วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho <p>วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) กรณีศึกษา (Case Study) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทัศน์ (Literature Review Article) ตลอดจนองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การแพทย์ฉุกเฉินและคุ้มครองผู้บริโภค ระบบสุขภาพและการประเมินผลโครงการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายด้านสุขภาพ</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> jkkpho.2564@gmail.com (วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น) jkkpho.2564@gmail.com (วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น) Fri, 06 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสกลนคร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/271126 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ทำการวิจัยในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 – มีนาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (STRIVE Model) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) S: Significance and objective ความสำคัญและวัตถุประสงค์ 2) T: Term and condition ข้อกำหนดและเงื่อนไข <br />3) R: Ready to startการเตรียมความพร้อม 4) I: Improve health literacy activity plan แผนกิจกรรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ 5) V: Verification and evaluation การตรวจสอบและการประเมินผล <br />6) E: Effective management การจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน อยู่ในระดับดีมาก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ ก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้ Independent t-test, Chi-square test และ Repeated measure ANOVA หลังจากดำเนินการตามรูปแบบ STRIVE Model พบว่า กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์สูงกว่าก่อนการทดลองและคงอยู่ต่อเนื่องในระยะติดตามผล 1 เดือน และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรนำ STRIVE model ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียน โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ</p> ธญยธร แฝงฤทธิ์, จักรกฤษณ์ พลราชม Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/271126 Fri, 06 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลกับความพึงพอใจของบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/271744 <p>งานวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ที่มีต่อการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคล และความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์กับความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ประชากร คือ บุคลากรของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 1,869 คน กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 327 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบวัดการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคล ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.75 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.50, S.D. = 0.29) ด้านการใช้ทรัพยากรบุคคล มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ในระดับมากที่สุด (= 4.50, S.D. = 0.29) ความพึงพอใจในการรับบริการต่องานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.49, S.D. = 0.34)ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการโดยรวมกับความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง (r = 0.89, p &lt; .01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปวางแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ในงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ รวมทั้งส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาที่มีความทันสมัย </p> ศุภวรรณ มาเมือง, เยาวเรศ ก้านมะลิ, พิชา คนกาญจน์ Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/271744 Fri, 06 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดด้านอารมณ์ เด็กอายุ 3- 5 ปี อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272197 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาพตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กอายุ 3-5 ปี ในอำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น ระยะเวลาศึกษา เดือน มิถุนายน - กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ดูแลเด็กและเด็กอายุ 3-5 ปี รวมทั้งหมด 90 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินตรวจพัฒนาการเด็ก (Denver II) และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานภาพของผู้ดูแล (p-value= 0.017) รายได้ (p-value= 0.05) โดยเด็กที่มีผู้ดูแลที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท มีโอกาสเด็กมีความฉลาดด้านอารมณ์ต่ำ 6.51 เท่าของผู้ดูแลที่มีรายได้สูงกว่า 10,000 บาท (OR =6.51 , 95% CI of OR : 0.79 ถึง 53.0) และภาวะโภชนาการ (p-value= 0.01) ดังนั้น การสนับสนุนจากครอบครัวที่มีสถานภาพทางเศรษฐานะที่ดีสามารถส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านอารมณ์ของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรส่งเสริมภาวะโภชนาการและความสัมพันธ์ภายในครอบครัวในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย</p> เสาวลักษณ์ จักรบุตร Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272197 Wed, 11 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับบิลิรูบินทางผิวหนังและระดับบิลิรูบินในเลือดในทารกเกิดก่อนกําหนดน้ำหนักตัวน้อยมาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272179 <p>การวัดค่าบิลิรูบินในเลือดเป็นมาตรฐานวินิจฉัยตัวเหลืองในทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยมาก แต่สร้างความเจ็บปวด จึงพัฒนาเครื่องมือวัดทางผิวหนังใช้คัดกรอง แต่ความน่าเชื่อถือในทารกกลุ่มนี้ไม่มีข้อสรุปชัดเจน การวิจัยเป็น cross-sectional ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าบิลิรูบินทางผิวหนังและในเลือดในทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยมาก ก่อนส่องไฟรักษา 74 รายวัดทางผิวหนังด้วย JM-105<sup>®</sup> ทุกครั้งที่วัดค่าในเลือดห่างกันไม่เกิน 30 นาที นำค่าที่วัดจาก2 วิธี วิเคราะห์ด้วยPearson correlation coefficient, Bland-Altman plot ผลศึกษาค่าในเลือดทางผิวหนังหน้าอกและหน้าผาก มีค่าเฉลี่ย 6.50±1.74 มก./ดล. 6.85±1.89 มก./ดล. และ6.92±1.62 มก./ดล. ความสัมพันธ์ระหว่างค่าในเลือดกับผิวหนังหน้าอกและหน้าผากมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (<em>r) </em>0.50 และ 0.62. Bland-Altman plot กระจายตัวส่วนใหญ่ในช่วงค่าเฉลี่ยบวกลบสองเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลต่างเฉลี่ย -0.35±1.83 มก./ดล. <br />limit of agreement -3.94 ถึง 3.24 มก./ดล., 95%CI -0.77 ถึง 0.08 สำหรับค่าในเลือดและค่าทางผิวหนังหน้าอก ส่วนหน้าผากมีผลต่างเฉลี่ย -0.42±1.45 มก./ดล. limit of agreement -3.262 ถึง 2.42 มก./ดล., 95%CI -0.76 ถึง -0.08 การศึกษาแสดงระดับบิลิรูบินก่อนส่องไฟรักษา วัดทางผิวหนังมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับในเลือด แต่สอดคล้องดีพอจะนำการวัดค่าทางผิวหนังมาใช้คัดกรองตัวเหลืองทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยมาก โดยไม่ต้องรอผลห้องปฏิบัติการ ลดการติดเชื้อและไม่เจ็บตัว แต่ยังต้องใช้การตรวจในเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย</p> <p> </p> สำราญ วิมุตติโกศล Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272179 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเลือดออกในสมองหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/271982 <p>การวิจัยแบบย้อนหลังจากเหตุไปหาผล (Retrospective cohort study) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับการเกิดเลือดออกในสมองหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่างปีงบประมาณ 2564 - 2566 โดยพรรณนาลักษณะผู้ป่วย วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ของปัจจัยในการศึกษา ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่เกิดและไม่เกิดเลือดออกในสมองหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดโดย Chi square หรือ Fisher’s exact test และ Student t-test หรือ Wilcoxon Rank Sum test วิเคราะห์ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับการเกิดภาวะดังกล่าว โดยวิเคราะห์แบบตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไป (Generalized Linear Model, GLMs) พบว่า อุบัติการณ์การเกิดเลือดออกในสมองหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเท่ากับร้อยละ 12.43 (95% CI: 8.49, 17.38) พบว่าปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับการเกิดเลือดออกในสมองหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ค่า WBC (ARR= 1.01, 95% CI: 1.01, 1.01) ค่า INR (ARR= 10.50 ,95% CI: 2.07, 53.34) และ คะแนน NIHSS ที่สูงขึ้น (ARR= 1.07,95% CI: 1.01, 1.14)</p> รัญจนา ธนานุวัฒน์ศักดิ์ Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/271982 Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 5 ในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรัง โรงพยาบาลโคกสูง จังหวัดสระแก้ว https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272211 <p>โรคไตเสื่อมเรื้อรัง (chronic kidney disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่วโลก เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงโดยเฉพาะการรักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้าย โรงพยาบาลโคกสูง จังหวัดสระแก้ว (รพช.ขนาด 30 เตียง) มีผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรังเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกปี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 5 (CKD stage 5)ในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรัง ศึกษาแบบ retrospective cohort study แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการเกิดโรคด้วย risk ratio (95% CI) ในการวิเคราะห์ตัวแปรอิสสระและ adjusted odds ratio (95% CI) ใน multiple logistic regression ผลการศึกษาในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2567 ทั้งสิ้นจำนวน 111 คน เป็นผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 5 จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 65.76 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 5 ในการวิเคราะห์ตัวแปรอิสระอย่างมีนัยสำคัญ 3 ปัจจัย ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (HT) (RR = 2.48, 95% CI = 1.07, 5.75), ภาวะ Anemia (RR = 1.68, 95% CI = 1.13, 2.51) และโรคไขมันในเลือดสูง (DLP) (RR = 1.48, 95% CI = 1.07, 2.05) ส่วนปัจจัยที่มีนัยสำคัญในการวิเคราะห์ multiple logistic regression เพียงปัจจัยเดียว ได้แก่ ภาวะ Anemia (adjusted OR = 4.25, 95%CI= 1.35 -13.40) ข้อเสนอแนะควรเฝ้าระวังการถดถอยของไตสู่ภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 5 อย่างใกล้ชิดในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่มีภาวะซีด (Anemia) ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเลือกการรักษาตามอาการ ดังนั้น ควรพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (palliative care), รักษาแบบแพทย์ทางเลือกเพื่อรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่จะมีจำนวนสูงขึ้นในอนาคต</p> สุกฤษฎิ์ เลิศสกุลธรรม Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272211 Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลภาครัฐ จังหวัดเพชรบูรณ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272402 <p>การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลภาครัฐ จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติด 40 คน บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติด 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนารูปแบบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การวางแผนพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติดได้ดำเนินการวิเคราะห์ปัญหา แนวทางปฏิบัติเดิมพร้อมทบทวนแนวทางแก้ไขร่วมกับผู้รับชอบที่เกี่ยวข้อง 2) การปฏิบัติตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ระยะเวลา 6 สัปดาห์ 3) การสังเกตและติดตามผล ประเมินจากข้อมูลเวชระเบียนการรักษาของกลุ่มเป้าหมาย ผลคือการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน หลังนำรูปแบบมาใช้กลุ่มทดลองมีผู้กลับมารักษาซ้ำ 17 คน ซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุมที่มีผู้กลับมารักษาซ้ำ 9 คนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.05) และการกลับมาใช้เมทแอมเฟตามีนซ้ำภายใน 6 สัปดาห์หลังนำรูปแบบมาใช้กลุ่มทดลองมีผู้กลับมาใช้เมทแอมเฟตามีนซ้ำ 3 คน ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (5 คน) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.05) และ 4) การสะท้อนผลคืนข้อมูลการรักษาแก่หน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การศึกษานี้แนะนำให้ส่งเสริมระบบการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติดเชิงรุกเพิ่มแรงจูงใจให้อยู่ในระบบการบำบัด ปรับปรุงการเข้าถึงบริการ ลดการตีตรา และจัดการดูแลแบบเฉพาะบุคคล ควรปรับใช้รูปแบบนี้ในอำเภออื่นของจังหวัดเพชรบูรณ์ และศึกษาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม</p> ศุภสิทธิ์ สุขี Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272402 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน จังหวัดมหาสารคาม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272268 <p>วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบและประเมินผล การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม คัดเลือกผู้ร่วมดำเนินการวิจัยแบบเจาะจง จำนวน 156 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ 100 คน ผู้ดูแล 40 คน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 16 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบคัดกรองความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม การสนทนากลุ่ม และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ขาดความรู้ความเข้าใจและขาดแนวทางในการป้องกันการหกล้มมีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ มีประวัติเคยหกล้ม และจัดที่พักอาศัยไม่เหมาะสม 2) การพัฒนารูปแบบเน้นการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน มี 7 กิจกรรม คือ (1) คัดกรองความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม (2) กำหนดแนวทางปฏิบัติ (3) พัฒนาคู่มือการเรียนรู้ (4) อบรมเชิงปฏิบัติการ (5) เยี่ยมบ้าน (6) พัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และ (7) ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 3) ผลลัพธ์ พบว่า (1) ผลทดสอบการเดินไปกลับ 3 เมตร (TUGT) ก่อนและหลังมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี กลุ่มที่ใช้เวลาเดิน มากกว่า 20 วินาที ลดลงจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 10 กลุ่มที่ใช้เวลาเดิน 13.50-19.99 วินาที ลดลง จากร้อยละ 85 เป็นร้อยละ 30 และกลุ่มที่ใช้เวลาเดิน น้อยกว่า 13.50 วินาที เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 (2) เกิดแนวทางปฏิบัติและนวัตกรรมป้องกันพลัดตกหกล้ม คือ อุปกรณ์กายบริหารเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (3) เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ 3C 2E 2P</p> ทิพวรรณ โคตรสีเขียว, ดิษฐพล ใจซื่อ, กาญจนา จันทะนุย, พิสมัย ศรีทำนา Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272268 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการรู้ดิจิทัลของบุคลากรโรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272496 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรู้ดิจิทัลของบุคลากรโรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 122 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.25 มีอายุเฉลี่ย 37.85 ปี(S.D.=9.7) การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 74.59 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 33.61 และเป็นบุคลากรสายสนับสนุน ร้อยละ 33.61 เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 58.20 การรู้ดิจิทัลของบุคลากรโรงพยาบาลพระยืน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=2.22, S.D.=0.65) จำแนกรายด้านพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ประกอบด้วย พุทธิพิสัย (=2.59, S.D.=0.69) การวิเคราะห์ (=2.51, S.D.=0.75) การประเมิน (=2.16, S.D.=0.99) การทํางานเป็นทีม (=2.35, S.D.=0.88) การมีจริยธรรม (=2.43, S.D.=0.87) การรู้กฎหมาย (=2.61, S.D.=0.80) การป้องกันตนเอง (=2.62, S.D.=0.75) มีเพียงด้านการนําเสนอ อยู่ในระดับต่ำ (=1.61, S.D.=1.11) ผลการวิเคราะห์ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายการรู้ดิจิทัลของบุคลากรโรงพยาบาลพระยืน พบว่า ความสามารถบุคลากร รูปแบบการบริหาร และระบบการปฏิบัติงาน สามารถร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 69 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value &lt;0.001, 0.001 ,0.001, 0.003)</p> สุภาวดี เกาวนันทน์, จุฑาทิพย์ หารพะยอม Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/272496 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700