https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/issue/feed วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2024-03-06T08:14:31+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งนภา จันทรา journal@bcnsurat.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ ดำเนินการโดย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ขอเชิญสมาชิกและ ผู้สนใจทุกท่านร่วมส่งบทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ ด้าน การพยาบาล การแพทย์ การสาธารณสุข การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตีพิมพ์ เผยแพร่ ทั้งนี้ผลงานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นเมื่อได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ผู้แต่งจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของวารสาร ฯ</p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/267149 ผลของโปรแกรมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองใน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2024-03-06T08:14:31+07:00 เปรมฤดี เฮนะเกษตร erpramrudee@gmail.com <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 35-59 ปี ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและประเมินระดับความดันโลหิตแล้ว พบว่า ระดับความดันโลหิตซิสโตลิค มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 180 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิค มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 110 มิลลิเมตรปรอทและเข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยโปรแกรม G*Power จำนวน 30 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ 1) โปรแกรมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ pair t-test และโดยใช้การทดสอบแบบ Independent t-test </p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลอง มีระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือด อยู่ในระดับสูง (Mean=12.02) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือด อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=10.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p&lt;.05</em>) 2) หลังการทดลอง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลอง มีระดับคะแนนเฉลี่ยทัศนคติการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับสูง (Mean=4.00) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยทัศนคติการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p&lt;.05</em>) 3) หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับสูง (Mean=4.05) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p&lt;.05</em>) 4) หลังการทดลอง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลอง มีระดับคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับสูง (Mean=4.05) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยทัศนคติการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.61) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p&lt;.05</em>) </p> 2024-03-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/267293 โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) เพื่อติดตามรักษาอาการ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2024-01-29T16:06:35+07:00 ศิโรรัตน์ วงค์ประไพ sirorat_lek@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรมเพื่อติดตามรักษาอาการผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเคียนซา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเคียนซา จำนวน 70 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน 1) เครื่องมือในการทดลอง คือ โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) เพื่อติดตามรักษาอาการผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรม แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบสอบถามข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด ผ่านการตรวจความตรงทางเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .795 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติแบบสัมพันธ์ (pair t -test) และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มทดลอง มีระดับคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรม อยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรมอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p&lt;.05</em>) 2) หลังการทดลองผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p&lt;.05</em>) 3) หลังการทดลองผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 170.37 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 179.51 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p&lt;.05</em>)</p> 2024-03-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/261005 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการควบคุมภาวะอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2023-02-20T09:36:36+07:00 พัชรี ชูกันหอม phatcharee@pckpb.ac.th อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ atcharawadee@pckpb.ac.th สุชาดา บุญธรรม suchada@pckpb.ac.th วิโรจน์ ฉิ่งเล็ก wirod@pckpb.ac.th สุวรรณี แสงอาทิตย์ suwannee@pckpb.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมควบคุมภาวะอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเชิงปริมาณสุ่มจากเด็กนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ที่มีภาวะอ้วน จำนวน 104 คน (จากจำนวนประชากร 703 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมควบคุมภาวะอ้วน ตรวจสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยภาพรวมเท่ากับ .86 มีค่าคูเดอร์ริชาร์ดสัน-20 ของแบบทดสอบด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพเท่ากับ .80 และแบบสอบถามพฤติกรรมควบคุมภาวะอ้วนเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวน 20 คนประกอบไปด้วยผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตัวแทนครูโรงเรียนประถมศึกษา ตัวแทนผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีภาวะอ้วนส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับไม่เพียงพอ คิดเป็น ร้อยละ 65.39 พฤติกรรมการควบคุมภาวะอ้วนอยู่ในระดับพอใช้ได้คิดเป็นร้อยละ 63.46 รองลงมา คือ ระดับไม่ดีพอ คิดเป็นร้อยละ 34.62 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบ 3 ประเด็นหลักคือ 1) รับรู้ว่าอ้วนแล้วเสี่ยง พยายามหลีกเลี่ยงแต่ทำไม่ได้ 2) ความไม่สมดุลของการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย และ 3) ขาดการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพถูกต้อง</p> <p>ข้อเสนอแนะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงเรียนสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลและบริการ การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และพฤติกรรมการควบคุมภาวะอ้วนโดยเฉพาะการจัดโครงการกิจกรรมฝึกทักษะเด็กเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สมดุลของการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย</p> 2024-03-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/266369 ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับระดับอาการแสดงของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2024-01-29T16:24:03+07:00 นิตยา ถนอมศักดิ์ศรี ood_nit@hotmail.com อัจริยา วัชราวิวัฒน์ atchariya@bcnsurat.ac.th <p>การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านคลินิกกับระดับอาการแสดงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 222 คน คำนวณโดยสูตรยามาเน เครื่องมือที่ใช้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลปัจจัยด้านคลินิก และแบบบันทึกระดับอาการแสดงของโรค ผ่านตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง .66-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระดับอาการแสดงของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลดอนสักอยู่ในระดับเล็กน้อย (Mean=2.32, SD.= .75) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านคลินิกสามารถร่วมทำนายอาการแสดงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 31.5 (<strong><em>R<sup>2</sup></em></strong><em>=0.315, F=13.78</em>) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p&lt;.05</em>) และเมื่อพิจารณาตัวแปรย่อยปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าตัวแปรย่อยที่มีอิทธิพลต่ออาการแสดงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (<em>β= .40, t=5.68, p&lt;.01</em>) อายุ (<em>β= .29, t=3.72, p&lt;.01</em>) การได้รับวัคซีน Covid-19 (<em>β= -.22, t=-3.36, p&lt;.01</em>) และจำนวนปีที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (<em>β= .16, t=2.23, p&lt;.01</em>) ส่วนตัวแปรย่อยปัจจัยด้านคลินิกพบว่าระดับน้ำตาลสะสมมีอิทธิพลต่ออาการแสดงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (<em>β= .29, t= 3.72, p&lt;.01</em>) ดังนั้น โรงพยาบาลชุมชนควรนำปัจจัยที่มีอิทธิพลกับอาการแสดงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ดัชนีมวลกายของผู้ป่วย อายุ ระดับน้ำตาลสะสม การได้รับวัคซีน Covid-19 และจำนวนปีที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาสร้างแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยมีระดับอาการแสดงที่รุนแรงมากขึ้น</p> 2024-03-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี