วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat
<p>วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ ผลการวิจัย ทางด้านการพัฒนาสุขภาพ อันเป็นกลไกให้ประชาชน มีสุขภาวะที่ดีและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเป็นแหล่งให้บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมถึงประชาชนทั่วไป เปิดรับบทความวิจัยต้นฉบับ และบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับด้านการแพทย์สาขาเวชกรรมป้องกัน การสาธารณสุข การพยาบาล การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยบทความทุกเรื่องผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง (double blinded) อย่างน้อยจำนวน 3 ท่าน</p>
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
th-TH
วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ
2822-0927
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
-
การประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/266347
<p><em>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-</em><em>19</em><em> และ (2) เปรียบเทียบผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 3 ช่วงเวลา คือ ก่อน ระหว่าง และหลังประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย ศึกษาในประชากร 2 กลุ่ม คือ (1) คณะทำงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน </em><em>43 คน และ(2) ผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกโรคเรื้อรัง ใช้ข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในระบบ HOSxP ของโรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5,550 คน โดยการศึกษาทั้งประชากร เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามครอบคลุมตามกรอบการประเมินซิปโมเดล แบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้ (1) ข้อมูลทั่วไป (2) ด้านบริบท (3) ด้านปัจจัยนำเข้า (4) ด้านกระบวนการ (5) ด้านผลผลิต และแบบบันทึกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยเบาหวานวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ โดยกำหนด ค่าระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 </em></p> <p><em>ผลการศึกษา พบว่า (1) ผลการประเมินระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบท อยู่ในระดับดี ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับปานกลาง และ (2) สถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานโดยเปรียบเทียบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 3 ช่วงเวลา คือ ก่อน ระหว่าง และหลังประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย พบว่า ผลการเปรียบเทียบระดับน้ำตาลปลายนิ้ว (</em><em>FBS) และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ของผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 3 ช่วงเวลาไม่แตกต่างกัน แต่ผลการเปรียบเทียบอัตราการกรองไต (eGFR) ของผู้ป่วยเบาหวานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงระบบการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น</em></p>
วรรณฤดี กู้พิมาย
ธีระวุธ ธรรมกุล
นิตยา เพ็ญศิรินภา
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
21
37
-
ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดจันทบุรี
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/267152
<p><em>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร สภาพการทำงาน ความสมดุลและปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวด้านการดูแลสุขภาพ ครอบครัว และสังคมของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดจันทบุรี เป็น การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสาธารณสุข </em><em>506 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพการทำงาน และความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .782 และ.797 รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงมิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวกับลักษณะทางประชากร ด้วยสถิติ Independent t-test และ Oneway ANOVA วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวด้านการดูแลสุขภาพ ครอบครัว และสังคม ด้วยสถิติ Multiple Regression Analysis แบบ Stepwise </em></p> <p><em>ผลการศึกษา พบว่า (1) บุคลากรสาธารณสุขที่มีเพศ และลักษณะตำแหน่งงานต่างกันจะมีความสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวด้านครอบครัวแตกต่างกัน อายุที่ต่างกันจะมีความสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวด้านการดูแลสุขภาพแตกต่างกัน และประเภทการทำงานต่างกันจะมีความสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวด้านสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ </em><em>p<.05 (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ได้แก่ ด้านนโยบายการทำงาน ด้านลักษณะการทำงาน ด้านปัญหาการทำงาน ด้านทรัพยากร และด้านการเรียนรู้ของตน โดยมีอิทธิพลทางบวก และสามารถทำนายสมดุลชีวิต การทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ร้อยละ 44.7</em></p>
บัญชา พร้อมดิษฐ์
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
38
53
-
การพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ ภายใต้การดำเนินงานของสำนักวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/267424
<p><em>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) การ</em><em>วิเคราะห์นโยบาย สถานการณ์ ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานด้านข้อมูลสุขภาพ (2) การออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ (3) การประเมินผลการพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ ภายใต้การดำเนินงานของสำนักวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ 3 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับผิดชอบการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จำนวน 1 คน ผู้รับผิดชอบวารสารวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 1 คน คณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ จำนวน 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความวิจัยต้นฉบับและบทความวิชาการ จำนวน 3 คน และผู้ใช้ประโยชน์คลังข้อมูลด้านสุขภาพ จำนวน 73 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการจำแนก แยกแยะ จัดหมวดหมู่ข้อมูลที่เป็นข้อค้นพบ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติ</em><strong><em> </em></strong><em>F – test </em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า (1) นโยบายด้านสุขภาพในทุกระดับมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาผนวกในการดำเนินงาน ด้าน</em><em>ปัญหาการใช้งานคลังข้อมูลด้านสุขภาพยังเป็นการดำเนินงานด้วยเอกสาร ซึ่งบางครั้งเอกสารไม่ครบถ้วน สูญหาย และต้องใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาเอกสาร แนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ ภายใต้การดำเนินงานของสำนักวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ เพื่อให้สามารถ จัดเก็บ เผยแพร่ และสืบค้นข้อมูลด้านสุขภาพ (2) ออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ ภายใต้การดำเนินงานของสำนักวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโครงสร้างคลังข้อมูล 6 เมนูหลัก ได้แก่ หน้าหลัก การเข้าสู่ระบบ หน่วยเผยแพร่และตีพิมพ์ผลงาน หน่วยรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ ฐานข้อมูลวิจัย และเวทีวิชาการ โดยผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูล และติดตามผลการดำเนินงานได้ด้วยตนเอง (3) การประเมินผลการพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ พบว่า โดยภาพรวมผู้เกี่ยวข้องมีความ พึงพอใจต่อ การพัฒนาคลังข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลมีความถูกต้อง เหมาะสมมีประโยชน์ในการเลื่อนระดับตำแหน่งทางการวิชาการ และยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ (</em><em>KPI) ด้านงานวิจัยของหน่วยงานระดับพื้นที่ ข้อเสนอแนะ ควรนำคลังข้อมูลด้านสุขภาพไปพัฒนาต่อเนื่อง และขยายผลใช้ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งอื่น </em></p>
อัครเดช วงศ์กีรติกุล
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
54
76
-
การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการคุ้มครองสิทธิด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/268575
<p><em>การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการคุ้มครองสิทธิด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยเป็น </em><em>4 ระยะ คือ (1) การศึกษาสถานการณ์ปัญหา ปัจจัยสำคัญ (2) พัฒนารูปแบบ (3) ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ (4) การประเมินผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเลือกแบบเจาะจงผู้บริหารโรงพยาบาล 9 คน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 90 คน และสุ่มอย่างเป็นระบบผู้ให้บริการ 233 คน เครื่องมืองานวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน Paired Samples t-test, Chi-square และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) </em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า ข้อพิพาททางการแพทย์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ.</em><em>2564-2566 โดยอายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน รายได้ ทัศนคติ และองค์ประกอบความปลอดภัย มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการ (p-value<0.001) พบปัญหาทักษะด้านกฎหมายของผู้ให้บริการ นโยบาย การคุ้มครองสิทธิด้านความปลอดภัยผู้ให้บริการไม่ชัดเจน ผลการพัฒนาได้รูปแบบ PROMISE Model ที่คุ้มครองความปลอดภัย 3 ระยะ คือ (1) ระยะก่อนเกิดเหตุเป็นการป้องกัน (P: prevention) (2) ขณะเกิดเหตุ มีการส่งต่อ (R : referral) ให้ทีมปฏิบัติ (O : operation teams) สู่การปฏิบัติ (M : management) (3) ภายหลังเกิดเหตุช่วยเหลือด้านจิตใจ การไกล่เกลี่ย ข้อกฎหมาย เยียวยาตามสิทธิ (S : Support) และประเมินผล (E : evaluation) ผลการประเมินรูปแบบ “PROMISE Model” โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองใช้พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ความเข้าใจ ทัศคติ องค์ประกอบด้านความปลอดภัย และสมรรถนะการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และพึงพอใจในองค์ประกอบ ทีมปฏิบัติการ ความชัดเจน ปฏิบัติได้จริง และเชื่อมั่นในการคุ้มครองสิทธิด้านความปลอดภัย และพบว่าสัดส่วนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) จึงควรนำไปกำหนดนโยบายระดับจังหวัดเพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้ให้บริการอย่างเป็นรูปธรรม</em></p>
พชร มาเทียน
ธิวาพร จันทร์ขาว
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
77
98
-
การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด รองรับประมวลกฎหมายยาเสพติดจังหวัดฉะเชิงเทรา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/268129
<p> <em>การวิจัยเรื่องการพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด รองรับประมวลกฎหมายยาเสพติดจังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อ</em><em>พัฒนากลไกและประเมินผล การขับเคลื่อนระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดจังหวัดฉะเชิงเทรา ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. </em><em>2564 รูปแบบเป็น</em><em>การวิจัยเชิงนโยบาย </em><em>(policy research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (mixed method) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดจากข้อมูล การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด (บสต.) จังหวัดฉะเชิงเทรา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 1,915 คน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจำนวน 50 คนโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจและ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา </em></p> <p><em>ผลการศึกษา พบว่า การขับเคลื่อนระบบบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด รองรับประมวลกฎหมายยาเสพติด จังหวัดฉะเชิงเทราประกอบด้วย </em><em>7 ประเด็น 19 กลไกขับเคลื่อนและเมื่อประเมินผลการขับเคลื่อนระบบบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) พบว่าคะแนนเฉลี่ยการขับเคลื่อนระบบบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด จังหวัดฉะเชิงเทราในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (</em><em> </em><em>= 3.63, S.D.=0.71) โดยด้านสภาพแวดล้อม มีการปฏิบัติมากที่สุด สำหรับด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตมีการปฏิบัติในระดับมาก ซึ่งผลการศึกษาสามารถ</em><em>ยกระดับระบบบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดจังหวัดฉะเชิงเทราให้สอดคล้องกับภารกิจตาม</em><em>ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. </em><em>2564</em><em> ส่งผลให้เกิดนโยบาย มาตรการแนวทางที่เป็นรูปธรรมเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ</em></p>
ยุพิน หงษ์วะชิน
โฆษิต ชุมเกษียร
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
99
113
-
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/268444
<p><em>ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดเป็นปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ร้ายแรงทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของทารกแรกเกิด ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดมีสาเหตุจากปัจจัยทางด้านมารดา ทารก และกระบวนการคลอดบุตร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านมารดา ทารก บริการสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด การวิจัยนี้เป็น </em><em>Retrospective study ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของสตรีที่มาคลอดบุตร ปี พ.ศ. 2563 - 2565 รวบรวมข้อมูลปัจจัยด้านมารดา ทารก บริการสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย<u>+</u>ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ independent T-test </em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า สตรีที่มาคลอดบุตร จำนวน </em><em>276 คน เปรียบเทียบกลุ่มสตรีคลอดบุตรที่มีภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดและไม่มีภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด พบว่า</em><em>อายุครรภ์ </em><em>< 37 สัปดาห์ ร้อยละ 18.1 และ ร้อยละ 10.1 ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.039) </em><em>สตรีคลอดบุตรที่มีภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดมีความดันโลหิตสูง ร้อยละ </em><em>11.6 มากกว่าสตรีคลอดบุตรที่ไม่มีภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ร้อยละ 6.4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </em><em>(</em><em>p </em><em>= </em><em>0.043) ส่วนนำทารกเป็นศีรษะ พบร้อยละ 88.2 และ ร้อยละ 89.9 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </em><em>(</em><em>p = 0.001) การเสียเลือดตอนคลอด 395.00 ± 299.30 และ 321.52 ± 233.61 ซีซี (p = 0.024) และวิธีการคลอดด้วยการดูดสุญญากาศและการผ่าตัดคลอดร้อยละ 71.0 และร้อยละ 51.1 (p = 0.001)</em><em> สรุปว่า อายุครรภ์ ความดันโลหิตสูงของมารดา ส่วนนำของทารกการเสียเลือดตอนคลอด และวิธีการคลอด ที่ต่างกัน ก่อให้เกิดการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดที่ต่างกัน </em></p>
ปัทมา ทองดี
พรทิพย์ นิ่มขุนทด
ภาณุพันธ์ วิเศษโวหาร
และคณะ
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
114
133
-
การพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์แบบบูรณาการ ในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตในภาวะวิกฤต จังหวัดระยอง
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/269229
<p><em>การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบ ประเมินผลรูปแบบบริการการแพทย์แบบบูรณาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตในภาวะวิกฤต ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยตามรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ </em><em>ขั้นที่ 1 การวางแผน ขั้นที่ 2 การปฏิบัติ </em><em>ขั้นที่ 3 การสังเกตผล ขั้นที่ 4 การสะท้อนกลับ </em><em>โดยใช้</em><em>การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม</em> <em>การสัมภาษณ์เชิงลึก และ การสนทนากลุ่ม</em> <em>ดำเนินการวิจัยในพื้นที่อำเภอวังจันทร์ และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง</em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า ทั้งสองอำเภอให้ความสำคัญกับการจัดระบบบริการดูแลช่วยเหลือ นำส่งและรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตในภาวะวิกฤตว่าเป็นผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาระบบ ระบบบริการสุขภาพ ก่อนเกิดเหตุ มีการพัฒนาให้ อสม.และแกนนำชุมชน เฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เน้นถึงสัญญาณเตือนก่อนคลุ้มคลั่งและการใช้แบบประเมิน OAS มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นพี่เลี้ยง ระยะเกิดเหตุ มีแนวทางการประสานงานตั้งแต่ระดับชุมชน สายด่วน 191 และสายด่วน 1669 เพื่อร่วมปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุเป็นรายกรณีการนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลและ การเตรียมรับผู้ป่วย ณ ห้องฉุกเฉิน ไปจนถึงการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตในภาวะวิกฤตในสถานพยาบาล ระบบชุมชนจัดการตนเอง ชุมชนมีมาตรการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง จัดทำขั้นตอนการร้องขอความช่วยเหลือ เมื่อผู้ป่วยมีอาการคลุ้มคลั่ง อาละวาด ชุมชนเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจให้ ญาติและผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยงรับรู้ถึงสัญญาณเตือนก่อนเกิดอาการคลุ้มคลั่ง อาละวาด รวมไปถึงการติดตามการกินยา เยี่ยมบ้าน ดำเนินการบูรณาการตามแนวทางชุมชนเป็นฐาน (CBTx) และโครงการชุมชนยั่งยืน ลงพื้นที่ติดตามด้วยภาคีเครือข่ายสหวิชาชีพและเสริมพลังเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงหลีกเลี่ยงการกลับไปใช้สุราและสารเสพติด มีการนัดติดตามอย่างใกล้ชิดในกลุ่มที่ประเมินแล้วมีความเสี่ยงต่อการกลับไปใช้สารเสพติด โดยการ VDO call สอบถามและให้คำปรึกษา ให้กำลังใจโดยพยาบาลที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา</em></p>
อารยา ผ่องแผ้ว
สุภัชเขม สมสินนกุล
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
134
153
-
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ในการป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/269855
<p><em>การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์การบริหารจัดการการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (2) </em><em>การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ในการป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (3) การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโดยเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ในการป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ </em><em>(1) </em><em>นักเรียนที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 </em><em>จำนวน 420 คน</em><em> (2) คณาจารย์</em><em> จำนวน 12 คน </em><em>(3) ผู้ปกครองนักเรียน </em><em>จำนวน 12 คน </em><em>(4) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข </em><em>จำนวน 9 คน</em> <em>(5) คณะกรรมการของโรงเรียน จำนวน 12 คน </em><em>เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม</em> <em>การสนทนากลุ่ม </em><em>และ</em><em>การสัมภาษณ์เชิงลึก </em><em>การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล</em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า (1) </em><em>ทั้ง 3 โรงเรียน จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร ได้รับงบประมาณสนับสนุนในรูปของการจัดโครงการ มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการสูบบุหรี่ให้กับนักเรียน และมอบหมายให้คุณครูผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยขอความร่วมมือจากเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ดำเนินงานร่วมกัน ขณะเดียวกันนักเรียนหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น (2) การพัฒนารูปแบบฯ ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องมีความชัดเจนในการบริหารจัดการการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียน ทั้งในด้านกำลังคน ด้านงบประมาณ ด้านวิธีการ และด้านการจัดการและควรเปิดโอกาสให้เครือข่ายสุขภาพเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน (3) การประเมินผลรูปแบบฯ การดำเนินงานภายใต้ </em><em>K-YOUTH model โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก (<strong>=</strong>3.90, S.D. =.66) และมีความต้องการอยู่ที่ระดับมากที่สุด (<strong>=</strong>4.24, S.D. =.62) ส่วนผู้เกี่ยวข้องให้ความเห็นว่า สามารถใช้งานได้จริง มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในบริบทที่ใกล้เคียงจังหวัดนครราชสีมาได้ ข้อเสนอแนะ คือ โรงเรียนควรหามาตรการควบคุมการจำหน่ายบุหรี่ให้กับนักเรียนบริเวณโดยรอบโรงเรียน และควรเปิดโอกาสให้เครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่มีบทบาทในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น </em></p>
อนัน โกนสันเทียะ
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
154
175
-
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ภายหลังการถ่ายโอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/269784
<p><em>การวิจัยเรื่องนี้เป็น</em><em>การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อ</em><em>วิเคราะห์สภาพปัจจุบันในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ พัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ และประเมินผลระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา </em><em>กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ จำนวน </em><em>34 คน </em><em>ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในทีมสุขภาพปฐมภูมิระดับอำเภอ </em><em>จำนวน </em><em>102 คน</em> <em>ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในทีมสุขภาพปฐมภูมิระดับตำบล จำนวน </em><em>17 คน</em><em> ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในทีมสุขภาพปฐมภูมิระดับชุมชน จำนวน </em><em>17 คน</em><em> และกลุ่มผู้รับบริการจากทีมสุขภาพปฐมภูมิ </em><em>5 กลุ่ม จํานวน 85 คน</em><em>เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ </em><em>การวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม </em><em>แบบแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ </em><em>แบบติดตามเยี่ยมพื้นที่</em><em> แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ</em><em> ส่วน</em><em>การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล</em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลการประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ด้านบริบท ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (</em><em>M = 3.94, SD = 0.61) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.60, S.D. = 0.60) ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.64,S.D.= 0.58) ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 0.62, S.D. = 0.47) ในด้านอุปสรรค ได้แก่ ด้านบุคลากร กระบวนการทำงานในพื้นที่มีมากขึ้น บุคลากรไม่เพียงพอต่อการดําเนินงาน </em><em>(2) การพัฒนารูปแบบระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิฯ ค้นพบปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย ต้องมีภาวะผู้นำที่แท้จริง สร้างคุณลักษณะที่มีความพร้อมต่อการพัฒนา</em> <em>ต้องมีการบริหารและการจัดการทีมสุขภาพปฐมภูมิอย่างเป็นระบบและบูรณาการ ต้องมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ต้องทำงานตามกระบวนการ โดยยึดแผนและเป้าหมายที่ตั้งไว้ และต้องมีรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิ</em><em> โดยรูปแบบการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ประกอบด้วย </em><em>1 เป้าหมาย 4 ด้าน 16 มาตรการ </em><em>(3) การประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมยังอยู่ในระดับมาก (</em><em>M = 4.07, S.D. = 0.49) และผลการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.29, S.D.=0.61) </em><em>ข้อเสนอแนะ ควรสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพ ระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ และควรเพิ่มช่องการสื่อสารที่หลากหลาย</em><em> </em></p>
พัฒฑิกรณ์ ทองคำ
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
176
198
-
ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนานโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวของประเทศไทย
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/269487
<p><em>การวิจัยเรื่องนี้เป็น</em><em>การวิจัยและพัฒนา</em><em> โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรค ปัจจัยและองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินงาน (2) พัฒนาข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนานโยบาย </em><em>30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว </em><em>(3) ประเมินผลข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนานโยบาย </em><em>30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวของประเทศไทย </em><em>กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในจังหวัดนำร่องระยะที่ </em><em>1 และระยะที่ 2 รวม จำนวน 8 จังหวัด</em> <em>จำนวน </em><em>48 คน</em> <em>บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในแต่ละระดับ จำนวน </em><em>56 คน</em><em> และ</em><em>ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย</em><em>ใน </em><em>4 จังหวัดนำร่อง</em><em> จำนวน </em><em>1,325 คน</em><em> เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ </em><em>การวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การประชุมระดมสมอง และแบบประเมิน </em><em>การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล</em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า (1) ทุกจังหวัดให้ความสำคัญในเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของหน่วยบริการทุกระดับ ปัญหาอุปสรรค เช่น การยืนยันตัวตนของประชาชนยังไม่ถึงเป้าหมาย เนื่องจากประชาชนบางกลุ่มยังไม่เห็นความสำคัญ เป็นต้น ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน เช่น การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการในทุกระบบที่สะดวกรวดเร็วมีประสิทธิภาพ เป็นต้น (2) การพัฒนาข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ ดำเนินการ วิเคราะห์ </em><em>SWOT, SPIDER CHART, TOWS MATRIX นำไปปฏิบัติในจังหวัดนำร่องระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ติดตามกำกับ พัฒนาในระดับพื้นที่ ได้ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาฯ ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย โดยมุ่งหวังให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพ ซึ่งมี 8 ยุทธศาสตร์ มาตรการดำเนินการ จำนวน 33 มาตรการ และตัวชี้วัดในการควบคุมกำกับประเมินผล จำนวน 23 ตัวชี้วัด (3) การประเมินผลยุทธศาสตร์ฯ พบว่าด้านความถูกต้องของยุทธศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.25, S.D = 0.54) ด้านความเหมาะสม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.20, S.D= 0.54) ด้านความเป็นไปได้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.41, S.D= 0.60) ส่วนการประเมินผลความสำเร็จผลการดำเนินงาน 10 ด้าน พบว่ามีผลสำเร็จเพิ่มขึ้นในทุกด้าน ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา 30 รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ระดับประเทศ เพื่อให้ทุกจังหวัดได้นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน</em></p>
สุนันทา กาญจนพงศ์
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
199
219
-
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ภายใต้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/269852
<p><em>การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน สภาพปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (3) ประเมินผลรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพ ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ภายใต้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ </em><em>(1) </em><em>สาธารณสุขอำเภอที่มีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน </em><em>27 คน และเป็นผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอด้านบริหารและผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอด้านวิชาการ จำนวน 54 คน </em><em>เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย </em><em>การวิเคราะห์เอกสารการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่มการสังเกตพฤติกรรมแบบไม่มีส่วนร่วม</em> <em>การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนก และจัดกลุ่มข้อมูล</em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า (1) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สามารถส่งคืนที่ดินและส่งคืนอาคารและสิ่งปลูกสร้างของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ่ายโอนฯ แก่กรมธนารักษ์ ได้เรียบร้อย จำนวน </em><em>42 แห่ง (23.07%) ส่วนการบริหารแผนงานด้านสุขภาพ ให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพประจำปีร่วมกันระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (2) การพัฒนารูปแบบฯ พบว่า สาธารณสุขอำเภอ มีบทบาทหน้าที่ บริหารจัดการด้านงบประมาณสุขภาพ, บริหารจัดการด้านบุคลากรสุขภาพ, บริหารจัดการด้านสินทรัพย์ พัสดุ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง,บริหารจัดการด้านระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข, บริหารจัดการด้าน การส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรค,บริหารจัดการ ด้านแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ, ประสานงานและการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่น, บริหารจัดการระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ,ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (3) การประเมินผลรูปแบบฯ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (</em><em> = 4.05, S.D. = 0.07) การประเมินผลสำเร็จจากตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านสาธารณสุข เช่น การเบิก-จ่ายงบประมาณของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทันเวลา มีผลงานเพิ่มขึ้นจาก 20 แห่งเป็นครบทุกแห่ง (ร้อยละ 100) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพ มีผลงานเพิ่มขึ้นจาก 19 แห่งเป็นครบทุกแห่ง (ร้อยละ 100 ) และหน่วยงานสาธารณสุขอำเภอผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานการพัฒนาระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน มีผลงานเพิ่มขึ้นจาก 25 แห่งครบทุกแห่ง (ร้อยละ 100) ข้อเสนอแนะ คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ควรเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการสนับสนุนรูปแบบการบริหารทรัพยากรสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ในหลายๆ ด้าน ควรเพิ่มช่องการสื่อสารที่หลากหลาย และการสื่อสารสาธารณะที่มากขึ้น</em></p>
กวี ชิ้นจอหอ
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
220
243
-
แนวทางการวินิจฉัยโรคหืดที่เกี่ยวกับการทำงานตามมาตรฐานต่าง ๆ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/267476
<p><em>โรคหืด เป็นโรคที่พบได้มากถึง </em><em>3-5 % </em><em>ในผู้ใหญ่</em> <em>และโรคหืดที่เกี่ยวกับการทำงาน พบ</em> <em>15-25 % </em><em>ในช่วงผู้ใหญ่ โรคหืดที่เกี่ยวกับการทำงาน เป็นโรคที่สามารถป้องกัน การวินิจฉัยที่รวดเร็ว จะช่วยให้สามารถหาแนวทางป้องกัน เพื่อลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่า โรคหืดที่เกี่ยวกับทำงานเป็นโรคที่มีการวินิจฉัยที่น้อยกว่าความเป็นจริงการวินิจฉัยโรคหืดที่เกี่ยวกับการทำงาน มีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ และแต่ละมาตรฐาน </em><em>บทความนี้ได้ทบทวนองค์ความรู้ ทั้งมุมมองด้านวิชาการ และด้านกฎหมาย เพื่อสรุป รวบรวมแนวทางใน การวินิจฉัยโรคหืดที่เกี่ยวกับงานจากมาตรฐาน ต่าง ๆ และรวบรวมแนวทางการ การเฝ้าระวังทางการแพทย์ และสิทธิประโยชน์ที่ผู้ป่วยควรจะได้รับ </em><em>เพื่อนำมาเปรียบเทียบ และสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการวินิจฉัยได้</em><em> อันจะเป็นประโยชน์ต่อ แพทย์ประจำสถานประกอบการ และแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย</em></p>
คงทัช สิงขรานันต์
ภรณ์ทิพย์ พิมดา
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-01
2024-08-01
10 1
5
20