</em> (4.63%) ทั้งนี้พบการติดเชื้อในผู้ใหญ่ (38.60%) มากกว่าในนักเรียน (21.93%) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ดื่มน้ำที่ไม่ผ่านการต้ม/กรองก่อนดื่ม ไม่สวมรองเท้าเมื่อสัมผัสพื้นดิน และรับประทานปลาสุกๆ ดิบๆ นอกจากนี้การเปรียบเทียบการตรวจวินิจฉัยทั้ง 3 วิธี พบว่าวิธี LES culture ให้ผลรวดเร็วที่สุด (69.64%) ในกลุ่มโปรโตซัว รองลงมา คือ วิธี FECT (17.26%) และวิธี simple smear (13.10%) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ยังคงพบการติดเชื้อปรสิตในลำไส้ ซึ่งนอกจากการให้ความรู้แก่นักเรียนแล้ว ควรมีการป้องกันและควบคุมโรคปรสิตในลำไส้แก่ประชาชนทั่วไปด้วย</p> ER -