@article{อัศววรานันต์_คงเกลี้ยง_ศิริเขตรกรณ์_มุ่งอ้อมกลาง_2021, title={ความชุกของการมีภูมิคุ้มกันต่อโรค COVID-19 ในผู้เข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยราชภัฎกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด: การประเมินชุดตรวจแอนติบอดีรวดเร็วในภาคสนาม}, volume={19}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/249904}, abstractNote={<p>ความชุกของการมีภูมิคุ้มกันต่อโรค COVID-19 ในกลุ่มบัณฑิต อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบคำแนะนำการคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธีชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2 รวดเร็วในกิจกรรมรวมตัวของคนหมู่มาก กรมควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ทำการสำรวจความชุกของการมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ COVID-19 ในผู้ร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วยชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2 รวดเร็ว (rapid test) หากพบผลบวก ผู้ร่วมพิธีจะได้รับการชี้แจงเพื่อยินยอมตอบแบบสอบถามและเก็บตัวอย่างซีรั่มตรวจหาภูมิคุ้มกันด้วยวิธี chemiluminescence immunoassay (CLIA) และ microneutralization assay (MNA) จากการตรวจด้วยชุดตรวจรวดเร็ว จำนวน 15,684 ราย พบผลบวกจำนวน 299 ราย (ร้อยละ 1.91) ตอบแบบสอบถามความเสี่ยงและอาการของการติดเชื้อ COVID-19 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 จำนวน 107 ราย มีเพียงร้อยละ 31.8 ที่มีประวัติเสี่ยง โดยส่วนใหญ่ให้ประวัติเดินทางกลับจากพื้นที่ระบาดในประเทศไทย (ร้อยละ 13.1) ผู้ที่พบผลบวกจำนวน 202 ราย ได้รับการตรวจด้วยวิธี CLIA และ MNA พบว่ามีเพียง 1 รายตรวจพบผล reactive ต่อแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี CLIA และตรวจไม่พบแอนติบอดีด้วยวิธี MNA หมายความว่าไม่พบผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ในกลุ่มผู้เข้าร่วมพิธี</p> <p>การแปลผลชุดตรวจเร็วในภาคสนามควรทำอย่างระมัดระวังโดยเฉพาะในประชากรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของ COVID-19 ต่ำ ค่าทำนายผลบวกของชุดตรวจเร็วต่ำมากเมื่อเทียบกับวิธี CLIA และ MNA ทำให้ผู้ที่ส่วนใหญ่ไม่มีประวัติเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 ได้รับการตรวจ RT-PCR โดยไม่จำเป็น อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาความไวและความจำเพาะของชุดตรวจเร็วแต่ละชนิดในภาคสนาม การตรวจเลือดหาแอนติบอดีไม่สามารถแทนวิธี RT-PCR ที่เป็น gold standard ในการวินิจฉัยการติดเชื้อ COVID-19 ได้ การคัดกรองประวัติเสี่ยงการติดเชื้อก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญายังมีความสำคัญ หากพบประวัติเสี่ยง เจ้าหน้าที่ควรพิจารณาตรวจด้วยวิธี RT-PCR โดยไม่คำนึงถึงผลชุดตรวจเร็ว</p>}, number={1}, journal={วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี}, author={อัศววรานันต์ กมลทิพย์ and คงเกลี้ยง อมรมาศ and ศิริเขตรกรณ์ สมรักษ์ and มุ่งอ้อมกลาง เอนก}, year={2021}, month={ก.ค.}, pages={25–35} }