@article{บุญ​เรือง​ศรี_กุลบุตร_2021, title={การประเมินมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม เขตสุขภาพที่ 6 ปีงบประมาณ 2562}, volume={19}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/249610}, abstractNote={<p>การประเมินตนเองตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) พื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 ปี 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมควบคุมโรคกำหนด เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้แบบประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 366 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) พบว่า ไม่มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ โดยพบว่าผ่านเกณฑ์ระดับเริ่มต้นพัฒนามากที่สุด จำนวน 98 แห่ง (ร้อยละ 26.78) รองลงมาได้แก่ ผ่านเกณฑ์ระดับดี จำนวน 97 แห่ง (ร้อยละ 26.50) ผ่านเกณฑ์ระดับดีเด่น จำนวน 87 แห่ง (ร้อยละ 23.77) และผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก จำนวน 84 แห่ง (ร้อยละ 22.95) ตามลำดับ จำแนกตามองค์ประกอบของเกณฑ์มาตรฐานพบว่าองค์ประกอบที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์มากที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม และองค์ประกอบที่ 3 การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแก่ผู้ประกอบอาชีพภายนอกและผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม จำนวน 366 แห่ง (ร้อยละ 100.00) รองลงมา ได้แก่ องค์ประกอบที่ 2 การจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 268 แห่ง (ร้อยละ 73.22) และองค์ประกอบที่ 4 การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรับ การประเมิน การวินิจฉัย การดูแลรักษา การส่งต่อ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ จำนวน 171 แห่ง (ร้อยละ 46.72) และองค์ประกอบที่ 5 การดำเนินงานจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม จำนวน 87 แห่ง (ร้อยละ 23.77) ตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) ผ่านเกณฑ์ระดับเริ่มต้นพัฒนามากที่สุด ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และยังพบว่าองค์ประกอบที่ผ่านเกณฑ์น้อยที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 5 ซึ่งเป็นการดำเนินงานจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย การเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยง การคัดกรองผู้ป่วย การสื่อสารความเสี่ยง และการจัดเตรียมความพร้อมในการรองรับภาวะฉุกเฉิน จึงควรมีการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดต่อไป</p>}, number={1}, journal={วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี}, author={บุญ​เรือง​ศรี อัจฉรา​วดี​ and กุลบุตร อธิวัฒน์}, year={2021}, month={ก.ค.}, pages={9–24} }