https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/issue/feed วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2024-10-08T10:17:57+07:00 วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น jkkpho.2564@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) กรณีศึกษา (Case Study) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทัศน์ (Literature Review Article) ตลอดจนองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การแพทย์ฉุกเฉินและคุ้มครองผู้บริโภค ระบบสุขภาพและการประเมินผลโครงการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายด้านสุขภาพ</p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/271544 บทบรรณาธิการ 2024-10-08T10:17:57+07:00 มิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง mingkhuan.p@kkumail.com 2024-09-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/270127 การประเมินกระบวนการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ แบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 2024-07-12T14:05:44+07:00 ธีรศักดิ์ พาจันทร์ tphajan@gmail.com เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ saowaluk.see@neu.ac.th สุพัฒน์ อาสนะ saowaluk.see@neu.ac.th พิทยา ศรีเมือง saowaluk.see@neu.ac.th กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ saowaluk.see@neu.ac.th <p>การวิจัยแบบผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินกระบวนการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ การรับรู้และความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2563 จากบุคลากรคลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster; PCC) จำนวน 60 คน และผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases; NCD) ได้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จำนวน 200 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและสุ่มแบบอย่างง่าย ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญ ที่ 0.05 สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า PCC ในโครงการวิจัย มีคุณภาพในกระบวนการจัดบริการและระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับดีและมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า PCC นอกโครงการวิจัยทุกด้าน และผู้ป่วย NCD ในโครงการวิจัย มีการรับรู้เกี่ยวกับหมอครอบครัวสูงกว่า โดยทราบเรื่องหมอครอบครัว ทราบชื่อแพทย์ประจำครอบครัว และทราบชื่อเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหมอครอบครัว (ร้อยละ 92.00, 97.00 และ 98.00 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกับนอกโครงการ (ร้อยละ 52.00, 38.00 และ 43.00 ตามลำดับ) และมีผลลัพธ์การดูแลโรคเรื้อรังดีกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านเป้าหมายการรักษา การปฏิบัติตน ผลการรักษา และความพึงพอใจ (p-value &lt; 0.05) ข้อมูลเชิงคุณภาพสะท้อนถึงความสำคัญของการสื่อสาร การมีส่วนร่วมของผู้ป่วย และการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาระบบบริการ ดังนั้น ควรพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารจัดการตนเอง ของผู้ป่วย NCD และเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนการดูแลรายบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพปฐมภูมิ</p> 2024-09-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/270608 การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยในศตวรรษที่ 21 ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2024-08-19T09:08:55+07:00 สันศนีย์ ดีภัย sansanee.de@kkumail.com วรรณชนก จันทชุม wancha_p@kku.ac.th <p>การวิจัยเชิงบรรยายนี้ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยในศตวรรษที่ 21 ศึกษาในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีจำนวน 435 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามสมรรถนะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.88 ค่าความเชื่อมั่นโดยคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาคเท่ากับ 0.89 ผู้วิจัยส่งเอกสารข้อมูลทางไปรษณีย์ไปยังผู้ประสานงาน มีการตอบแบบสอบถามคืนกลับมาคิดเป็นร้อยละ 98.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ องค์ประกอบมีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป มีน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.3 ขึ้นไปผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยในศตวรรษที่ 21 ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.41-0.86 อธิบายความผันแปรของตัวแปรทั้งหมดได้ ร้อยละ 60.05 ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการพยาบาล 2) ด้านการบริหารจัดการในสถานการณ์โควิด-19 3) ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ จริยธรรม 4) ด้านภาวะผู้นำ 5) ด้านการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัย 6) ด้านเทคโนโลยี และสารสนเทศทางการพยาบาล 7) ด้านนโยบายระบบสุขภาพและธุรกิจการตลาด 8) ด้านการสนับสนุนการทำงานเป็นทีมและโน้มน้าวใจ 9) ด้านการคิดวิเคราะห์ และการจัดสรรทรัพยากร 10) ด้านการสื่อสารและการประสานงาน 11) ด้านการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย สามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับการพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยในศตวรรษที่ 21 ภายใต้บริบทของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีความสอดคล้องกับบริบทหรือขอบเขตงานในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน</p> 2024-09-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/270498 ประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลหนองนาคำ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น 2024-08-08T23:22:05+07:00 จุฬารัตน์ ขยันควร juraza2528@gmail.com <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (quasi - experimental research pre-posttest design) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลหนองนาคำ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่นจำนวน 50 ราย เลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และการรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับ ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p&gt;0.05) ส่วนการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;0.05) พฤติกรรมการป้องกันโรคพบว่า การรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด และการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ (p &gt;0.05) ส่วนพฤติกรรมออกกำลังกาย ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;0.05) โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้สูงอายุนี้ควรนำไปใช้ในการส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง และส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง</p> 2024-09-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/270679 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2 เขตสุขภาพที่ 7 2024-08-26T23:41:08+07:00 ขนิษฐา ทาพรมมา kanitha.th@kkumail.com สมปรารถนา ดาผา kanitha.th@kkumail.com <p>การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2 เขตสุขภาพที่ 7 เก็บข้อมูลจากพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 173 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.85, 0.90 และ 0.92 และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 และ0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2 เขตสุขภาพที่ 7 ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2 เขตสุขภาพที่ 7 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.39, S.D.=0.51) 2) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2 เขตสุขภาพที่ 7 ได้แก่ นโยบายการแพทย์ฉุกเฉินและการบริหารงาน อายุ และการนิเทศทางการพยาบาล ได้ร้อยละ 31.4 ( ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 แสดงว่ายังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินอีกร้อยละ 68.60 เช่น ความก้าวหน้าในวิชาชีพ การทำงานเป็นทีม และแรงจูงใจ ซึ่งอาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p> 2024-09-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/270616 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 2024-08-26T23:28:49+07:00 จริยา มีไกรลาด jariya.me@kkumail.com วรรณชนก จันทชุม jariya.me@kkumail.com <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับ ตติยภูมิ ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลขอนแก่นและโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จำนวน 270 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จากพยาบาลวิชาชีพทั้งหมด 2,002 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความตรง เชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.94 ความเที่ยงของแบบสอบถามการเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาร์ค ได้ค่าเท่ากับ 0.98 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅=3.49, S.D.=.72) 2) ปัจจัยด้าน การเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร ที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 ได้แก่ มิติการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (r=.768) มิติสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเสริมสร้างสุขภาวะ (r=.739) มิติสุขภาพกายและสุขภาพใจ (r=.713) และมิติผลลัพธ์องค์กร (r=.705) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ส่วนมิติกระบวนการดำเนินงานเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r=.699) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านผลลัพธ์องค์กร และด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ ได้ร้อยละ 67.9</p> 2024-09-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/270785 การพัฒนาโปรแกรมกลุ่มบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีปัญหาการใช้สารแอมเฟตามีน 2024-09-01T23:26:22+07:00 ปรารถนา คำมีสีนนท์ prattana342@gmail.com ไพรวัลย์ ร่มซ้าย prattana342@gmail.com นุจรินทร์ บัวละคร prattana342@gmail.com <p>การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลโปรแกรมกลุ่มบำบัด เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีน และอาการทางจิตในผู้ป่วยโรค จิตเภทที่มีปัญหาการใช้สารแอมเฟตามีน วิธีวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 1) วิจัยและพัฒนาโปรแกรมต้นแบบ ได้แก่ ศึกษาสภาพการณ์ พัฒนาโปรแกรม ศึกษาความน่าเชื่อถือ และปรับปรุง 2) ทดลองใช้โปรแกรม โดยวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มมีการวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองเพื่อรับการบำบัดตามโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต้นแบบ แบบประเมินการเสพ แอมเฟตามีน แบบวัดความตั้งใจในการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ และแบบประเมินอาการทางจิตชนิดสั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และ 3) สรุปผลและเผยแพร่นวัตกรรม ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.89 ประกอบด้วยการบำบัดรายกลุ่มสำหรับผู้ป่วย 5 ครั้ง การบำบัดรายบุคคลพร้อมญาติ 2 ครั้ง การประเมินผลหลังสิ้นสุดการบำบัด และในระยะติดตาม 1 เดือน กลุ่มทดลองมีความตั้งใจในการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำเพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้สารแอมเฟตามีน และอาการทางจิตลดลงกว่า ก่อนทดลอง และแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสรุปโปรแกรมกลุ่มบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ เหมาะสมต่อการใช้บำบัดผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการใช้สาร แอมเฟตามีน และสอดคล้องบริบทของโรงพยาบาลจิตเวช จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการใช้สารแอมเฟตามีน</p> 2024-10-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/270828 การพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะภาวะผู้นำในพยาบาลหัวหน้าเวร แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลย 2024-09-21T22:50:03+07:00 อุไรรัตน์ ภู่สูงเนิน urairat.ph@kkumail.com จิตรภินันท์ ศรีจักโคตร jonsri@kku.ac.th <p>งานวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะภาวะผู้นำในพยาบาลหัวหน้าเวรก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลหัวหน้าเวร 11 คน และพยาบาลพี่เลี้ยง 5 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะภาวะผู้นำในพยาบาลหัวหน้าเวร ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะภาวะผู้นำและพฤติกรรมบ่งชี้ความสามารถ แบบสังเกตทักษะการปฏิบัติบทบาทพยาบาลหัวหน้าเวร ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา IOC ระหว่าง 0.6-1.0, 0.8-1.0 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98, 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะภาวะผู้นำในพยาบาลหัวหน้าเวร แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลย ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ 1) วางแผน โดยวิเคราะห์สถานการณ์โดยการสนทนากลุ่ม พบว่าพยาบาลไม่มั่นใจในบทบาท หน่วยงานไม่มีรูปแบบการพัฒนาที่ชัดเจน จากนั้นระดมสมองออกแบบโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะ จัดทำคู่มือพยาบาลหัวหน้าเวรศึกษาด้วยตนเองก่อนเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 วัน ฝึกสถานการณ์จำลอง บทบาทสมมุติ 6 สถานการณ์โดยใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน และฝึกภาคปฏิบัติในสถานการณ์จริงร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยง 1 เดือน 2) นำโปรแกรมไปใช้ 3) การสังเกต พบว่าพยาบาลหัวหน้าเวรมีสมรรถนะภาวะผู้นำภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Z= -2.936, p= 0.003) 4) สะท้อนกลับ อภิปรายผลลัพธ์และร่วมกันพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะภาวะผู้นำในพยาบาลหัวหน้าเวร ที่ใช้ในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลย</p> 2024-10-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/270924 รูปแบบการนิเทศทางคลินิกในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ กระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัด โรงพยาบาลอุทัยธานี 2024-09-15T23:05:06+07:00 อัญชลี ตรุณาวงษานนท์ uctn07@gmail.com จินดา ผุดผ่อง parinda@bcnchainat.ac.th สายันต์ โฆษิตาภา parinda@bcnchainat.ac.th ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์ parinda@bcnchainat.ac.th <p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกและประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนา โดยทำการศึกษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลอุทัยธานี ระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง มีจำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 22 คน และ 2) ผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัด จำนวน 36 คน การศึกษาวิจัย มี 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการนิเทศทางคลินิก 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิก และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทัศนคติด้านการนิเทศ แบบประเมินสมรรถนะของผู้นิเทศ แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบ และแบบบันทึกผลลัพธ์คุณภาพการพยาบาล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบทีชนิดสัมพันธ์กัน (Dependent t-test) ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของพรอคเตอร์ (Proctor) ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพของผู้นิเทศ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการดำเนินการ และการติดตามการประเมินผลคุณภาพการนิเทศทางคลินิกและการพยาบาล หลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ระดับคะแนนสมรรถนะผู้รับการนิเทศทางคลินิกอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.08, S.D.= 0.29), แต่คะแนนทัศนคติต่อรูปแบบการนิเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 เห็นได้ว่า รูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นช่วยพัฒนาผลลัพธ์ด้านคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล ลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่าย อัตราการเสียชีวิต และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด</p> 2024-09-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/271030 การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 2024-09-25T23:22:13+07:00 สมหมาย ชาน้อย pcukk04360@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ย้อนหลัง (Retrospective Study) จากเอกสาร รายงานฯที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR: Plan-Act-Observe-Reflect) 1 วงรอบ ระยะที่ 3 เป็นประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 140 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยได้รูปแบบ "BANPHAI MODEL" ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ: 1) Board: โครงสร้างคณะกรรมการ 2) Activity: กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรค 3) Network: การประสานเครือข่าย 4) Participation: การมีส่วนร่วมของชุมชน 5) Health Literacy and Entertainment: การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและกิจกรรมนันทนาการ 6) Awareness: การสร้างความตระหนัก 7) Integration: การบูรณาการทุกภาคส่วน ผลการประเมินพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) และมีภาพรวมความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับสูง รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มศักยภาพของชุมชนในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้กลไก พชอ. ได้ตามเป้าหมาย</p> 2024-10-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/270935 การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมวัณโรค จังหวัดขอนแก่น 2024-09-19T22:46:14+07:00 สาลินี ไวยนนท์ salineevai@gmail.com อดิเรก เร่งมานะวงษ์ salineevai@gmail.com เอ็มวิกา แสงขาติ แสงชาติ salineevai@gmail.com <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค จังหวัดขอนแก่น ประชากรเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานคลินิกวัณโรค จำนวน 50 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 380 คน และ 3) ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 200 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน สิงหาคม 2566 – พฤษภาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด คือ แบบสอบถามการดำเนินงานของบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง แบบสอบถามการดำเนินงานสำหรับ อสม. และแบบสอบถามสำหรับผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้แนวทางการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างก่อน - หลังพัฒนารูปแบบด้วยสถิติ Paired Sample t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดขอนแก่น ยังพบปัญหาความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การดูรักษา และการติดตามการกินยา ซึ่งจะต้องมีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตามสภาพปัญหาที่เปลี่ยนไป รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1) โครงสร้างรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ 2) การพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายสุขภาพ 3) การจัดรูปแบบการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม และ 4) การติดตามประเมินผลเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ ด้านผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 1) ความพึงพอใจของบุคลากรสาธารณสุข ก่อน – หลังพัฒนา 2) ความรู้และการมี ส่วนร่วมในการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ 3) ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการดูแลรักษาของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ก่อน – หลังพัฒนา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.001) สรุปได้ว่า รูปแบบการดำเนินงานที่พัฒนาขึ้น ทำให้เกิดการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ รวมถึงครอบครัวและชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ</p> 2024-10-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/271088 การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ด้วยเครือข่ายสุขภาพชุมชนเขตเมืองขอนแก่น 2024-09-19T22:08:02+07:00 จินตนา ทอนฮามแก้ว jintanathk2512@gmail.com วราวุธ กุลเวชกิจ jintanathk2512@gmail.com <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ 2) การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ 3) ประเมินผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ด้วยเครือข่ายสุขภาพชุมชนเขตเมือง กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ อาสาสมัครสาธารณสุข บุคลากรสาธารณสุข เก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ แนวทางสนทนากลุ่ม ดำเนินการ มกราคม ถึง มิถุนายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเปรียบเทียบความค่าเฉลี่ยความรู้ สถิติ Paired Samples t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านสถานการณ์ก่อนพัฒนาระบบหญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการน้อย ร้อยละ16.9 ฝากครรภ์ช้า ไม่มาฝากครรภ์ตามนัด ด้านอสม.พบว่าไม่มีแนวทางปฏิบัติชัดเจน 2) การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ประกอบด้วย 2.1) จัดระบบดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั้งในสถานบริการและชุมชนด้วยเครือข่ายสุขภาพ โดยชุมชนมีส่วนร่วม 2.2) พัฒนาแนวทางในการเข้าไปดูแลเฝ้าระวังสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และคู่มือดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์โดย อสม. 2.3) เพิ่มช่องทางการสื่อสาร 3) ประเมินผลลัพธ์พบว่า เกิดระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ด้วยเครือข่ายสุขภาพชุมชนเขตเมือง มีเครือข่ายอสม. และผลงานความครอบคลุมการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 40.4 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value = 0.001 ) เกิดจาก 3 องค์ประกอบ 1) การพัฒนาศักยภาพของผู้เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนาระบบบริการอย่างมีส่วนร่วมในการจัดทำแนวทางและนวัตกรรม และ 3) การติดตามประเมินผล สรุประบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ทำให้เกิด ผลลัพธ์ที่ดีกับทั้งผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ ชุมชน มีการขยายผลไปยังชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น 95 ชุมชน ข้อเสนอแนะ กระบวนการวิจัยนี้นำไปปรับใช้กับงานที่มีลักษณะใกล้เคียง เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p> 2024-10-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น