TY - JOUR AU - Bunnag, Aroonrasamee AU - Sangperm, Parnnarat AU - Jungsomjatepaisal, Weeraya AU - Pongsaranunthakul, Yuwadee AU - Krongthammachart, Kanjana PY - 2014/12/21 Y2 - 2024/03/29 TI - The Effect of School Lunch Program on Nutritional Status of Overweight Adolescents in Public Schools JF - Nursing Science Journal of Thailand JA - NURS SCI J THAIL VL - 31 IS - 4 SE - Research Papers DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/26521 SP - 67-76 AB - <p><strong>Purpose:</strong> To study the effect of a school lunch program on percentage of weight for height, eating behavior, calories intake and energy distribution in overweight adolescents.</p><p><strong>Design:</strong> Quasi – experimental study.</p><p><strong>Methods:</strong> Participants were 70 overweight adolescents studying in grade 7-9 in two public schools in Bangkok. They were 33 participants in the experimental group and 37 participants in the control group. The experimental group was provided a 12-week healthy school lunch program from Monday to Friday. They also attend a focus group with the researcher every 4 weeks. Data regarding weight, height, percentage of weight for height, eating behavior, and food record were collected before and after the program. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.</p><p><strong>Main findings:</strong> In the between groups analysis using independent t-test, the experimental group had more decreased percentage of weight for height than the control group while had more increased eating behavior score than the control group (p &lt; .05). When comparing within group using paired t-test, the experimental group received significantly increased energy distribution from carbohydrate and reduced energy distribution from fat after the program (p &lt; .05).</p><p><strong>Conclusion and recommendations:</strong> An appropriate school lunch program provided to overweight adolescents can help them in controlling their weight while gaining optimal growth. School nurse and also school board should play a role in giving advice to and supporting food vendors in school to provide more choices of healthy foods for overweight adolescents.</p><p> </p><p> </p><p><strong>ผลของโปรแกรมการจัดอาหารกลางวันต่อภาวะโภชนาการ</strong><strong>ของเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในโรงเรียน</strong></p><p><strong></strong>อรุณรัศมี บุนนาค, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, วีรยา จึงสมเจตไพศาล, ยุวดี พงษ์สาระนันทกุล, กาญจนา ครองธรรมชาติ</p><p><br /><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p><strong></strong><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของการจัดอาหารกลางวันในโรงเรียน ต่อร้อยละของน้ำหนักต่อส่วนสูง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ปริมาณพลังงานและสัดส่วนการกระจายพลังงานในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน</p><p><strong>รูปแบบการวิจัย:</strong> เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study)</p><p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย:</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนในโรงเรียน 2 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน กลุ่มทดลองรับประทานอาหารกลางวันจากร้านอาหารสุขภาพที่เข้าร่วมโครงการในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และมีการสนทนากลุ่มกับผู้วิจัยทุก 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลทั้งสองกลุ่มก่อนและสิ้นสุดโครงการโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ค่าร้อยละน้ำหนักต่อส่วนสูง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการบันทึกอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ t-test</p><p><strong>ผลการวิจัย:</strong> ผลการทดสอบระหว่างกลุ่มด้วย independent t-test พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าร้อยละของน้ำหนักต่อส่วนสูงลดลงมากกว่า และมีคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม (p &lt; .05) ในขณะที่ผลการทดสอบภายในกลุ่มด้วยสถิติ paired t-test พบว่า เมื่อสิ้นสุดโครงการ กลุ่มทดลองได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรทในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น แต่ได้รับพลังงานจากไขมันในสัดส่วนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05)</p><p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ:</strong> การจัดเตรียมอาหารกลางวันที่เหมาะสมให้แก่วัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินเอื้อให้วัยรุ่นสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ พยาบาลประจำโรงเรียนรวมทั้งผู้บริหารโรงเรียนจึงควรมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ และสนับสนุนให้ร้านค้าในโรงเรียนจำหน่ายอาหารสุขภาพเพื่อเป็นทางเลือกให้กับวัยรุ่นที่มีปัญหาน้ำหนักเกิน</p><p><br /><strong>คำสำคัญ:</strong> อาหารกลางวัน ภาวะโภชนาการ เด็กวัยรุ่น</p> ER -