@article{แก้วจันต๊ะ_วิจิตร_2021, title={การติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะติดต่อเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ำจืดที่อ่างเก็บน้ำแม่นึง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ประเทศไทย}, volume={19}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/250942}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของปลาและการติดเชื้อของตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาวงศ์ปลาตะเพียน โดยทำการสุ่มเก็บตัวอย่างปลาน้ำจืดจากตลาดในหมู่บ้าน บริเวณอ่างเก็บน้ำแม่นึง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กันยายน พ.ศ. 2562 จำนวน 200 ตัว จำแนกพันธุ์ปลาได้ 12 ชนิด นำมาตรวจหาตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรีย โดยวิธีการย่อยด้วยน้ำย่อยเทียม (สารละลายเปปซิน) 0.25% ผลการศึกษาพบอัตราการติดเชื้อร้อยละ 76.50 (153/200) ส่วนมากพบในปลาหนามหลัง ร้อยละ 100.00 (91/91), ปลาซ่าหรือปลาสร้อยลูกกล้วย ร้อยละ 100.00 (39/39), ปลาซิวครีบแดง ร้อยละ 100.00 (6/6), ปลากระแห ร้อยละ 81.82 (9/11), ปลากระดี่หม้อ ร้อยละ 66.67 (2/3), ปลากระสูบขีด ร้อยละ 60.00 (3/5), ปลานิล ร้อยละ 25.00 (1/4), ปลาปากหนวด ร้อยละ 11.11(1/9) ไม่พบตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาแก้มซ้ำ ปลารากกล้วย และปลาหมอไทย ชนิดของตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียที่ตรวจพบมากที่สุด คือพยาธิใบไม้ <em>Haplorchoides</em> spp. รองมาพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก <em>Haplorchis taichui</em> และ <em>Centrocestus fomosanus</em> ร้อยละ 67.00, 12.00 และ 3.00 ตามลำดับ จากผลการศึกษาแสดงว่าตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรีย พบมากที่สุดในปลาวงศ์ปลาตะเพียน ความหนาแน่นของเมตาเซอร์คาเรีย เฉลี่ย 12.46 เมตาเซอร์คาเรียต่อตัว ความหนาแน่นของเมตาเซอร์คาเรียแตกต่างกันในปลาแต่ละชนิด พบมากสุดในปลากระสูบขีด เฉลี่ย 61.00 เมตาเซอร์คาเรียต่อตัว</p>}, number={1}, journal={วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี}, author={แก้วจันต๊ะ กรรณิการ์ and วิจิตร อดุลย์ศักดิ์}, year={2021}, month={ก.ค.}, pages={59–70} }