วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri
<p>วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ ดำเนินการโดย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ขอเชิญสมาชิกและ ผู้สนใจทุกท่านร่วมส่งบทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ ด้าน การพยาบาล การแพทย์ การสาธารณสุข การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตีพิมพ์ เผยแพร่ ทั้งนี้ผลงานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นเมื่อได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ผู้แต่งจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของวารสาร ฯ</p>
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
th-TH
วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ
2822-034X
<p><strong>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี</strong><br /> ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
-
รูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยา ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสงขลา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/269886
<p>การวิจัยและพัฒนาเพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ สร้างรูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ เภสัชกร จำนวน 80 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 นำข้อมูลจากระยะที่ 1 มาสร้างรูปแบบ ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบโดยวิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา 15 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการดำเนินงานตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยา ได้แก่ นโยบายสู่ผู้ปฏิบัติและการกำกับติดตามไม่ต่อเนื่อง งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดความร่วมมือของสหวิชาชีพ อัตรากำลังไม่เพียงพอ ยาขาด ไม่มีคู่มือ/แนวปฏิบัติความปลอดภัยด้านยา ขาดการเชื่อมต่อข้อมูล ไม่มีระบบการตรวจสอบ ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา ส่วนความต้องการการดำเนินงาน ได้แก่ จัดศูนย์กระจายยา จัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด นวัตกรรม จัดสรรอัตรากำลัง ระบบการนิเทศติดตาม พัฒนาศักยภาพของบุคลากร จัดสรรงบประมาณ ระบบเทคโนโลยี ลดภาระงานด้านเอกสาร การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนรู้ มีระบบการให้คำปรึกษา 2) รูปแบบ คือ 5C3SDTI ได้แก่ 1) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 2) จัดทำปฏิทินการดำเนินงาน 3) สร้างช่องทางการประสานงาน 4) เลือกโรงพยาบาลต้นแบบ 5) สร้างเกณฑ์มาตรฐานให้ชัดเจน 6) พัฒนาการให้คำปรึกษา 7) ตั้งคณะกรรมการนิเทศ 8) จัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยน 9) พัฒนาบุคลากรและระบบบริหารเวชภัณฑ์คลังยาของ รพ.สต. 10) นำเทคโนโลยีมาใช้ และ 11) สร้างนวัตกรรม และ 3) หลังใช้รูปแบบคะแนนตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้นรูปแบบ 5C3SDTI สามารถใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนโรงพยาบาลชุมชนโดยการวางแผนและดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม</p>
ณัฐฎา สุรณัฐกุล
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-09
2024-09-09
7 2
e269886
e269886
-
สถานการณ์ ความต้องการ และการคาดการณ์แนวโน้มกำลังคนด้านสาธารณสุขในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคเหนือของประเทศไทย
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/270251
<p>การศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ความต้องการ และการคาดการณ์แนวโน้มกำลังคนด้านสาธารณสุขในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในภาคเหนือของประเทศไทย จากข้อมูลบุคลากรใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไป อบจ. ในเขตภาคเหนือเขตสุขภาพที่ 1 และ 2 ปีงบประมาณ 2566 โดยศึกษาข้อมูลของ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์ความต้องการและคาดการณ์แนวโน้มกำลังเปรียบเทียบกับกรอบอัตรากำลังคนตามสายวิชาชีพนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาความถี่และร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า มีบุคลากรด้านสาธารณสุขประสงค์ถ่ายโอน 1,988 คน การเปรียบเทียบกับกรอบความต้องการ พบว่าวิชาชีพพยาบาลขาดจำนวน 767 คน ถ้าเติมเข้าในระบบจำนวนปีละ 100 คน จะสามารถเติมเต็มอัตรากำลังตามกรอบภายใน ปี พ.ศ. 2579 วิชาชีพสาธารณสุขยังขาดจำนวน 818 คน ถ้าเติมเข้าในระบบจำนวนปีละ 100 คน จะสามารถเติมเต็มอัตรากำลังตามกรอบภายในปี พ.ศ. 2579 วิชาชีพทันตสาธารณสุขยังขาดจำนวน 205 คน ถ้าเติมเข้าในระบบจำนวนปีละ 50 คน จะสามารถเติมเต็มอัตรากำลังตามกรอบภายในปี พ.ศ. 2574 และวิชาชีพแพทย์แผนไทยยังขาดจำนวน 303 คน ถ้าเติมเข้าในระบบจำนวนปีละ 50 คน จะสามารถเติมเต็มอัตรากำลังตามกรอบภายใน ปี พ.ศ. 2576</p> <p>จำนวนความต้องการและคาดการณ์แนวโน้มวิชาชีพใน รพ.สต. สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์สำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อให้เกิดการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นไปตามมาตรฐานการจัดบริการใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตภาคเหนือ</p>
ปฐมพงษ์ กันธิยะ
นภชา สิงห์วีรธรรม
สินีนาฏ ชาวตระการ
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-23
2024-09-23
7 2
e270251
e270251
-
ผลของโปรแกรมการให้การปรึกษารายกลุ่มตามแนวคิดการพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรมต่อการเผชิญปัญหาในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/268825
<p>วิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการให้การปรึกษารายกลุ่มตามแนวคิดการพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนเรื่องระดับการศึกษา สถานภาพและอายุโดยการจับคู่กลุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้การปรึกษารายกลุ่มตามแนวคิดการพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวคำนวณค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ .84 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และโปรแกรมการให้การปรึกษารายกลุ่มตามแนวคิดการพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม ดำเนินกิจกรรมทั้งหมด 5 กิจกรรม ใช้เวลากิจกรรมละ 60-90 นาที ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของโปรแกรมฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน หาค่าความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรมฯ ด้วยแบบประเมินค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติแบบสัมพันธ์ และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมีคะแนนการเผชิญปัญหาของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-45.68, <em>p< .01</em>) และผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวในกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมฯมีคะแนนการเผชิญปัญหาสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-25.71, <em>p< .01</em>)</p>
พัชนี เรืองระพีพรรณ
วินีกาญจน์ คงสุวรรณ
อรวรรณ หนูแก้ว
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-30
2024-09-30
7 2
e268825
e268825