วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat <p>วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ ผลการวิจัย ทางด้านการพัฒนาสุขภาพ อันเป็นกลไกให้ประชาชน มีสุขภาวะที่ดีและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเป็นแหล่งให้บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมถึงประชาชนทั่วไป เปิดรับบทความวิจัยต้นฉบับ และบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับด้านการแพทย์สาขาเวชกรรมป้องกัน การสาธารณสุข การพยาบาล การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยบทความทุกเรื่องผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง (double blinded) อย่างน้อยจำนวน 3 ท่าน</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> journalkorat@gmail.com (ดร.สันติ ทวยมีฤทธิ์) journalkorat@gmail.com (นายกันตภณ แก้วสง่า) Tue, 14 Jan 2025 16:53:14 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสที่ติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์: บทบาทพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/268392 <p><em>โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์</em><em> (sexually-transmitted disease หรือ STD) เมื่อมีการติดเชื้อเริ่มต้นมักจะไม่แสดงอาการมีการติดเชื้อแฝงทำให้ผู้ที่มีเชื้อในร่างกายไม่ทราบ ทั้งยังไม่ได้มีโอกาสในการคัดกรองส่งผลให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันทีต่อเนื่องนำไปสู่การแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้ หรือติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ผ่านทางรกจากการสัมผัสรอยโรคระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์มักมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลการตรวจคัดกรองของตนเองและคู่สมรส โดยเฉพาะผลการคัดกรองที่มีความแตกต่างกันบางรายภรรยาติดเชื้อแต่คู่สมรสไม่ติดเชื้ออาจนำไปสู่ปัญหาความขัดเเย้งหรือไม่เข้าใจภายในครอบครัว บางรายไม่กล้าแจ้งผลกับคู่สมรสทำให้ไม่สามารถติดตามคู่สมรสมาตรวจคัดกรองและรับการรักษาได้ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อซ้ำในขณะตั้งครรภ์ หากไม่สามารถรักษาได้ตามแผนการรักษาจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย เกิดความพิการตั้งแต่แรกเกิด เกิดการตายคลอด เป็นต้น ดังนั้นในบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้ทราบข้อมูลแนวทางการดูแลตนเองและตระหนักถึงความสำคัญของโรคและการรักษา รวมถึงมุ่งเน้นให้พยาบาลที่ดูแลหญิงที่มีภาวะการติดเชื้อได้ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทพยาบาลที่เริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดกรองโรค การให้ความรู้เรื่องโรคผ่านกระบวนการให้คำปรึกษา การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเพื่อป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อและการรับเชื้อเพิ่ม การรักษาสัมพันธภาพในครอบครัวและการสร้างแรงสนับสนุนจากครอบครัว ให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักรู้และเห็นความสำคัญของการรักษาจนครบและ การตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อตั้งครรภ์และทารกในครรภ์และภาวะแทรกซ้อนต่อตัวหญิงตั้งครรภ์ในระยะยาว</em></p> สุพัตรา อินทรินทร์, สุภาพร ประนัดทา Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/268392 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากรโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/268072 <p><em>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากรโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ </em><em>Thai CV risk score, แบบสอบถามความเครียด แบบวัดความเครียด กรมสุขภาพจิต (SPST - 20) ,ผลการตรวจทางปฏิบัติการประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ Echocardiography, Exercise stress test, Ultrasound carotid, Ankle Brachial Index (ABI), Body composition และ Hand Grip กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา คัดเลือกใช้วิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Mean<u>+</u> SD) ส่วนการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร ใช้ Pearson correlation</em></p> <p><em> ผลการศึกษา พบว่า การประเมินระยะเริ่มต้นของบุคลากรโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ70 อยู่ในกลุ่มอายุ 51-60 ปี ร้อยละ67.5 โดยมีอายุต่ำสุด 44 ปี และอายุสูงสุด 65 ปี ผู้เข้าร่วมวิจัย ร้อยละ25 มีความรู้โรคหัวใจและหลอดเลือด ก่อนเข้าร่วมวิจัย อยู่ในระดับต่ำ หลังเข้าร่วมวิจัยมีความรู้ระดับสูงร้อยละ20 ระดับปานกลางร้อยละ75 ร้อยละผู้ป่วยที่มีความรู้ระดับต่ำลดลงเหลือร้อยละ5 และจากการทำวิจัยพบ </em><em>Fatty Liver 12 ราย, พบ Thyroid 1 ราย, พบหัวใจเต้นผิดจังหวะ 2 ราย และพบว่า อายุ การไม่ออกกำลังกาย และความเครียดจากการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 หากมีการนำผลการวิจัยไปใช้ควรมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพ ให้คำปรึกษา ให้ความรู้สุขศึกษา ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและการรับรู้ประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง พร้อมศึกษาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ด้านการออกกำลังกาย และการเลิกสูบบุหรี่</em></p> พัฒนพงษ์ คืบขุนทด, พรทิพย์ นิ่มขุนทด, นันธนิต หงษ์ทอง, พีรวัฒน์ สกุลประเสริฐศรี, วรรีย์ วรรณสิงห์ Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/268072 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 ผลของแนวทางการเยี่ยมบ้าน ต่อความรู้และความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/268087 <p><em>การศึกษา</em><em>ผลของแนวทางการเยี่ยมบ้าน</em><em>ต่อความรู้และความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี </em><em>โดยพัฒนาแนวทางการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากแนวทางของ </em><em>Kemmis and McTaggart PAOR 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนกลับ </em><em>เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และแบบประเมินความสามารถในการใช้กิจวัตรประจำวัน ในกลุ่มจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง รายใหม่จำนวน 24 ราย ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2566 – วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ สถิติ </em><em>Paired t-test </em></p> <p><em>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของระดับความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (</em><em>t = -12.817, p-value &lt; 0.001) หลังจำหน่ายผู้ป่วย 14 วัน มีค่าเฉลี่ยของระดับความสามารถในการใช้กิจวัตรประจำวัน (Barthel index) สูงกว่าก่อนจำหน่ายผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = -7.292, p-value &lt; </em><em>0.001</em><em>) และหลังจำหน่ายผู้ป่วย 1 เดือน มีค่าเฉลี่ยของระดับความสามารถในการใช้กิจวัตรประจำวัน (</em><em>Barthel index) สูงกว่าหลังจำหน่ายผู้ป่วย 14 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = -6.379, p-value &lt; </em><em>0.001</em><em>) </em></p> วรรีย์ วรรณสิงห์, ชนนิกานต์ ลิ้มพงศานุรักษ์, ศวิตา ทองขุนวงศ์, พัฒนพงษ์ คืบขุนทด, นันธนิต หงส์ทอง, พีรวัฒน์ สกุลประเสริฐศรี Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/268087 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/268248 <p><em>บทความวิจัยเรื่องการศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการและศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา บุคลากรและครอบครัวบุคลากร ที่เข้ามารับบริการ จำนวน 375 คน ซึ่งคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการแปลผลค่าเฉลี่ย </em></p> <p><em> ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา (ร้อยละ 95.2) เพศหญิง (ร้อยละ 66.9) และอายุ </em><em>18-28 ปี (ร้อยละ 95.47) ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในภาพรวมทุกด้านในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 91.05) โดยพึงพอใจสูงสุดในด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก (ร้อยละ 94.0) รองลงมา คือ ด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการ (ร้อยละ 92.12) ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ร้อยละ (89.12) และด้านช่องทางการติดต่อสื่อสาร (ร้อยละ 88.95) ตามลำดับ ดังนั้น ผลการศึกษานี้ จึงควรนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพงานให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างเต็มที่ต่อไป</em></p> รัตนวรรณ ตามกลาง, ณัฐภัทร ขุมทอง, พิรามร บูรณศักดิ์เสถียร, วรรีย์ วรรณสิงห์, ดวงหทัย จันทนนท์, พัฒนพงษ์ คืบขุนทด Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/268248 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการบริหารจัดการ “ สถานีรักษ์สุขภาพ ” แบบเป็นหุ้นส่วน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/269274 <p><em>การวิจัย</em><em>เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและผลการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการบริหารจัดการ “สถานีรักษ์สุขภาพ” </em><em>แบบเป็นหุ้นส่วน </em><em>เพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพในชุมชน</em> <em>กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน </em><em>(อสม.) จำนวน 63 คน บุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 5 คน ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง จำนวน 306 คน </em><em>ดำเนินการ</em><em> 3 ระยะ คือ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ (2) ดำเนินการพัฒนาโดยใช้</em><em>แนวคิด</em><em>วงจรวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ (</em><em>3) </em><em>การประเมินผลหรือผลลัพธ์ของการพัฒนา </em><em>เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวทางสนทนากลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วม แบบประเมินทักษะปฏิบัติ แบบบันทึกข้อมูลทางสุขภาพ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</em></p> <p><em>ผลการศึกษา พบว่า (</em><em>1) </em><em>ปัญหาและความต้องการพัฒนา ได้แก่ การสร้างการมีส่วนร่วมใน “สถานีรักษ์สุขภาพ” การเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยว กับโรคเรื้อรังและทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การพัฒนาทักษะคัดกรองและดูแลสุขภาพเบื้องต้น และการสร้างระบบพี่เลี้ยง (</em><em>2) ได้กระบวนการพัฒนา </em><em>4</em> <em>ขั้นตอน ได้แก่ สร้างความตระหนักและความต้องการพัฒนา สร้างทีมการพัฒนาและบริหารจัดการ นำร่องการพัฒนาในชุมชนตัวอย่าง และขยายแนวร่วมการพัฒนาไปยังชุมชนอื่น และ (</em><em>3) </em><em>การประเมินผลหรือผลลัพธ์ของ การพัฒนา พบ </em><em>(1) “สถานีรักษ์สุขภาพ” ในชุมชน สามารถบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมชุมชนโดย อสม. เป็นแกนนำ (2) อสม. มีทักษะการคัดกรองและดูแลสุขภาพเบื้องต้นโดยใช้ปิงปองจราจร 7 สี อยู่ในระดับดี มีการรับรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรังในชุมชนในระดับดี มีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อยู่ในระดับดี (3) ผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคดีขึ้น ร้อยละ 67 และ(4) อสม. มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาในระดับดี ร้อยละ 100</em></p> กัญญาณัฐ เกิดชื่น, จงกลณี ตุ้ยเจริญ, ธิดารัตน์ นิ่มกระโทก Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/269274 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่งเสริมกับประสิทธิภาพของการพัฒนางานวิจัยของบุคลากร ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/269305 <p><em>การพัฒนางานวิจัยในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมและการสนับสนุนที่มีคุณภาพสำหรับบุคลากร เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนางานวิจัยของบุคลากร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่งเสริมกับประสิทธิภาพในการพัฒนางานวิจัย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ และการเก็บข้อมูลผ่านการสอบถามบุคลากรจำนวน 304 คน ในปี 2565 </em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่ของบุคลากรโรงพยาบาลเป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.2 อายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 53.6 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 95.4 สถานภาพโสด ร้อยละ 85.9 และมีประสบการณ์ทำงานในโรงพยาบาล ร้อยละ 63.5 ปัจจัยสนับสนุนแต่ละด้านมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับประสิทธิภาพในการพัฒนางานวิจัยในระดับสูง โดยมีความสัมพันธ์สูงสุดคือ ความมั่นคงในความก้าวหน้าในอาชีพ (</em><em>r = 0.66, P &lt; 0.001) ตามด้วยความสัมพันธ์กับบุคคลในที่ทำงาน (r = 0.63, P &lt; 0.001) และสภาพแวดล้อมในการทำงานวิจัย (r = 0.54, P &lt; 0.001) ปัจจัยทั้งสามนี้มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนางานวิจัยอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยมีผลต่อขวัญและกำลังใจในการทำงานวิจัย ซึ่งอาจเกิดจากการที่บุคลากรมีความภูมิใจในหน่วยงานและได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาความรู้และศักยภาพของตนเอง รวมถึงมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ ผลการศึกษานี้เสนอแนวทางในการพัฒนางานวิจัยในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมบุคลากรทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานวิจัยอย่างยั่งยืน เพื่อให้การดำเนินงานมีความเป็นระบบและยั่งยืนในระยะยาว.</em></p> ปุญญพัฒน์ แตงเผือก, อนันตา ยศเกตุ, นุสบา กุดหินนอก, จิราพร อ่อนศรี, พรทิพย์ นิ่มขุนทด, ปัทมา ทองดี Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/269305 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 ดัชนีพฤฒพลังของผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/270472 <p><em>การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดัชนีพฤฒพลังของผู้สูงอายุ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาในพื้นที่ 6 โซน ตามหน่วยบริการสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 507 คน ทีมวิจัยเก็บข้อมูลด้วย การสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และ ค่าต่ำสุด </em></p> <p><em>ผลการศึกษา พบว่า </em><em>ผู้สูงอายุมีระดับดัชนีพฤฒพลังในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 53.05 โดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง คือ ดัชนีพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้านสุขภาพ ร้อยละ 51.68 ด้านความมั่นคง ร้อยละ 51.68 และด้านสภาพที่เอื้อต่อการมีพฤฒพลัง ร้อยละ 72.19 ส่วนด้านการมีส่วนร่วม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ </em><em>43.20 ทั้งนี้พบว่า </em><em>ค่าเฉลี่ยดัชนีพฤฒพลังของผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มีค่าเฉลี่ยดัชนีพฤฒพลังโดยรวมเท่ากับ </em><em>0.788 อยู่ในระดับปานกลาง (</em><em> </em><strong><em> </em></strong><strong><em>=</em></strong> <em>0.788, S.D. = 0.15, 95%CI : 0.774 - 0.804) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความมั่นคงมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 0.810 </em><em>(</em><em> </em><strong><em> </em></strong><strong><em>=</em></strong> <em>0.810, S.D. = 0.22, 95%CI : 0.790 - 0.829) อยู่ในระดับสูง รองลงมา ได้แก่ ด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.801 </em><em>(</em><em> </em><strong><em> </em></strong><strong><em>=</em></strong> <em>0.801, S.D. = 0.16, 95%CI : 0.787 - 0.814) ด้านสภาพที่เอื้อต่อการมีพฤฒพลังอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.771 </em><em>(</em><em> </em><strong><em> </em></strong><strong><em>=</em></strong> <em>0.771, S.D. = 0.38, 95%CI : 0.737 - 0.804) และ ด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.711 </em><em>(</em><em> </em><strong><em> </em></strong><strong><em>=</em></strong> <em>0.711, S.D. = 0.29, 95%CI : 0.685 - 0.736)</em></p> อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, สถาพร หมั่นคง Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/270472 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติและโรคเบาหวาน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/270445 <p><em>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (</em><em>descriptive cross-sectional study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ (impaired fasting glucose) และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes mellitus type 2) การเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD clinic) ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2567 รวบรวมข้อมูลทั่วไป ปัจจัยเสี่ยง และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย <u>+</u> ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ independent T-test </em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วย จำนวน </em><em>115 คนพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติและโรคเบาหวาน 3 ปัจจัย ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกายและรอบเอว และเมื่อทำการเปรียบเทียบผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติและโรคเบาหวานกับผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดปกติ พบว่า</em><em> ผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติและโรคเบาหวาน มีอายุ 63.00<u>+</u>10.74 ปี และผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดปกติ อายุ 57.67<u>+</u>11.66 ปี (</em><em>p = 0.034) ดัชนีมวลกายในผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติและโรคเบาหวาน 27.44<u>+</u>4.72 กิโลกรัม/เมตร<sup>2</sup> มากกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดปกติ 25.02<u>+</u>3.73 กิโลกรัม/เมตร<sup>2 </sup>(p = 0.006) รอบเอวในผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติและโรคเบาหวาน 39.56<u>+</u>4.47 นิ้ว มากกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดปกติ 35.01<u>+</u>3.93 นิ้ว ซึ่งทั้งอายุ ดัชนีมวลกาย และรอบเอวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติและโรคเบาหวานกับผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดปกติ (p &lt; 0.050) </em><em>สรุปว่า อายุ ดัชนีมวลกาย และรอบเอวที่ต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ก่อให้เกิด การเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติและโรคเบาหวานต่างกัน</em></p> พรทิพย์ นิ่มขุนทด, นิวัฒน์ชัย นามวิชัยศิริกุล, ปัทมา ทองดี, นพร อึ้งอาภรณ์, ขนิษฐา มีวาสนา Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/270445 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 ต้นทุนต่อหน่วยรายบริการทันตกรรมของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ปีงบประมาณ 2566 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/270680 <p><em>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนรวม ต้นทุนต่อหน่วย และต้นทุนต่อหน่วยรายบริการทันตกรรม ในมุมมองของผู้ให้บริการ (</em><em>provider prospective</em><em>) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ปีงบประมาณ 2566 และเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนต้นทุนต่อหน่วยรายบริการทันตกรรมกับอัตราค่าบริการสาธารณสุขของกรมบัญชีกลาง พ.ศ. 2559โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนและข้อมูลบริการทันตกรรมปีงบประมาณ </em><em>2566</em> <em>แบบย้อนหลัง </em></p> <p><em>ผลการศึกษา พบว่า ต้นทุนรวมในการให้บริการทันตกรรมของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เท่ากับ 15</em><strong><em>,</em></strong><em>277</em><strong><em>,</em></strong><em>063.27 บาท โดยสัดส่วนของต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุน เท่ากับร้อยละ </em><em>82</em><strong><em>.</em></strong><em>56, 8</em><strong><em>.</em></strong><em>09</em> <em>และ </em><em>9</em><strong><em>.</em></strong><em>35</em> <em>ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ </em><em>849</em><strong><em>.</em></strong><em>01</em> <em>บาท สำหรับต้นทุนต่อหน่วยรายบริการทันตกรรม พบว่า บริการทันตกรรมประเภททันตกรรมประดิษฐ์มีต้นทุนต่อหน่วยสูงที่สุด ในขณะที่บริการทันตรังสีมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุด เมื่อทำการเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยรายบริการกับอัตราค่าบริการสาธารณสุขของกรมบัญชีกลาง พ.ศ. </em><em>2559</em> <em>พบว่า บริการทันตกรรมของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีมีต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าเกือบทุกรายการ </em><em>อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้อาจมีข้อจำกัดบางประการ เช่น การศึกษานี้ดำเนินการในช่วงที่มีการระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 2019 ระบาด และมีการปรับปรุงระบบปรับอากาศของกลุ่มงานทันตกรรม ซึ่งทำให้ไม่สามารถให้บริการทันตกรรมเต็มรูปแบบได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ข้อมูลต้นทุนในการศึกษาครั้งนี้อาจสูงกว่าการให้บริการทันตกรรมในภาวะปกติ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลต่อไป</em></p> วิทยาพร เทศศรีเมือง Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/270680 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของการใช้แนวทางการคัดแยกประเภทผู้ป่วย งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลโนนสูง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/270967 <p><em>การวิจัยนี้เป็นการวิจัย</em><em>กึ่งทดลอง (</em><em>Quasi-Experimental </em><em>Research) </em><em>มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้แนวทางการคัดแยกประเภทผู้ป่วยงานการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ประชากรในงานวิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช 12 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่รับบริการใน</em><em>งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช</em> <em>800 คน โดยการเก็บข้อมูลจากการใช้แนวทางการคัดแยกประเภทผู้ป่วยแบบเดิมก่อนพัฒนาจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนและหลังพัฒนาจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ประเมินผลทดลองเปรียบเทียบการใช้แนวทางก่อนและหลังพัฒนา ในด้านความถูกต้องของการคัดแยกประเภทผู้ป่วย, ระยะเวลาการรอคอย และความพึง</em><em>พอใจของพยาบาลวิชาชีพด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลจากการใช้แนวทางการคัดแยกประเภทผู้ป่วยด้วยสถิติอ้างอิง </em><em>Chi-square</em></p> <p><em>ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการใช้แนวทางการคัดแยกประเภทผู้ป่วยเพิ่มความถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .002 (</em><em>= .968, df= 1, p-value = .002) ระยะเวลาการรอคอยของผู้ป่วยลดลง </em><em> = 27.78, </em><em> =18.333 และความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวทางการคัดแยกมีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก </em><em> =3.93 ส่วนใหญ่พึงพอใจในระบบคัดแยกผู้ป่วยในปัจจุบันค่าเฉลี่ยสูงสุด </em><em> = 4.33 แต่มีความพึงพอใจใน สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือในการคัดแยกผู้ป่วย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด</em><em> = 3.58 ทำให้สามารถให้บริการทางการแพทย์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้แนวทางการคัดแยกประเภทผู้ป่วยในงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตูและฉุกเฉินของโรงพยาบาลโนนสูงมีประสิทธิผลสูงโดยพบว่ามีความถูกต้องเพิ่มขึ้น ระยะเวลารอคอยลดลง และเพิ่มความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ จึงควรพิจารณานำแนวทางนี้ไปปรับใช้ในบริบทอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริการทางการแพทย์เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการและเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วย</em></p> เบญจวรรณ จันลาวงศ์, สุรเชษฐ ฤทธิ์ไธสง, อัจฉรา ภูวทิตย์, ศุภณัฐ ลินลา Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/270967 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการใช้กัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/271125 <p><em>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ พฤติกรรมในการใช้กัญชาทางการแพทย์ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ และพฤติกรรมในการใช้กัญชาทางการแพทย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์จากโรงพยาบาลเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 211 คน เครื่องมือ ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบ </em><em>Chi-Square </em></p> <p><em>ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์อยู่ในระดับเพียงพอ ร้อยละ 92.4 เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบ พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจในการใช้กัญชาทางการแพทย์ ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพในการใช้กัญชาทางการแพทย์ ด้านทักษะการสื่อสารสุขภาพในการใช้กัญชาทางการแพทย์ ด้านทักษะการจัดการตนเองในการใช้กัญชาทางการแพทย์ ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติในการใช้กัญชาทางการแพทย์ และด้านการรู้เท่าทันสื่อในการใช้กัญชาทางการแพทย์ อยู่ในระดับเพียงพอ ร้อยละ 71.6</em><em>, 83.9, 74.9, 56.4, 93.4 และ 95.7 ตามลำดับ และมีพฤติกรรมในการใช้กัญญาทางการแพทย์ในระดับที่ถูกต้อง ร้อยละ 95.3 โดยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ และการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพในการใช้กัญชาทางการแพทย์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </em></p> บุศรินทร์ อัตรสาร, พัชรี ศรีกุตา Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/271125 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพ รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สำหรับนักศึกษาพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/270728 <p><em>งานวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ </em><em>1) </em><em>พัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพ ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) </em><em>ศึกษาประสิทธิผล</em><em>ของ</em><em>สื่อ</em><em>การเรียนรู้ออน</em><em>ไลน์ </em><em>และ 3)</em> <em>ศึกษาความพึงพอใจต่อสื่อ</em><em>การเรียนรู้ออน</em><em>ไลน์</em><em> กลุ่มตัวอย่าง คือ</em><em>นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 จำนวน</em><em> 205 คน </em><em>ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดสอบประสิทธิภาพ จำนวน 41 คน คือ</em><em>แบบเดี่ยว จำนวน 3 คน แบบกลุ่ม จำนวน 8 คน และภาคสนาม จำนวน 30 คน</em><em> และกลุ่มทดสอบประสิทธิผล จำนวน 164 คน</em><em> ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกรกฎาคม 2565</em><em>- สิงหาคม 2567 </em><em>เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) </em><em>ไลน์ออฟฟิเชียลพร้อม-พรี (</em><em>Prom-Pre) 2) </em><em>แบบทดสอบความรู้ เรื่องปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น </em><em>(KR-20 = .74) </em><em>3) </em><em>แบบประเมินทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพ</em> <em>(</em><em>a</em> <em>= .91)</em> <em> </em><em>และ </em><em>4) </em><em>แบบสอบถามความพึงพอใจต่อ</em><em>สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ </em><em>(</em><em>a</em> <em>= .97)</em> <em> </em><em>วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ </em><em>Paired t-test</em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า </em><em>1</em><em>) สื่อที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบ คือ คู่มือโรค กรณีศึกษา แบบทดสอบ หนังสือแนะนำ และคำถามและคำตอบมีประสิทธิภาพและค่าดัชนีประสิทธิผลสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) 2) ภายหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ </em><em>นักศึกษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ (</em><em>M = 19.08, S.D. = 1.56) สูงกว่าก่อนการใช้สื่อ (M = 12.49, S.D. = 3.35) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = -25.93, p = 0.001) และ</em><em>ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพ</em><em> โดยรวมอยู่ในระดับสูง (</em><em>M = 54.14, S.D. = 3.12) </em><em>ความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อสื่อ</em><em>การเรียนรู้ออน</em><em>ไลน์</em> <em>โดยรวมในระดับมาก (</em><em>M = 3.97, S.D. = 0.52) ดังนั้น</em><em>ไลน์ออฟฟิเชียล พร้อม-พรี (</em><em>Prom-Pre) </em><em>จึงเป็นสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีความเหมาะสมอย่างมากต่อการพัฒนา</em><em>สมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพ ในทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน </em><em>สำหรับนักศึกษาพยาบาล ข้อเสนอแนะ บุคลากรด้านสุขภาพสามารถพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพด้วยตนเอง โดยใช้</em><em>ไลน์ออฟฟิเชียลพร้อม-พรี</em><em>เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับผู้รับบริการ</em></p> ญาภัทร นิยมสัตย์, วิรุฬจิตรา อุ่นจางวาง, วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ, ปิยะรัตน์ แสงบำรุง, ศรีมนา นิยมค้า Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/270728 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายภายหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/271835 <p><em>การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) แม่ข่าย พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายภายหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรีและประเมินรูปแบบศึกษาช่วงเดือน มกราคม-กันยายน 2567 แบ่งการวิจัยออกเป็น </em><em>3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณสุขของ รพช.แม่ข่าย ในกลุ่มเป้าหมายพัฒนาจำนวน 34 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่ม ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง </em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณสุขของ รพช.แม่ข่ายที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาลำดับแรกคือการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ รพ.สต.ในเครือข่าย รองลงมาคือความรวดเร็วในการโอนเงินงบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณสุขของ รพช.แม่ข่าย ผู้วิจัยนำผลจากระยะที่ 1 นำมายกร่างรูปแบบบนพื้นฐานหลักการบริหารการเปลี่ยนแปลง และหลัก ธรรมาภิบาล </em><em>10 ประการ ใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 ท่านตรวจสอบและมีความเห็นว่ารูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความ ถูกต้องครอบคลุม ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก </em><em>(</em><em>x</em><em>̅</em><em> =4.45, S.D.=.43) และ 3) การทดลองใช้รูปแบบฯ ในเครือข่ายบริการ รพ.พรหมบุรี และประเมินผลการใช้รูปแบบ 4 ด้าน ในกลุ่มเป้าหมายพัฒนาซึ่งเป็นผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในเครือข่าย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 21 คน พบว่า ผลการประเมินมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความถูกต้องครอบคลุม ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก(x</em><em>̅</em><em>=</em><em>4.47, S.D. =.53</em><em>)</em></p> พิพัฒน์ กว้างนอก, นงลักษณ์ เกตุแก้ว, ถาวร ปานเพ็ชร์ Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/271835 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/272454 <p><em>การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ และประเมินผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้ การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น </em><em>3 กลุ่ม ได้แก่</em> <em>ผู้สูงอายุ จำนวน 379 คน </em><em>บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 18 คน และ</em><em>ผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 24 คน </em><em>เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม</em> <em>การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม</em><em>การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล</em></p> <p><em>ผลการวิจัย พบว่า (1) ทั้ง 6 อำเภอได้มี การจัดทำคำสั่งคณะทำงานของชมรมผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงาน ปัญหาที่พบคือ ผู้สูงอายุย้ายถิ่นฐานการแก้ไขปัญหา โดยการจัดทำทะเบียนผู้สูงอายุให้เป็นปัจจุบัน และงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมของผู้สูงอายุไม่เพียงพอ การแก้ไขปัญหา โดยการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนเข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ</em><em>อยู่ที่ระดับมาก (</em><strong><em>=</em></strong><em>3.81, </em><em>S.D. =.63) (2) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ จำนวน 6 ปัจจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ภาคีเครือข่ายสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ และครอบครัวของผู้สูงอายุ ดำเนินการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (3) <br />การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา หรือ PEACEFUL model สามารถใช้งานได้จริงมีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในบริบทที่ใกล้เคียงจังหวัดนครราชสีมาได้ ภายหลังจากเข้าร่วมโครงการ พบว่าระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด (<strong>=</strong>4.25, S.D. =.66) โดยมีการดำเนินงานตามกระบวนการวงจร PDCA ได้แก่ การวางแผน ดำเนินการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประมวลผลข้อค้นพบ ปรับปรุงข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมผู้สูงอายุ และควรส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง</em></p> สุผล ตติยนันทพร, สันติ ทวยมีฤทธิ์ Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/272454 Tue, 14 Jan 2025 00:00:00 +0700