Effects of the Mother-preterm Infant Preparation Program on Breastfeeding Self-efficacy and Sucking Quality

Main Article Content

Pimchanok Boonchalerm
Tassanee Prasopkittikun
Parnnarat Sangperm
Wasita Jirasakuldej

Abstract

Purpose: To study the effects of a mother-preterm infant preparation program on the perceived breastfeeding self-efficacy of a mother as well as the sucking quality of preterm infant.

Design: Quasi-experimental research.

Methods: Through convenience sampling, 36 dyads of mothers and preterm infants aged 30 weeks post-conceptional age at the start of the study, in the Neonatal Intensive Care Unit, Bhumibol Adulyadej Hospital, were recruited. The study sample were divided in to a control group (n = 21) receiving the usual nursing care and an experimental group (n = 15) participating in the preparation program. Data were collected by using questionnaires including a demographic data interviewing form, the mother’s breastfeeding self-efficacy questionnaire, and the preterm infant’s sucking quality scale. Data analysis was conducted using t-test.

Main findings: The study findings revealed that the mothers’ breastfeeding self-efficacy scores in the experimental group were statistically higher than that in the control group (p < .001). As well, the preterm infants’ sucking quality scores in the experimental group were statistically higher than that in the control group (p < .001).

Conclusion and recommendations: The effects of the mother-preterm infant preparation program are supported in this study; therefore, it is recommended that the program should be applied to the routinely nursing practice for promoting the success of breastfeeding in preterm infants.

Keywords: breastfeeding, preterm infant, self-efficacy, sucking quality

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด ต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา และประสิทธิภาพการดูดนมแม่จากเต้าของทารกเกิดก่อนกำหนด

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุหลังปฏิสนธิ 30-32 สัปดาห์ ณ ขณะเริ่มทำการศึกษา ที่รับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวน 36 คู่ การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 21 คู่และกลุ่มทดลอง 15 คู่ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลประชากร แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา และแบบประเมินประสิทธิภาพการดูดนมของทารกเกิดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย: มารดากลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มทดลองสามารถดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาสนับสนุนผลของโปรแกรม จึงควรส่งเสริมการนำโปรแกรมการเตรียมความพร้อมมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดไปประยุกต์ในทางปฏิบัติการพยาบาล เพื่อส่งเสริมความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกเกิดก่อนกำหนด


คำสำคัญ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกเกิดก่อนกำหนด การรับรู้สมรรถนะของตนเอง ประสิทธิภาพการดูดนม

Article Details

How to Cite
Boonchalerm, P., Prasopkittikun, T., Sangperm, P., & Jirasakuldej, W. (2012). Effects of the Mother-preterm Infant Preparation Program on Breastfeeding Self-efficacy and Sucking Quality. Nursing Science Journal of Thailand, 30(4), 61–71. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/10534
Section
Research Papers