TY - JOUR AU - สุขยา, วิลาวัลย์ AU - อินยาพงษ์, จิรพันธุ์ PY - 2021/12/29 Y2 - 2024/03/28 TI - ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 JF - วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี JA - JODPC10 VL - 19 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/254337 SP - 80-92 AB - <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 เป็นการศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่คนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ขึ้นทะเบียนใน National Tuberculosis Information Program (NTIP) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2562 ซึ่งไม่อยู่ในสถานะกำลังรักษา เปลี่ยนการวินิจฉัย ขึ้นทะเบียนใหม่เป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา หรือมีสาเหตุการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและการฆ่าตัวตาย จำนวน 11,466 คน โดยมีผลการรักษารอดชีวิตจำนวน 10,421 คน (ร้อยละ 90.89) และเสียชีวิตจำนวน 1,045 คน (ร้อยละ 9.11) ส่วนใหญ่เป็นผู้เสียชีวิตภายในระยะเวลา 2 เดือนแรกของการรักษาร้อยละ 71.00 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่โดย Multiple logistic regression พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต ได้แก่ อายุ 60 ปีขึ้นไป (OR<sub>adj</sub> 3.52; 95%CI 3.02-4.11) โรคมะเร็ง (OR<sub>adj</sub> 4.52; 95%CI 2.40-8.54) โรคไตเรื้อรัง (OR<sub>adj</sub> 3.34; 95%CI 2.52-4.42) โรคตับ (OR<sub>adj</sub> 3.57; 95%CI 1.39-9.15) โรคความดันโลหิตสูง (OR<sub>adj</sub> 1.28; 95%CI 1.01-1.61) การติดเชื้อเอชไอวี (OR<sub>adj</sub> 5.69; 95%CI 4.44-7.28) และไม่ทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวี (OR<sub>adj </sub>2.10; 95%CI 1.73-2.56) ดังนั้น การดำเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ติดเชื้อเอชไอวี ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถค้นหาและวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ และเข้าสู่กระบวนการรักษาที่รวดเร็วเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคและป้องกันการเสียชีวิต</p> ER -