วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse
<p>เป็นวารสารที่จัดทำโดยสมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก ซึ่งเป็นสมาคมพยาบาลที่มีสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและทรวงอกร่วมกันจัดทำวารสารเพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเผยแพร่วิทยาการใหม่ๆ เช่น งานวิจัย นวัตกรรม ในสาขาการดูแลรักษาและการพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก โรคเรื้อรัง รวมทั้งศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในสมาชิกสมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอกและผู้ที่สนใจ ปีละ 2 เล่ม มกราคม -มิถุนายน และ กรกฎาคม - ธันวาคม</p>
สมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก(ประเทศไทย)
en-US
วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
0857-605X
<p>บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก</p>
-
การพยาบาลทางไกลในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะลุกลาม หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/263716
<p>โรคมะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ ของโลก เมื่อการดำเนินของโรคมะเร็งปอดเข้าสู่ระยะลุกลาม พยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและครอบครัวก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและติดตามการดูแลอย่างต่อเนื่อง การพยาบาลทางไกลเป็นการใช้เทคโนโลยีในการให้ข้อมูลและช่วยให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้านได้และเป็นไปตามแผนการรักษาของสหวิชาชีพ อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาล บทความนี้มีจุดประสงค์ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะลุกลาม ประกอบด้วย ความหมาย สาเหตุของการเกิดโรค พยาธิสรีรภาพ อาการและอาการแสดง การแบ่งระยะ และการรักษา ส่วนการพยาบาลทางไกลในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะลุกลามหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยใช้หลัก INHOMESSS ในการประเมินและติดตามดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่บ้าน นอกจากนี้การพยาบาลทางไกล ประกอบด้วย ความหมาย หลักการ บทบาท ขั้นตอน และแนวทางปฏิบัติในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการดูแลสุขภาพ ช่วยให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้านในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะลุกลาม ครอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ และจิตสังคม ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับตัวและสามารถจัดการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p>
อารีย์ วงศ์อนุ
ชูธนันพัฒน์ ไชยศรีประสาร
Copyright (c) 2025 วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-19
2025-01-19
35 2
2
16
-
บรรณาธิการแถลง
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/273222
ดวงกมล วัตราดุลย์
Copyright (c) 2025
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-19
2025-01-19
35 2
1
1
-
ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียม ต่อความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/263604
<p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (pretest–posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียมต่อความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 24 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียมที่พัฒนาจากทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิต แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารลดโซเดียม และแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารลดโซเดียม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารลดโซเดียมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (mean= 44.29, SD= 2.03) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารลดโซเดียมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (mean= 42.08, SD= 0.97) และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
พิมพ์ลดา เปี่ยมสุขวิลัย
นรลักขณ์ เอื้อกิจ
ศกุนตลา อนุเรือง
Copyright (c) 2025 วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-19
2025-01-19
35 2
17
32
-
ความต้องการการดูแลของบุคคลที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวระยะก้าวหน้า ในยุควิถีใหม่
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/263847
<p>การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายความต้องการการดูแลของบุคคลที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวระยะก้าวหน้าในยุควิถีใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาแบบบรรยาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นบุคคลที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวระยะก้าวหน้าที่เคยมีประสบการณ์การรักษาที่หออภิบาลผู้ป่วยโรคหัวใจ ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ มากกว่า 1 ครั้งใน 6 เดือน ในช่วงการระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ถึง 2565 ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นสามารถกลับไปดูแลตนเองที่บ้านได้ จำนวน 12 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนเมษายน ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์รายบุคคล และใช้คำถามปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง ระหว่างการสัมภาษณ์จะใช้การโทรศัพท์แบบวิดีโอและบันทึกเทปเสียงการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ตามวิธีการของโคไลซี่</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า บุคคลที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวระยะก้าวหน้าในยุควิถีใหม่มีความต้องการการดูแล 4 ลักษณะ คือ 1) ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงบริการของโรงพยาบาล 2) ต้องการการติดตามอาการอย่างต่อเนื่องโดยใช้โทรศัพท์หรือโมบายแอปพลิเคชัน 3) ต้องการการดูแลช่วยเหลือจากครอบครัวให้อยู่ได้ตามสภาวะของร่างกาย และ 4) ต้องการทราบการพยากรณ์ของโรคจากแพทย์ที่ดูแล</p> <p>จากผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการเสนอแนะแก่ทีมสุขภาพในการปรับปรุงการดูแลและบริการที่ตอบสนองความต้องการของบุคคลที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวระยะก้าวหน้าโดยเฉพาะในยุควิถีใหม่ในระบบบริการสุขภาพ</p>
รัตนาภรณ์ สังข์ทอง
วราภรณ์ คงสุวรรณ
ชุลีพร พรหมพาหกุล
Copyright (c) 2025 วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-19
2025-01-19
35 2
33
46
-
ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกัน ภาวะน้ำเกินในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/266150
<p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว เพศชายและหญิง อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำเกิน และแบบสอบถามประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจล้มเหลวและภาวะน้ำเกิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Dependent t-test และ Independent t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าคะแนนพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ผลการวิจัยนี้พยาบาลสามารถนำโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำเกินของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวให้ดีขึ้น<em> </em></p>
ปริญญา ยอดอาษา
ปชาณัฎฐ์ นันไทยทวีกุล
Copyright (c) 2025 วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-19
2025-01-19
35 2
47
61
-
ประสบการณ์การมีอาการและการจัดการอาการของผู้ป่วยโควิด 19
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/264645
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการมีอาการและการรับรู้ความถี่ ความรุนแรง ความทุกข์ทรมานหรือรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของอาการแต่ละระยะของการเจ็บป่วย และกลวิธีในการจัดการอาการและผลลัพธ์การจัดการอาการของผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างคือบุคคลที่เคยป่วยด้วยโรคโควิด 19 ได้รับการรักษาหายแล้วไม่เกิน 3 เดือน อาศัยอยู่ในอำเภอแห่งหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า อาการที่รับรู้ถึงความผิดปกติครั้งแรกจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในสัปดาห์แรก แล้วลดลงในสัปดาห์ที่สอง และค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ ดังนี้ สัปดาห์แรก พบอาการไอมากที่สุด มีความถี่สูงสุด ความรุนแรงระดับปานกลาง (M = 6.40, SD = 3.21) เป็นอาการที่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันมากที่สุด (M = 3.72, SD = 1.51) สัปดาห์ที่สอง พบอาการไอมากที่สุด ขณะที่อาการสูญเสียการดมกลิ่นมีความถี่สูงสุด ความรุนแรงระดับปานกลาง (M = 5.69 SD = 2.89) และรบกวนชีวิตประจำวันมากที่สุด (M=3.12 SD=1.73) 14 วันหลังการรักษาหาย พบทั้งอาการไอและอ่อนเพลียมากที่สุด โดยอาการไอมีความถี่สูงสุด ความรุนแรงระดับเล็กน้อย (M= 3.69, SD = 2.59) และอาการรู้สึกหายใจไม่อิ่มรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันมากที่สุด (M = 2.67, SD = 1.63) ส่วนกลวิธีการจัดการอาการ 3 รูปแบบ คือ การเฝ้าสังเกตอาการให้อาการดีขึ้นเอง จัดการอาการด้วยการดูแลตนเอง และเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล ซึ่งผลลัพธ์การจัดการอาการ พบว่า อาการดีขึ้นเป็นส่วนใหญ่ มีหลงเหลือความผิดปกติบางอาการโดยเฉพาะอาการเหนื่อยง่ายมากขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน</p> <p>ผลจากงานวิจัยนี้พยาบาลสามารถนำไปใช้วางแผนการพยาบาลเพื่อการดูแลบรรเทาอาการตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการในแต่ละระยะของการเจ็บป่วย และส่งเสริมความตระหนักในการดูแลตนเองและการจัดการอาการที่ถูกต้องให้แก่ผู้ป่วยต่อไป</p>
ยมนา ชนะนิล
อรทัย บุญชูวงศ์
ฉันทวรรณ วิชัยพล
ศิริพร เรืองประดับ
Copyright (c) 2025 วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-19
2025-01-19
35 2
62
76
-
ปัจจัยทำนายความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วย ในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/266298
<p>การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจำนวน 214 คน มาตรวจตามนัดที่แผนกผู้ป่วยนอกใน 2 โรงพยาบาลตติยภูมิในเขตกรุงเทพและปริมณฑล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 9 แบบสอบถาม คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ 3) แบบสอบถามการรับรู้อาการเจ็บหน้าอก 4) แบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วยฉบับย่อ 5) แบบสอบถามความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของโรคฉบับย่อ 6) แบบสอบถามความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจ 7) แบบประเมินความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย 8) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และ 9) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 36.92, SD = 9.89) 2) ปัจจัยทำนายความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้แก่ การรับรู้ความเจ็บป่วย (β = 0.12, p value = 0.013) ความวิตกกังวล (β = 0.37, p value < 0.001) ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย (β = 0.28, p value < 0.001) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (β = -0.31, p value < 0.001) สามารถทำนายความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน คิดเป็นร้อยละ 69.6 (Adjusted R<sup>2</sup> = 0.696) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ผลการวิจัยนี้เสนอแนะให้พยาบาลสามารถประเมินความวิตกกังวลและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนเพื่อลดความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามแผนการรักษาและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดหรือชะลอการดำเนินของโรค</p>
ชาลินี ปุรินทะ
ระพิณ ผลสุข
Copyright (c) 2025 วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-19
2025-01-19
35 2
77
91
-
ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้ในการใช้ยาวาร์ฟาริน และความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดห้องบนสั่นพลิ้ว
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/266478
<p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความรู้และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดห้องบนสั่นพลิ้วก่อนและหลังได้รับการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินชนิดรับประทานครั้งแรกจำนวน 30 คน เครื่องมือประกอบด้วย สื่อวีดิทัศน์เกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟาริน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด และแบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบค่าที (Paired t-test)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการรับประทานยาวาร์ฟารินสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาเสนอแนะให้บุคลากรทางสาธารณสุขสามารถให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟารินโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ สามารถเพิ่มความรู้และลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินในครั้งแรกได้</p>
เมตตา สุวรรณพรม
สุรินทร์รัตน์ บัวเร่งเทียนทอง
จันทร์สุดาพรรณ บุญธรรม
Copyright (c) 2025 วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-19
2025-01-19
35 2
92
105
-
ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับประทานยาร่วมกับแอปพลิเคชันความรู้ การรับประทานยาต่อพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/267568
<p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับประทานยาร่วมกับแอปพลิเคชันความรู้การรับประทานยา ต่อพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 52 คน ที่รับการรักษาโดยการรับประทานยาลดความดันโลหิต ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งกลุ่มที่ศึกษาออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 26 คน เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองในทั้งสองกลุ่ม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับประทานยาร่วมกับแอปพลิเคชันความรู้การรับประทานยาที่พัฒนาโดยประยุกต์ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ โปรแกรมส่งเสริมการรับประทานยา แอปพลิเคชันความรู้การรับประทานยา แบบบันทึกพฤติกรรมการรับประทานยา และแนวทางการใช้แอปพลิเคชันไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ไคสแควร์ สถิติทดสอบที สถิติทดสอบวิลคอกซัน และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)</p> <p>ผลการวิจัยทำให้บุคลากรสุขภาพได้โปรแกรมส่งเสริมการรับประทานยาร่วมกับแอปพลิเคชันความรู้การรับประทานยา ช่วยผู้ป่วยให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาและมีพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ</p>
สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์
อมรรัตน์ นธะสนธิ์
Copyright (c) 2025 วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-19
2025-01-19
35 2
106
119
-
The รูปแบบภาวะผู้นำกับวัฒนธรรรมสร้างนวัตกรรมในองค์การพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/268251
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและสังเคราะห์การใช้แนวคิด ทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบภาวะผู้นำกับวัฒนธรรรมสร้างนวัตกรรมด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงพ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2566 สืบค้นจากฐานข้อมูลทั้งในและต่างประเทศจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ CINAHL, ScienceDirect, Emerald insight, Pubmed , Google Scholar, ResearchGate, Thai Journals Online (ThaiJO), Thai Digital Collection (ThaiLIS) ที่ตรงกับเกณฑ์การคัดเลือกตามเกณฑ์คุณภาพจำนวน 12 เรื่อง โดยใช้แนวทาง PRISMA 2020 ตรวจสอบคุณภาพงานวิจัยโดยใช้เคเมท ลีและคุ๊ก โดยผู้ประเมิน 2 ราย และใช้สถิติ Contingency coefficient Kendall’tau-b ทดสอบความสอดคล้องกันระหว่างผู้ประเมินรายงานวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) บทความส่วนใหญ่ศึกษาในต่างประเทศ ไม่พบการศึกษาด้านการบริหารการพยาบาลในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่นิยมศึกษาในองค์กรภาคธุรกิจมากที่สุด (n=10) ศึกษาในกลุ่มพนักงานมากที่สุด (n=7) ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดคือ 3,125 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาทั้งหมด 2) บทความวิจัยนิยมใช้ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของแบสและอโวลิโอมากที่สุด (n=9) ส่วนแนวคิดวัฒนธรรมสร้างนวัตกรรมพบว่ายังมีความหลากหลาย ไม่พบความชัดเจนของการใช้แนวคิดวัฒนธรรมสร้างนวัตกรรม มีเพียง 2 รายงานวิจัยที่ใช้แนวคิดวัฒนธรรมสร้างนวัตกรรมของโอไรลี่ ทั้งนี้ผลการวิจัยส่วนใหญ่พบว่ารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลทางตรงต่อวัฒนธรรรมสร้างนวัตกรรม</p> <p>วิจัยนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่พบการศึกษารูปแบบภาวะผู้นำกับวัฒนธรรมสร้างนวัตกรรมในประเทศไทย และไม่พบการศึกษาในองค์กรพยาบาล และพบความไม่ชัดเจนของตัวแปรวัฒนธรรมสร้างนวัตกรรม จึงจำเป็นต้องมีการขยายองค์ความรู้ที่เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาศาสตร์ด้านการบริหารการพยาบาลต่อไป</p>
วรัทยา กุลนิธิชัย
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย
Copyright (c) 2025 วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-19
2025-01-19
35 2
120
135