TY - JOUR AU - ต๊ะแก้ว, เทียนทอง AU - ตั้งนิติพงศ์, สุนันทา AU - เกตุขาว, อรทัย AU - ไชยรินคำ, สุรางคนา AU - ยะปะนัน, ลภัสกรณ์ AU - เหงี่ยมไพศาล, วรัญญู AU - นาราเวชสกุล, กฤติน AU - ขวัญเมือง, มัลลิกา AU - พันธ์พัฒนกุล, วัชเรสร AU - ชัยชาญ, วสุชล AU - สุขสอน, ภาษา AU - ศรีพล, ฉัตริน PY - 2021/12/29 Y2 - 2024/03/29 TI - การรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานต่อโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่ ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา JF - วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี JA - JODPC10 VL - 19 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/250865 SP - 9-20 AB - <p>การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล สถานะทางสุขภาพ การรับรู้ความเสี่ยง ความรุนแรง ประโยชน์และอุปสรรคต่อโรคหลอดเลือดสมอง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยใช้เกณฑ์คัดเข้าคัดออก ได้จำนวน 82 คน&nbsp; เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่&nbsp; ปัจจัยส่วนบุคคล สถานะทางสุขภาพ และการรับรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสอบความตรงในเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.67-1 ทดสอบความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าครอนบาซได้เท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคน์สแควร์ ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 52.44 และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และสถานะทางสุขภาพ กับการรับรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และรายได้ สถานะทางสุขภาพ ได้แก่ ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน การมีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย การเคยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05</p><p>&nbsp;</p> ER -