https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/issue/feed วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2024-05-25T13:01:48+07:00 ดร. อรทัย ศรีทองธรรม tutuubonorathai@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวารสารที่รับบทความวิชาการหรือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันควบคุมโรคและภัยคุกคามสุขภาพ ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการและรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับงานป้องกันควบคุมโรคแก่หน่วยงานและบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข (2) เพื่อรายงานความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ (3) เพื่อเป็นสื่อกระชับความสัมพันธ์ทางแนวคิดและปฏิบัติงานระหว่างสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 สำนักงานสาธารณสุข ศูนย์วิชาการเขต และกรมกองต่างๆที่เกี่ยวข้อง</p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/265966 การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี 2023-10-25T09:43:04+07:00 เพ็ญภักดิ์ สุขสิงห์ phenphaksuk@gmail.com นาฏยา บุญญะโกศล nookscc76@hotmail.com สิริยากรณ์ พลบุตร ploy_12849_@hotmail.com <p>ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี พบว่า ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และประเมินประสิทธิผลการนำโปรแกรมไปใช้ ผู้เข้าร่วมวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 94 คน และคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้าเพื่อเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาโปรแกรม 22 คน 2) กลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. ประเมินผลโปรแกรมด้วยแบบสอบถาม ด้านพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และแบบประเมินความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ Thematic Analysis ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Pair t-test และ Wilcoxon Signed Rank test</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผลการพัฒนาได้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมโรคความดันโลหิตสูงแบบมีส่วนร่วมกับ อสม. ที่มีองค์ประกอบ 3 กิจกรรมหลัก คือการรับรู้ตัวตน (รับรู้ปัญหา) ตั้งเป้าหมาย (เพื่อลดปัญหานั้นๆ) เข้าใจแนวปฏิบัติ (ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติซ้ำๆ จนจำได้) การมีส่วนร่วมติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปัญหาอุปสรรค (ติดตามทั้งเชิงรุกและเชิงรับ) ประเมินผลลัพธ์และสะท้อนผลพฤติกรรม ใช้เวลาดำเนินการ 4 เดือน ผลการประเมินโปรแกรม พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ย พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; 0.05) ส่วนดัชนีมวลกาย (ค่า BMI) ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมไม่แตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง และความเครียด ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; 0.05)</p> <p>โปรแกรมนี้สามารถนำไปส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุฯ โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในกลุ่มอื่นๆ และพื้นที่อื่นต่อไป</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/266071 การเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ระหว่าง มิถุนายน 2564 - ธันวาคม 2565 2023-12-26T09:44:25+07:00 ขวัญใจ วังคะฮาต khwanjai.w@dmsc.mail.go.th สุทิศ จันทร์พันธ์ sutit.j@dmsc.mail.go.th วราภรณ์ ศิริเติม waraporn.si@dmsc.mail.go.th สุรัยยา หมานมานะ suraiya.m@dmsc.mail.go.th <p>ตั้งแต่พบผู้ป่วยติดโรคติดเชื้อโควิด-2019 คนแรกในประเทศไทย สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นภัยคุกคามที่รุนแรงโดยเฉพาะพบการกลายพันธุ์ชนิดใหม่ของเชื้อ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานีได้รวบรวมและศึกษาผลการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์เชื้อ SARS-CoV-2 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร โดยทำการศึกษาแบบย้อนหลัง ตัวอย่างป้ายคอ (throat swab) และป้ายโพรงจมูก (nasopharyngeal swab) ของผู้ป่วยที่ตรวจพบสารพันธุกรรมเชื้อ SARS-CoV-2 จำนวน 1,115 ตัวอย่าง ตั้งแต่ มิถุนายน 2564 ถึง ธันวาคม 2565 โดยนำมาตรวจหาตำแหน่งกลายพันธุ์ของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Single Nucleotide Polymorphism (SPN) genotyping assay ด้วยเครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม Quant Studio™ 5 Real-Time PCR โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (descriptive statistics) วิเคราะห์ความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 พบสายพันธุ์ Alpha และสายพันธุ์ Delta ร้อยละ 60.98 และ 39.02 ตามลำดับ ในเดือนพฤศจิกายน 2564 พบสายพันธุ์ Delta มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100 และลดลงเนื่องจากพบการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ Omicron ในเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งพบร้อยละ 43.64 และเพิ่มขึ้นเป็นสายพันธุ์หลักในปี พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม นอกจากนี้พบการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ย่อยของ Omicron ได้แก่ BA.1, BA.2, BA.4/BA.5 และ BA.2.75 จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สายพันธุ์เชื้อ SARS-CoV-2 ที่น่ากังวล ได้แก่ สายพันธุ์ Alpha, Delta และ Omicron โดยผลการศึกษาครั้งนี้มีความสอดคล้องกับข้อมูลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ของประเทศไทย นอกจากนี้ข้อมูลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นประโยนช์ในระบบการเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อ SARS-CoV-2 ในเขตสุขภาพที่ 10</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/266746 การประเมินระบบการเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ และคุณภาพในการให้การดูแลรักษาการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษของจังหวัดตราด 2023-12-18T09:04:07+07:00 ภาณุวัฒน์ โสภณเลิศพงศ์ swumd20_117@hotmail.com ทรงวิทย์ ภิรมย์ภักดิ์ steve.songwish@gmail.com <p>การศึกษาแบบย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการเฝ้าระวังผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ คุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ รวมถึงคุณภาพในการให้การดูแลรักษาการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษของจังหวัดตราด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดตราด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง วันที่ 31 ตุลาคม 2566 ผลการศึกษา พบว่าระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษของจังหวัดตราด จัดทำโดยใช้แบบฟอร์ม JF-Trat และจัดส่งผ่านกลุ่มไลน์ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากพบผู้ป่วย โดยระบบเฝ้าระวังเชิงปริมาณ พบว่า มีความไวของการรายงานโรคอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง คือ ร้อยละ 74.82 แต่ค่าพยากรณ์บวกอยู่ในเกณฑ์ดีเท่ากับ ร้อยละ 100 ค่าความถูกต้องของตัวแปร เพศ อายุ สถานที่เกิดเหตุการณ์ อยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 100 ส่วนความทันเวลาส่วนใหญ่รายงานได้ภายใน 48 ชั่วโมง แต่ต้องมีการปรับระบบรายงานให้มีการบันทึกเวลาที่ชัดเจน ระบบเฝ้าระวังเชิงคุณภาพ พบว่า การเฝ้าระวังผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษของจังหวัดตราด ได้รับการยอมรับจากผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุขและเครือข่ายผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ง่ายต่อการปฏิบัติ มีความยืดหยุ่น สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง หากมีการพัฒนา ทบทวนองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ส่วนคุณภาพการรักษาพบว่า ผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ ได้รับการปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องด้วยการราดน้ำส้มสายชู ร้อยละ 87.5 ทำให้ความรุนแรงของการบาดเจ็บลดลงโดยพบผู้บาดเจ็บเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) ร้อยละ 92.33</p> <p>ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ระบบการเฝ้าระวังผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษของจังหวัดตราดเป็นระบบเฝ้าระวังที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการดำเนินงานจัดการระบบสุขภาพในพื้นที่เกาะและชายฝั่ง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ แต่ต้องมีการพัฒนาความไวในการรายงาน ระบบการจัดการฐานข้อมูล โดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การกำหนดโครงสร้างการดำเนินงานในหน่วยงานที่ชัดเจน</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/263272 การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนในพื้นที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี 2023-08-30T10:52:44+07:00 นฤมล บำรุงสวน narumon.toeyy@gmail.com ยุพิน เชิดชน nypp.cherdchon@gmail.com ไพโรจน์ เจริญนาม pairoat2520824@gmail.com <p>ภาวะโภชนาการเกินในกลุ่มวัยเรียน อำเภอแหลมสิงห์ มีค่าเกิน ร้อยละ 10 ในปี 2561-2563 การพัฒนารูปแบบเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียน 2) พัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ และ 3) ประเมินผลรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ กลุ่มประชากรเลือกแบบเจาะจงเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน จาก 5 โรงเรียน จำนวน 43 คน เข้าร่วมพัฒนาโปรแกรม นำโปรแกรมฯ ไปใช้ ทำการประเมินผล โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ Thematic Analysis ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Pair t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มประชากรมีภาวะโภชนาการเกิน เริ่มอ้วน ร้อยละ 12.20 และอ้วน ร้อยละ 5.28 ปัญหาเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค เช่น ชอบทานอาหารทอด รสหวานมัน ขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ทานต่อมื้อปริมาณมากโดยเฉพาะมื้อเย็น ทานผักน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีการออกกำลังกาย ผลการพัฒนาได้โปรแกรม การลดภาวะโภชนาการเกิน 5 ขั้นตอนในวัยรุ่น แต่ละขั้นมีเป้าหมายเพื่อประเมินสถานะสุขภาพและผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกิน มีทักษะในการเลือกบริโภคอาหาร ออกกำลังกายเหมาะสม เลือกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้เหมาะสม และเกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน ใช้เวลาดำเนินการ 3 เดือน ผลการนำโปรแกรมฯ ไปใช้พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม มีภาวะโภชนาการเกิน ท้วม ร้อยละ 8.11 เริ่มอ้วน ร้อยละ 56.76 และอ้วน ร้อยละ 35.14 หลังเข้าร่วมกิจกรรม สมส่วน ร้อยละ 2.70 ท้วม ร้อยละ 10.81 เริ่มอ้วน ร้อยละ 62.16 และอ้วน ร้อยละ 24.32 การเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย และส่วนสูง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ส่วนน้ำหนักก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม ไม่แตกต่างกัน แต่มีภาวะสมส่วนดีขึ้น มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดน้อยลง</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/266710 รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดจันทบุรี 2023-12-26T10:04:52+07:00 บัญชา พร้อมดิษฐ์ bpromdit@gmail.com <p>งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาปัญหาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมด้านการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2) พัฒนารูปแบบ และประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นค้นหาปัญหา (Look) กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มเสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มละ 30 คน ในพื้นที่ รพ.สต. 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมด้านการป้องกันควบคุมโรค 2) ขั้นพัฒนารูปแบบ (Think) กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงใน 10 รพ.สต. แห่งละ 1 คน รวม 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบฯ 3) ขั้นการประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบฯ (Act) กลุ่มตัวอย่าง และเครื่องมือเป็นชุดเดียวกับขั้นค้นหาปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมของทั้ง 3 กลุ่มเสี่ยงอยู่ในระดับเป็นปัญหา ส่วนพฤติกรรมด้านการป้องกันควบคุมโรค กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานอยู่ในระดับไม่ดี อีก 2 กลุ่มเสี่ยงอยู่ในระดับเสี่ยง 2) พัฒนา PHR Model ที่ประกอบด้วย Personal Agreement: P หรือ การจัดทำข้อตกลงบุคคล Health Literacy: H หรือการสร้างความรอบรู้ และ Reinforcement: R หรือการเสริมแรง โดยรูปแบบฯ นี้ทดสอบแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง 3) การประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบฯ (Act) พบว่า หลังดำเนินการตามรูปแบบฯ ได้ 3 เดือน ทั้ง 3 กลุ่มเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมสูงขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับเป็นปัญหา ส่วนพฤติกรรมฯ นั้น ทั้ง 3 กลุ่มเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยที่สูงขึ้น โดยกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และกลุ่มเสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับเสี่ยง ส่วนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับดี เมื่อนำมาเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินงานตามรูปแบบฯ พบว่า กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และกลุ่มเสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนดำเนินการตามรูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p&lt;0.05 ส่วนพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรค พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมฯ สูงกว่าก่อนดำเนินการตามรูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p&lt;0.05</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/266659 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรค ของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ในอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง 2023-12-26T09:55:32+07:00 พลอยไพลิน จินตนา ploypailin1406@gmail.com เทียนทอง ต๊ะแก้ว tienthongta@gmail.com <p>การวิจัยวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอวังเหนือ จังหวัดลาปาง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 212 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ.2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในระดับสูง (mean = 4.52, SD = 0.32) ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคได้ มีจำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 1) ด้านทักษะการตัดสินใจ 2) ด้านความรู้ความเข้าใจ และ 3) สิ่งแวดล้อมด้านลักษณะที่อยู่อาศัย/ที่ทำงาน ซึ่งสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคได้ ร้อยละ 25 (Adj. R<sup>2</sup> = 0.250, F = 24.505, p-value &lt;0.001) โดยทักษะการตัดสินใจมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุด รองลงมา คือ ความรู้ความเข้าใจ ส่วนลักษณะที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและพัฒนาการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรค โดยการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชน เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันวัณโรค</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/266779 การพัฒนาแนวทางการคัดกรองไวรัสตับอักเสบ ซี ในประชาชนทั่วไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2023-12-26T10:59:29+07:00 นภาพร พิมพ์สิงห์ napaporn.tu16@gmail.com รุจิพัชร์ วสิษฐ์ธัญเกษม rujipat.wasitthankasem@gmail.com ศรัญญา งามนิมิต Saranyangamnimit@gmail.com ยง ภู่วรวรรณ Yong.P@chula.ac.th <p>ไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง เป็นสาเหตุหลักของโรคพังผืดตับ ตับแข็งและมะเร็งตับ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางการคัดกรองและศึกษาผลลัพธ์การตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบ ซี คือ ประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 35-69 ปี จำนวน 325,189 คน ผู้รับผิดชอบงาน จำนวน 194 คน ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ขั้นตอนการวิจัยมี 3 ระยะ คือ (1) พินิจพิเคราะห์ (2) การคิดพิเคราะห์ (3) ปฏิบัติการและประเมินผล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและแบบบันทึกการคัดกรอง ระหว่างเดือนกันยายน 2563 ถึงธันวาคม 2565 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาและกระบวนการทำงาน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการคัดกรองไวรัสตับอักเสบ ซี ในประชาชนทั่วไปของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีขั้นตอนดังนี้ 1) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มีหน้าที่ประสานความร่วมมือ ติดตามผลการดำเนินงานและข้อมูลในภาพรวม เยี่ยมเสริมพลังให้ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข อบรมพัฒนาศักยภาพแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับ 2) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมีหน้าที่ประสานงานสนับสนุนการปฏิบัติงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลส่งคืนให้พื้นที่ และประสานการส่งต่อผู้ติดเชื้อไปโรงพยาบาล 3) เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีหน้าที่เจาะเลือดปลายนิ้วมือ ให้บริการทั้งแบบเชิงรับในหน่วยบริการและแบบเชิงรุกในชุมชน รวมถึงประสานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือผู้นำชุมชนรวบรวมรายชื่อผู้ที่จะเข้ารับบริการคัดกรอง ผลจากการใช้แนวทางดังกล่าว พบว่าสามารถเพิ่มอาสาสมัครที่เข้ารับการคัดกรองจากร้อยละ 14.1 เป็นร้อยละ 54.2 รวม 176,271 ราย พบผลบวก 10,777 ราย (ร้อยละ 6.1) รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อ 4,293 ราย (ร้อยละ 39.8) ให้ผลบวก 3,361 ราย (ร้อยละ 78.4) แนวทางการคัดกรองนี้สามารถดำเนินการได้จริงในชุมชนและเข้าถึงประชาชนเป้าหมายมากกว่าร้อยละ 50 ในระยะเวลา 2 ปี ช่วยลดเวลาที่ใช้ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ได้</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/267141 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการรักษาสำเร็จของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2024-01-17T15:34:20+07:00 รติฏา ฤทธิรุ่ง ratita9412@gmail.com วานิช รุ่งราม 63011490017@msu.ac.th วัชราภรณ์ ยุบลเขต Vacharapornaun@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มรักษาจนรักษาสำเร็จของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลทุติยภูมิของผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโปรแกรม NTIP ในปี 2565 รวมทั้งสิ้น 1,092 ราย ประมาณค่าระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นรักษาจนรักษาสำเร็จด้วยวิธี Kaplan-Meier และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มรักษาจนรักษาสำเร็จด้วย Cox proportional hazard model ผลการศึกษา พบผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ทำการศึกษา จำนวนทั้งหมด 1,092 ราย มีผลการรักษาสำเร็จ (รักษาครบและรักษาหาย) ร้อยละ 82.1 ผลการรักษาไม่สำเร็จ ร้อยละ 17.9 ค่ามัธยฐานระยะเวลาการรักษาสำเร็จภาพรวม 186 วัน (95%CI 184-187 วัน) จากการวิเคราะห์ระยะเวลาการรักษาสำเร็จในกลุ่มย่อยตามปัจจัย เพศ อายุ กลุ่มอายุ อำเภอภูมิลำเนา ผู้ต้องขัง ผลการตรวจเสมหะ (AFB) เมื่อได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก การมีโรคร่วม โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, ภาวะตับอักเสบ, ความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื้อเอชไอวี ด้วยวิธี Kaplan-Meier พบว่า อำเภอภูมิลำเนา ผู้ต้องขัง โรคความดันโลหิตสูง และมีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อ HIV มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มรักษาสำเร็จและกลุ่มรักษาไม่สำเร็จ ผลการวิเคราะห์ Cox proportional hazard model พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นรักษาจนรักษาสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.05) ได้แก่ อำเภอตามภูมิลำเนา กลุ่มอายุ และการติดเชื้อ HIV มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างกลุ่มที่รักษาสำเร็จและกลุ่มที่รักษาไม่สำเร็จ เมื่อเปรียบเทียบการรักษาสำเร็จในแต่ละอำเภอ พบว่า อำเภอที่มีระยะเวลาการรักษาสำเร็จสั้นที่สุด คือ อำเภอเขาวง รองลงมา คือ อำเภอกุฉินารายณ์ ยางตลาด นามน สหัสขันธ์ และห้วยผึ้ง ตามลำดับ ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีโอกาสรักษาสำเร็จเร็วกว่าผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี 1.176 เท่า ส่วนผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วยมีโอกาสรักษาสำเร็จมีโอกาสรักษาสำเร็จเร็วกว่าผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ไม่ติดเชื้อ HIV 1.512 เท่า จึงมีข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ การพัฒนาแนวทางการกำกับการกินยาต่อหน้า (DOT) อย่างมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่มีโรคประจำตัว หรือวัยทำงาน รวมทั้งการถอดบทเรียนการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอที่มีระยะเวลาการรักษาสำเร็จสั้น (เช่น อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์) เพื่อพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมวัณโรคในระดับอำเภอ จังหวัดกาฬสินธุ์ต่อไป</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/266781 การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยด์ โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2564-2565 2024-01-29T15:44:14+07:00 สถาพร มณี maknow25@gmail.com ณัฐฐิญา กิตติ์ธนกาญจน์ ooh.nuttiyakit@gmail.com <p>โรคเมลิออยด์ เป็นโรคติดเชื้อที่ร้ายแรงและอาจถึงแก่ชีวิตเกิดจากเชื้อ <em>Burkholderia pseudomallei</em> อาการที่ไม่จำเพาะทำให้ยากต่อการวินิจฉัย ต้องใช้การเพาะเชื้อเป็นหลัก จังหวัดอุบลราชธานีเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการรายงานของระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยด์ คุณลักษณะเชิงปริมาณ คุณลักษณะเชิงคุณภาพ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวัง เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางโดยศึกษาข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลวารินชำราบ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2565 ที่มีอาการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง หรือปอดอักเสบ หรือฝีในอวัยวะต่างๆ ร่วมกับมีผลเพาะเชื้อพบเชื้อ <em>Burkholderia pseudomallei</em> โดยใช้ข้อมูลจากระบบรายงานโรค (รง.506) กับเวชระเบียนของผู้ป่วย และการสัมภาษณ์ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา และผู้ปฏิบัติหน้างาน ผลการศึกษาพบว่า งานควบคุมโรคฯ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเฝ้าระวังโรคจากโรงพยาบาลและเครือข่ายสุขภาพในอำเภอวารินชำราบและตรวจสอบข้อมูลก่อนที่จะรายงานต่อตามลำดับขั้น ระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยด์มีความไวของการรายงานร้อยละ 6.1 มีค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 95 คุณภาพของข้อมูล พบว่า มีความครบถ้วนและความถูกต้องของเพศ อายุ เชื้อชาติ ที่อยู่ ร้อยละ 100 ขณะที่ความถูกต้องของประเภทผู้ป่วย และผลการรักษา ร้อยละ 57.9 ความเป็นตัวแทนจากตัวแปรเพศ อายุ ใช้เป็นตัวแทนกันได้ ความทันเวลา พบว่า ทันเวลา ร้อยละ 15.8 ด้านความยอมรับ พบว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนให้ความสำคัญ ระบบมีความง่าย ความยืดหยุ่น พบว่า มีเจ้าหน้าที่ระบาดทำงานเพียงคนเดียว การใช้ประโยชน์ยังน้อยเนื่องจากขาดการเชื่อมโยงข้อมูล โดยสรุประบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยด์ของโรงพยาบาลวารินชำราบ มีขั้นตอนการรายงานที่ชัดเจน มีความไวของการรายงานอยู่ในระดับควรปรับปรุง ค่าพยากรณ์บวกอยู่ในระดับดีมาก โดยมีสาเหตุจากการวินิจฉัยโรคต้องใช้ผลการเพาะเชื้อ และต้องใช้เวลาในการสรุปเวชระเบียน ทำให้การรายงานโรคต่ำกว่าความเป็นจริง ข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาคือ ควรมีการเฝ้าระวังโรคโดยใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม การพัฒนาบุคลากรด้านระบาดวิทยา ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงการพัฒนาระบบข้อมูลด้านการเผ้าระวังโรค</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/269124 การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนและการมีส่วนร่วมของประชาชน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2024-05-09T13:52:00+07:00 ประกาศิต งามแสง prakasit4141@gmail.com พุทธิไกร ประมวล Putthikrai.pramual@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนและการมีส่วนร่วมของประชาชน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่จักรยานยนต์ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบฯ และประเมินผลรูปแบบฯ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจร กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนผู้ได้รับบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ 210 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multivariable linear regression ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรฯ ตามกระบวนการของ PDCA กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนอำเภอกันทรลักษ์ 60 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อสรุปผล และระยะที่ 3 เป็นการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นฯ กลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมการ ศปถ.อ. และประชาชน กลุ่มละ 50 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test พบว่า มี 3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจรของประชาชนผู้ขับขี่จักรยานยนต์ คือ เพศหญิง การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรระดับดี จะมีคะแนนพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจร มากกว่า 6.42 คะแนน (Adjusted mean diff = 6.42, 95%CI = 3.04 to 9.80), 10.34 คะแนน (Adjusted mean diff = 10.34, 95%CI = 7.02 to 13.66) และ 4.17 คะแนน (Adjusted mean diff = 4.17, 95%CI = 1.40 to 6.93) นำผลการศึกษาปัจจัยในระยะที่ 1 มาศึกษาพัฒนารูปแบบฯ จนได้เป็นรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรฯ อำเภอกันทรลักษ์ ประกอบด้วย 1) การสร้างเครือข่ายลดอุบัติเหตุจราจร 2) ความเข้มแข็งของทีม ศปถ.อ. 3) การจัดตั้ง ศปถ.อปท. 4) การอบรมพัฒนาศักยภาพทีม ศปถ.อ./อปท. 5) การจัดการข้อมูล วิเคราะห์ความเสี่ยงและคืนข้อมูล 6) การปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 7) ความร่วมมือจากภาคประชาชน และ 8) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ หลังจากทดลอง พบว่า คณะกรรมการ ศปถ.อปท. และประชาชน มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร การมีส่วนร่วม และพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจร มากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-05-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี