วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho
<p>วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) กรณีศึกษา (Case Study) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทัศน์ (Literature Review Article) ตลอดจนองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การแพทย์ฉุกเฉินและคุ้มครองผู้บริโภค ระบบสุขภาพและการประเมินผลโครงการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายด้านสุขภาพ</p>
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
th-TH
วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
2730-2490
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
-
ผลของรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสกลนคร
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/271126
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ทำการวิจัยในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 – มีนาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (STRIVE Model) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) S: Significance and objective ความสำคัญและวัตถุประสงค์ 2) T: Term and condition ข้อกำหนดและเงื่อนไข <br />3) R: Ready to startการเตรียมความพร้อม 4) I: Improve health literacy activity plan แผนกิจกรรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ 5) V: Verification and evaluation การตรวจสอบและการประเมินผล <br />6) E: Effective management การจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน อยู่ในระดับดีมาก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ ก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้ Independent t-test, Chi-square test และ Repeated measure ANOVA หลังจากดำเนินการตามรูปแบบ STRIVE Model พบว่า กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์สูงกว่าก่อนการทดลองและคงอยู่ต่อเนื่องในระยะติดตามผล 1 เดือน และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรนำ STRIVE model ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียน โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ</p>
ธญยธร แฝงฤทธิ์
จักรกฤษณ์ พลราชม
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-06
2024-12-06
6 4
e271126
e271126
-
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลกับความพึงพอใจของบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/271744
<p>งานวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ที่มีต่อการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคล และความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์กับความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ประชากร คือ บุคลากรของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 1,869 คน กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 327 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบวัดการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคล ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.75 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.50, S.D. = 0.29) ด้านการใช้ทรัพยากรบุคคล มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ในระดับมากที่สุด (= 4.50, S.D. = 0.29) ความพึงพอใจในการรับบริการต่องานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.49, S.D. = 0.34)ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการโดยรวมกับความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง (r = 0.89, p < .01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปวางแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ในงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ รวมทั้งส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาที่มีความทันสมัย </p>
ศุภวรรณ มาเมือง
เยาวเรศ ก้านมะลิ
พิชา คนกาญจน์
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-06
2024-12-06
6 4
e271744
e271744
-
ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดด้านอารมณ์ เด็กอายุ 3- 5 ปี อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272197
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาพตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กอายุ 3-5 ปี ในอำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น ระยะเวลาศึกษา เดือน มิถุนายน - กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ดูแลเด็กและเด็กอายุ 3-5 ปี รวมทั้งหมด 90 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินตรวจพัฒนาการเด็ก (Denver II) และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานภาพของผู้ดูแล (p-value= 0.017) รายได้ (p-value= 0.05) โดยเด็กที่มีผู้ดูแลที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท มีโอกาสเด็กมีความฉลาดด้านอารมณ์ต่ำ 6.51 เท่าของผู้ดูแลที่มีรายได้สูงกว่า 10,000 บาท (OR =6.51 , 95% CI of OR : 0.79 ถึง 53.0) และภาวะโภชนาการ (p-value= 0.01) ดังนั้น การสนับสนุนจากครอบครัวที่มีสถานภาพทางเศรษฐานะที่ดีสามารถส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านอารมณ์ของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรส่งเสริมภาวะโภชนาการและความสัมพันธ์ภายในครอบครัวในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย</p>
เสาวลักษณ์ จักรบุตร
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-11
2024-12-11
6 4
-
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับบิลิรูบินทางผิวหนังและระดับบิลิรูบินในเลือดในทารกเกิดก่อนกําหนดน้ำหนักตัวน้อยมาก
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272179
<p>การวัดค่าบิลิรูบินในเลือดเป็นมาตรฐานวินิจฉัยตัวเหลืองในทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยมาก แต่สร้างความเจ็บปวด จึงพัฒนาเครื่องมือวัดทางผิวหนังใช้คัดกรอง แต่ความน่าเชื่อถือในทารกกลุ่มนี้ไม่มีข้อสรุปชัดเจน การวิจัยเป็น cross-sectional ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าบิลิรูบินทางผิวหนังและในเลือดในทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยมาก ก่อนส่องไฟรักษา 74 รายวัดทางผิวหนังด้วย JM-105<sup>®</sup> ทุกครั้งที่วัดค่าในเลือดห่างกันไม่เกิน 30 นาที นำค่าที่วัดจาก2 วิธี วิเคราะห์ด้วยPearson correlation coefficient, Bland-Altman plot ผลศึกษาค่าในเลือดทางผิวหนังหน้าอกและหน้าผาก มีค่าเฉลี่ย 6.50±1.74 มก./ดล. 6.85±1.89 มก./ดล. และ6.92±1.62 มก./ดล. ความสัมพันธ์ระหว่างค่าในเลือดกับผิวหนังหน้าอกและหน้าผากมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (<em>r) </em>0.50 และ 0.62. Bland-Altman plot กระจายตัวส่วนใหญ่ในช่วงค่าเฉลี่ยบวกลบสองเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลต่างเฉลี่ย -0.35±1.83 มก./ดล. <br />limit of agreement -3.94 ถึง 3.24 มก./ดล., 95%CI -0.77 ถึง 0.08 สำหรับค่าในเลือดและค่าทางผิวหนังหน้าอก ส่วนหน้าผากมีผลต่างเฉลี่ย -0.42±1.45 มก./ดล. limit of agreement -3.262 ถึง 2.42 มก./ดล., 95%CI -0.76 ถึง -0.08 การศึกษาแสดงระดับบิลิรูบินก่อนส่องไฟรักษา วัดทางผิวหนังมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับในเลือด แต่สอดคล้องดีพอจะนำการวัดค่าทางผิวหนังมาใช้คัดกรองตัวเหลืองทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยมาก โดยไม่ต้องรอผลห้องปฏิบัติการ ลดการติดเชื้อและไม่เจ็บตัว แต่ยังต้องใช้การตรวจในเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย</p> <p> </p>
สำราญ วิมุตติโกศล
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-19
2024-12-19
6 4
e272179
e272179