วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp
<p>วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านวิชาการ โดยกำหนดเผยแพร่ นิพนธ์ต้นฉบับ ( Original Article) บทบรรณาธิการ (Editorial) บทความหรือรายงานเหตุการณ์สำคัญ (Report) ตลอดจนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การแพทย์ฉุกเฉินและคุ้มครองผู้บริโภค ระบบสุขภาพและการประเมินผลโครงการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายด้านสุขภาพ</p>
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม (Nakhon Phanom Provincial Health Office)
th-TH
วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
3056-9966
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง</p>
-
การพัฒนาความรอบรู้และพฤติกรรมด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชุมชนบ้านหัวดอน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยเครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/271475
<p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้และพฤติกรรมด้านยาและผลิตภัณฑ์ สุขภาพชุมชนบ้านหัวดอน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยเครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย</strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างจำนวน 132 คน ในชุมชนบ้านหัวดอน ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ประกอบด้วย ประชาชนบ้านหัวดอน ครูและนักเรียน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกนโดยการสุ่มอย่างง่าย ระยะเวลาศึกษาวิจัย ตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติการ 3) ขั้นสังเกตการณ์ และ 4) ขั้นการสะท้อนผล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบวัดความรอบรู้และพฤติกรรมการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากกองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานโดย paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> หลังการพัฒนากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ (4.15±0.57) และพฤติกรรมด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (3.48±0.47) สูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และเกิด HUADONS model โมเดลชุมชนต้นแบบด้วยวิถี บวร.ร</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ:</strong> การพัฒนาความรอบรู้และพฤติกรรมด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชนเพิ่มขึ้นได้ โดยเครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างแท้จริงและเกิดความยั่งยืน</p>
วันชนะ วงษ์ชาชม
ณัฐพล ผลโยน
จินดานุช ผลโยน
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
2 2 กรกฎาคม - ธันวาคม
-
ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในชุมชนพื้นที่อำเภอปลาปาก
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/271848
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ในชุมชนพื้นที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย 29 คน ผู้ดูแลหลัก 29 คน และทีมสหวิชาชีพ 16 คน ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) กลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ลักษณะทั่วไป ด้วยร้อยละวิเคราะห์เปรียบเทียบผลความแตกต่างของคะแนนความรู้และระดับความรู้ของผู้ดูแลหลักและทีมสหวิชาชีพ ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนน Palliative care Performance Scale (PPS) คะแนนPalliative care outcome scale (POS) คะแนนการประเมินความทุกข์ทรมานจากอาการ Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ผลคัดกรองภาวะซึมเศร้า (2Q) คะแนนประเมินโรคซึมเศร้า (9Q) คะแนนประเมินการฆ่าตัวตาย (8Q) ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t – test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> <p><strong> </strong>จากการศึกษาพบว่า ผลการประเมินคะแนน Palliative care Performance Scale(PPS) ,Palliative care outcome scale (POS) คะแนนความทุกข์ทรมานจากอาการ Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) เช่น ปวด ง่วงซึม เหนื่อย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ซึมเศร้า วิตกกังวล เบื่ออาหาร เหนื่อยหอบ ลดลง 9Q,8Qลดลง ส่วนผลคะแนนความรู้ ระดับความรู้ของผู้ดูแลหลักและทีมสหวิชาชีพเพิ่มขึ้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ครอบครัวและทีมสหวิชาชีพ มีระดับความพึงพอใจถึงพึงพอใจมาก</p> <p> การมีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามสภาพปัญหาและความต้องการ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงควรมีการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติและสื่อสารในทีมสหวิชาชีพ อันจะทำให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติต่อไป</p>
ackneewut wongchompoo
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
2 2 กรกฎาคม - ธันวาคม
-
กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใสระดับความรุนแรง 1-2 ณ งานบริการผู้ป่วยนอก
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/272187
<p><strong>ภูมิหลัง</strong><strong>:</strong> โรคตุ่มน้ำพองใส (Pemphigus Vulgaris) เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่พบได้น้อยแต่มีอาการรุนแรง ส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้ป่วย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและการเสื่อมสภาพตามวัย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ศึกษาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใสระดับความรุนแรง 1-2 ในแผนกผู้ป่วยนอก โดยใช้กรอบแนวคิด Triage Theory และ Meleis' Transition Theory เพื่อ 1) จัดลำดับความสำคัญของปัญหา 2) ทำความเข้าใจการปรับตัวของผู้ป่วย และ 3) พัฒนาแนวทางการพยาบาลที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ศึกษาเชิงคุณภาพแบบรายกรณี (Case Study) โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 86 ปี ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก ทบทวนเวชระเบียน และการสังเกตการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> การดูแลผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใสจำเป็นต้องครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการดูแลแผล การให้ความรู้ และการสนับสนุนด้านจิตใจเพื่อลดความวิตกกังวลและช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัว การประยุกต์ใช้ Meleis' Transition Theory ช่วยให้พยาบาลเข้าใจและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ผู้ป่วยยอมรับการเปลี่ยนแปลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p> <p><strong>สรุป:</strong> การศึกษานี้เน้นถึงความสำคัญของการพยาบาลแบบองค์รวม โดยที่ Triage Theory และ SOS Score เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดลำดับความสำคัญของการดูแล ขณะที่ Meleis' Transition Theory ช่วยให้พยาบาลเข้าใจและส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
วรรษวรรณ กระต่ายจันทร์
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
2 2 กรกฎาคม - ธันวาคม
-
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะแพร่กระจาย: กรณีศึกษา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/272422
<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อประเมินปัญหาและความต้องการ วางแผนการพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะแพร่กระจาย และศึกษาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมในการพยาบาล</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย:</strong> การศึกษาเฉพาะรายกรณี (Case Study)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการวิจัย: </strong>ศึกษาผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 81 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปอดระยะแพร่กระจาย ระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ถึง 15 มีนาคม 2567 ที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน การสัมภาษณ์ผู้ป่วย และการประเมินผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมินความเจ็บปวดและแบบประเมินคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กระบวนการพยาบาล</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> ผู้ป่วยมีปัญหาสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ 1) ภาวะหายใจลำบาก 2) ภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน 3) ภาวะทุพโภชนาการ 4) ความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน 5) ความวิตกกังวล และ 6) ความต้องการการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน หลังได้รับการพยาบาลแบบองค์รวมร่วมกับการดูแลแบบประคับประคอง พบว่าอาการปวดลดลงจาก 8/10 เป็น 4/10 ค่า Oxygen saturation เพิ่มขึ้นจาก 92% เป็น 95% การรับประทานอาหารดีขึ้นจาก น้อยกว่า 1/4 เป็น 1/2 ของปริมาณปกติ ความวิตกกังวลลดลง และครอบครัวมีความพร้อมในการดูแลต่อเนื่อง ที่บ้าน บทบาทของพยาบาลมีการแสดงออกพฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้แก่ การจัดการความปวด การเคารพการตัดสินใจปฏิเสธการใส่สาย NG tube และการแจ้งข่าวร้าย ช่วยส่งเสริมคุณภาพการดูแลและความพึงพอใจของผู้ป่วยและครอบครัว</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ:</strong> การบูรณาการ การดูแลแบบองค์รวมร่วมกับบทบาทพยาบาลที่มีจริยธรรมที่เหมาะสม นำไปสู่การพยาบาลที่มีคุณภาพ ควรมีการส่งเสริมระบบสนับสนุนพฤติกรรมจริยธรรมพยาบาลทั้งในระดับบุคคล หน่วยงาน และองค์กร เช่น การจัดอบรม การพัฒนาแนวปฏิบัติ และการสร้างระบบปรึกษาด้านจริยธรรม</p>
จันทร์เพ็ญ ปิติพัฒนะโฆษิต
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
2 2 กรกฎาคม - ธันวาคม
-
การสอบสวนโรคเฉพาะรายกรณีโรคไข้เลือดออกในชุมชนแห่งหนึ่ง ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 14 เมษายน -12 พฤษภาคม 2567
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/270835
<p> </p> <p> วันที่ 14 เมษายน 2567 เวลา 11.31 น. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิมานได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลนาแก พบผู้ป่วยยืนยันไข้เลือดออกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิมาน ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาแก จึงได้ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน<strong> -</strong>12 พฤษภาคม 2567 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาด ของโรคไข้เลือดออก ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยา เพื่อค้นหาสาเหตุ แหล่งโรค และหามาตรการในการป้องกันควบคุมโรคที่เหมาะสม เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ โดยใช้แบบสอบสวนโรคเฉพาะราย ทบทวนผลตรวจทางห้องปฏิบัติการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน การสังเกตสภาพแวดล้อม</p> <p> จากการสอบสวนโรคพบว่า ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 28 ปี อาชีพว่างงาน เริ่มป่วยวันที่ 9 เมษายน 2567 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม วันที่ 13 เมษายน 2567 ด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน และเบื่ออาหาร แพทย์ให้การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกและยืนยันการติดเชื้อด้วย Rapid test Antibody ชนิด IgM และ IgG ให้ผลบวก สาเหตุหลักของการเกิดโรคคาดว่าได้รับเชื้อมาจากบ้านญาติที่ไปช่วยงานในตอนกลางวัน พฤติกรรมนอนกลางวันโดยไม่กางมุ้ง สภาพแวดล้อมภายในบ้านที่มืด แสงสว่างไม่เพียงพอ การระบายอากาศที่ไม่ค่อยดี มีความชื้น และด้านหน้าบ้านเป็นซุ้มไก่ชนซึ่งมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำ ในระดับเสี่ยง ทีมสอบสวนโรคได้เน้นมาตรการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังในชุมชน เป็นระยะเวลา 28 วัน ผลการดําเนินงานพบว่าชุมชนมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของหลังคาเรือน (House Index: HI) และ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำ (Container Index: CI) อยู่ในระดับปลอดภัย (HI=0, CI=0) ยังไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรายใหม่เกิดขึ้นในชุมชนทั้ง 2 แห่ง รวมระยะเวลา ควบคุมโรคในครั้งนี้ 28 วัน</p>
พัฒนชัย ศิริแข็ง
สุพัตรา เชื้อคำเพ็ง
นรินทร ราชอินทร์
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
2 2 กรกฎาคม - ธันวาคม