วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp <p>วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านวิชาการ โดยกำหนดเผยแพร่ นิพนธ์ต้นฉบับ ( Original Article) บทบรรณาธิการ (Editorial) บทความหรือรายงานเหตุการณ์สำคัญ (Report) ตลอดจนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การแพทย์ฉุกเฉินและคุ้มครองผู้บริโภค ระบบสุขภาพและการประเมินผลโครงการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายด้านสุขภาพ</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง</p> journal.nkp@gmail.com (ดร.ศิริลักษณ์ ใจช่วง) journal.nkp@gmail.com (เบญจมาศ วันนาพ่อ) Thu, 15 Feb 2024 14:05:26 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 นักวิจัยมือใหม่ควรเขียนบทความงานวิจัยอย่างไรดี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/269975 กนกพร ไทรสุวรรณ์ Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/269975 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/267207 <p> การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา (N) คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 21 คน และคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.86 อายุ 51-59 ปี ร้อยละ 62.75 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 70.59 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 84.32 มีรายได้ต่อเดือน 50,001 บาท ขึ้นไป ร้อยละ 31.37 ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ปีขึ้นไป ร้อยละ 56.86 ไม่เคยมีประสบการณ์การประชุม/อบรมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ร้อยละ 58.82 ด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ด้านทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน พบว่า ปัจจัยทัศนคติด้านแรงกดดันทางสังคม และทัศนคติด้านอำนาจตามกฎหมาย ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 58.00 (R<sup>2</sup>=0.580)</p> รัตนาพร พัฒนะโชติ Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/267207 Thu, 15 Feb 2024 00:00:00 +0700 ความรู้ พฤติกรรม และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนบ้านพิมาน หมู่ที่ 3 ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/267875 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอย ความรู้ทั่วไปในการกำจัดขยะมูลฝอย พฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือน และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนบ้านพิมาน หมู่ที่ 3 ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ประชากรเป็นประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป และอาศัยอยู่ภายในชุมชนไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 137 หลังคาเรือน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณเพื่อการประมาณค่าเฉลี่ยประชากร กรณีกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก เท่ากับ 123 หลังคาเรือน และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความรู้ทั่วไปในการกำจัดขยะมูลฝอย 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือน และ 4) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ 0.78 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.78 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนธันวาคม 2566 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.24 อายุ 50 ปีขึ้นไป (อายุเฉลี่ย 55.09 ปี ± 13.42 ปี) มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 52.85 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 65.04 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 73.17 รายได้ต่อเดือนของครัวเรือนเฉลี่ย 7,321.14 บาท ± 7,129.70 บาทเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป ร้อยละ 85.37 ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในครัวเรือนเฉลี่ย 0.98 กิโลกรัมต่อวัน ± 0.41 กิโลกรัม จำแนกเป็นผัก ผลไม้ และเศษอาหาร ร้อยละ 90.24 ขวด กระป๋อง และถุงพลาสติก ร้อยละ 86.99 กลุ่มตัวอย่างไม่มีการคัดแยกก่อนนำไปกำจัด ร้อยละ 65.85 ทิ้งรวมกันในถุงเดียว ร้อยละ 65.85 และกำจัดด้วยการเผา ร้อยละ 46.34 มีความรู้ทั่วไปในการกำจัดขยะมูลฝอย โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.39 คะแนน ± 0.46 คะแนน อยู่ในระดับระดับต่ำ-ปานกลาง ร้อยละ 72.36 มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือนเท่ากับ 35.68 คะแนน ± 0.97 คะแนน อยู่ในระดับไม่ดี-ปานกลาง ร้อยละ 69.11 มีคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนโดยรวมเท่ากับ 67.91 คะแนน ± 1.07 คะแนน อยู่ในระดับต่ำ-ปานกลาง ร้อยละ 85.36 การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยในชุมชนของกลุ่มตัวอย่างในทุก ๆ ด้านอยู่ในระดับต่ำ-ปานกลาง เช่นเดียวกัน</p> <p> ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ในการนำไปใช้พัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เพื่อความมีประสิทธิภาพในการจัดการขยะมูลฝอยนำไปสู่ความยั่งยืน</p> พัฒนชัย ศิริแข็ง, จตุพร พ่ออามาตย์ Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/267875 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพรเจริญ ด้วยระบบ Telemedicine https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/267809 <p> การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความต้องการรับบริการผู้ป่วยนอกด้วยระบบการแพทย์ทางไกล ความต้องการการจัดบริการของผู้ให้บริการ และประเมินผลของการพัฒนารูปแบบการจัดบริการ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในโรงพยาบาล จำนวน 21 คน ผู้มารับบริการ จำนวน 110 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อการพัฒนาระบบบริการในงานผู้ป่วยนอกด้วยระบบการแพทย์ทางไกลโดยรวม มีระดับความคิดเห็นในการบริการอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อการพัฒนาระบบบริการในงานผู้ป่วยนอกด้วยระบบการแพทย์ทางไกลพบว่า โดยรวมมีระดับความคิดเห็นในการบริการอยู่ในระดับมาก เห็นด้วยกับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้วยการใช้รูปแบบการแพทย์ทางไกลอยู่ในระดับมากที่สุด</p> นิตยา คล่องขยัน Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/267809 Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมกับการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3 และความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษา 1 ราย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/268830 <p> กรณีศึกษานี้เป็นการศึกษาเฉพาะรายกรณี (case study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมกับการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อม และความดันโลหิตสูง ตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล (Nursing process) โดยเป็นการศึกษาในผู้ป่วยกรณีศึกษา จำนวน 1 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบางคล้า ระยะเวลาที่ศึกษาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึง 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยทั้งแบบบันทึกทางการพยาบาลและบันทึกทางการแพทย์ต่าง ๆ และข้อมูลที่ได้สัมภาษณ์เพิ่มเติมจากตัวผู้ป่วย และญาติผู้ดูแล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเปรียบเทียบกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการพยาบาลสำหรับดูแลผู้ป่วยรายดังกล่าวตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล</p> <p> <strong>ผลการศึกษา</strong> ผู้ป่วยกรณีศึกษาหญิงไทย อายุ 84 ปี ป่วยด้วยโรค COPD with DM, CKD stage 3 และ HT มารับบริการที่โรงพยาบาลตามแพทย์นัด ร่วมกับมีอาการหายใจเหนื่อยเล็กน้อย ไอมีเสียงเสมหะในลำคอ ประเมินสภาพแรกรับ ณ แผนกผู้ป่วยนอกที่คลินิกโรคเรื้อรัง รู้สึกตัวดี ท่าทางอ่อนเพลียเล็กน้อย ตรวจพบ wheezing ที่ปอดทั้ง 2 ข้าง ความดันโลหิต 178/66 มิลลิเมตรปรอท มีประวัติเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการมีอาการหอบกำเริบจำนวน 2 ครั้ง ในรอบสองปีที่ผ่านมา โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อาการกำเริบคือการมีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ ระหว่างรับผู้ป่วยกรณีศึกษาไว้ในความดูแลในคลินิกผู้ป่วยนอกรวมระยะเวลาที่ดูแล 147 วัน โดยใช้รูปแบบการดูแลตามแนวคิด D-METHOD ที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยและญาติมีความรอบรู้เกี่ยวกับโรค และการจัดการภาวะสุขภาพของตนเองด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายให้เหมาะสม และบริหารยาตามแผนการรักษาเพื่อควบคุมอาการของโรคให้สงบ โดยเฉพาะการจัดการกับปัจจัยที่กระตุ้นที่ทำให้อาการหอบกำเริบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่มีอาการกำเริบที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการนอนโรงพยาบาล ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลและสัมภาษณ์ผู้ป่วยกรณีศึกษาและญาติผู้ดูแลสามารถวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยกรณีศึกษา 3 อันดับแรกได้แก่ 1) แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการหดเกร็งของหลอดลมและการขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ 2) เสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่เนื่องจากจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรู้ 3) เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน: ยูรีเมียเนื่องจากการทำงานของไตลดลงและพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสม ภายหลังจากที่ผู้ป่วยกรณีศึกษาได้รับการดูแลตามแผนการพยาบาลที่กำหนดทุกครั้งที่มารับการตรวจตามนัดร่วมกับมีการติดตามเยี่ยมผ่านโทรศัพท์จำนวน 3 ครั้ง โดยเน้นย้ำให้ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลปฏิบัติตามแนวคิด D-METHOD อย่างครบถ้วน ส่งผลให้ปัญหาที่พบทุกปัญหาสามารถควบคุมได้และไม่เกิดความรุนแรง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีโรคร่วมหลายโรค พยาบาลวิชาชีพจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค พยาธิสภาพต่าง ๆ แนวทางการบำบัดรักษาพยาบาล รวมทั้งต้องมีทักษะในการเสริมสร้างสมรรถนะของผู้ป่วยและญาติให้สามารถจัดการอาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ และมีชีวิตตามปกติสุขได้ต่อไป</p> พจนีย์ สวนศรี Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/268830 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/269927 ศิริลักษณ์ ใจช่วง Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nkp/article/view/269927 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700